12.1.3 จิบเบอเรลลิน
ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองที่ทำ�ให้ค้นพบจิบเบอเรลลิน แหล่งสร้างจิบเบอเรลลิน ผลของ
จิบเบอเรลลิน และจิบเบอเรลลินกับการนำ�ไปใช้ ครูอาจใช้รูป 12.8 ในหนังสือเรียน เพื่อให้สรุปได้ว่า
สาร GA
3
ช่วยยืดช่อผลองุ่นให้ยาว และขยายขนาดของผล และตั้งคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
ของนักเรียนเพิ่มเติม ดังนี้
จิบเบอเรลลินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้านใด
กระตุ้นการงอกของเมล็ด กระตุ้นเซลล์ที่ลำ�ต้นพืชให้มีการยืดตัวและแบ่งเซลล์มากขึ้น
12.1.4 เอทิลีน
ครูอาจให้นักเรียนศึกษาการทดลองของ Dimitry Neljubov ดังรูป 12.9 ในหนังสือเรียน
เรื่องการเจริญของต้นกล้าถั่วลันเตาที่ได้รับแก๊สเอทิลีน และใช้คำ�ถามถามนักเรียน ดังนี้
การทดลองของ Dimitry Neljubov สรุปได้ว่าอย่างไร
เอทิลีนทำ�ให้ต้นกล้าถั่วลันเตาไม่ยืดตัว ลำ�ต้นสั้น มีการเพิ่มความหนาของลำ�ต้นทำ�ให้ต้น
อ้วน และมีการเจริญของยอดในแนวนอน
จากนั้นครูเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งสร้างของเอทิลีนในพืช โดยในเกือบทุกส่วนของพืชสามารถ
สร้างเอทิลีนได้ แต่จะพบเอทิลีนมากในเนื้อเยื่อพืชที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด ในพืชที่เข้าสู่การเสื่อม
ตามอายุ รวมทั้งผลไม้สุก สำ�หรับผลของเอทิลีนที่มีต่อพืช เช่น กระตุ้นการสุกของผลไม้ที่บ่มให้สุกได้
กระตุ้นให้เกิดการร่วงของใบและผล เป็นต้น
หลังจากนักเรียนได้ศึกษาเรื่องเอทิลีนกับการนำ�มาใช้ประโยชน์แล้ว จากนั้นให้ตอบคำ�ถาม
ในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
เอทิลีนสามารถนำ�ไปใช้กับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้ประเภทบ่มสุกได้อย่างไร
ชะลอการสุกของผลไม้ โดยลดการสร้างเอทิลีน เช่น การขนส่งโดยใช้ห้องเย็น เพื่อทำ�ให้
ผลไม้ไม่สุกและเกิดการเน่าเสียระหว่างการขนส่ง หรือเร่งผลไม้ให้สุกพร้อมกันจำ�นวนมาก
เพื่อให้พร้อมที่จะจำ�หน่ายได้ โดยกระตุ้นการสร้างเอทิลีนหรือใช้สารที่มีสมบัติคล้ายเอทิลีน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
240