จากการอภิปรายอาจสรุปได้ว่า ในแต่ละวันร่างกายต้องมีการขับถ่ายของเสียไปกับปัสสาวะ แต่
ถ้าน้ำ�ในร่างกายลดลง ร่างกายก็จะต้องมีการดื่มน้ำ�เพื่อเข้าไปทดแทนหรือถ้ามีปริมาณน้ำ�ในร่างกาย
มากเกินความต้องการจะต้องมีการขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้นหรือนักเรียนอาจสรุปว่าเป็นผลจากการ
ทำ�งานของระบบประสาทที่ทำ�หน้าที่ควบคุมการทำ�งานของอวัยวะในระบบขับถ่าย ซึ่งครูจะยังไม่สรุป
ผลการอภิปราย
ครูใช้รูป 17.11 ในหนังสือเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปเกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของ
น้ำ�ในร่างกาย แล้วให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ และทำ�กิจกรรม 17.2 ในหนังสือเรียน
ถ้าปริมาณน้ำ�ในเลือดมาก ร่างกายจะมีกลไกรักษาดุลยภาพของน้ำ�อย่างไร
เมื่อปริมาณน้ำ�ในเลือดมาก ความเข้มข้นของเลือดจะลดลงทำ�ให้มีแรงดันออสโมติกต่ำ�
สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะลดการกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังทำ�ให้ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ลดการหลั่ง ADH ส่งผลให้ท่อขดส่วนปลายและท่อรวมลดการดูดกลับน้ำ�เข้าหลอดเลือด
ทำ�ให้ขับถ่ายปัสสาวะปริมาณมากขึ้นและมีสีอ่อน
การออกกำ�ลังกายในสภาพอากาศที่ร้อน ไตจะมีการรักษาดุลยภาพของน้ำ�อย่างไรบ้าง
เมื่อออกกำ�ลังกายในสภาพอากาศที่ร้อน ร่างกายจะสูญเสียเหงื่อมากทำ�ให้ปริมาณน้ำ�ใน
เลือดลดลง ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นมีแรงดันออสโมติกสูงซึ่งจะไปกระตุ้นไฮโพทาลามัส
ให้เพิ่มการกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่ง ADH มากขึ้นซึ่งจะไปเพิ่มการดูดกลับน้ำ�
ที่ท่อขดส่วนปลายและท่อรวมเพื่อเข้าสู่หลอดเลือด ทำ�ให้ขับถ่ายปัสสาวะออกปริมาณน้อย
และมีสีเข้มขึ้น
ตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย
ชีววิทยา เล่ม 4
204