CO
2
+ H
2
O
H
2
CO
3
H
+
+ HCO
แก๊สคาร์บอน
ไดออกไซด์
น้ำ�
กรดคาร์บอนิก
ไฮโดรเจน
ไอออน
ไฮโดรเจน
คาร์บอเนต
ไอออน
ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-เบสของ
เลือด ดังนี้
ถ้าร่างกายมีไฮโดรเจนไอออนสูงกว่าปกติ จะมีผลอย่างไรกับกระบวนการเมแทบอลิซึม
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า ถ้าร่างกายมีไฮโดรเจนไอออนสูงกว่าปกติจะทำ�ให้เลือด
มีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้เอนไซม์ที่ทำ�หน้าที่เร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการเมแทบอลิซึมไม่
สามารถทำ�งานได้ โดยปกติเลือดจะมี pH อยู่ระหว่าง 7.35-7.45 ซึ่งเป็นภาวะที่เอนไซม์ส่วนใหญ่
ทำ�งานได้
ครูให้นักเรียนสืบค้น อธิบายและและสรุปเกี่ยวกับกลไกที่ควบคุมการรักษาดุลยภาพความเป็น
กรด-เบสของเลือดโดยไต ครูอาจใช้รูป 17.10 ในหนังสือเรียนเพื่อสรุปว่าเมื่อเลือดมีความเป็นกรด ไต
จะเพิ่มการหลั่งไฮโดรเจนไอออนและมีการหลั่งแอมโมเนียมไอออนจากเลือดเข้าสู่ท่อหน่วยไตบริเวณ
ท่อขดส่วนต้นและท่อขดส่วนปลาย และเพิ่มการดูดกลับสารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น ไฮโดรเจน
คาร์บอเนตไอออนเข้าสู่หลอดเลือด ทำ�ให้ความเป็นกรด-เบสของเลือดเข้าสู่ภาวะสมดุล
ครูอาจเชื่อมโยงถึงระบบหายใจซึ่งมีปอดทำ�หน้าที่ในการรักษาดุลยภาพความเป็นกรด-เบสของ
เลือดด้วย โดยการหายใจนำ�แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย
จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
ถ้าไตเสียหายหรือไม่สามารถทำ�งานได้จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร
ร่างกายจะสะสมของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมไว้เป็นจำ�นวนมาก และไม่สามารถ
รักษาดุลยภาพของน้ำ�และสารต่าง ๆ รวมทั้งความเป็นกรด-เบสในเลือดได้ อาจทำ�ให้เสียชีวิต
ครูและนักเรียนร่วมกันเขียนแผนผังสรุปกระบวนการทำ�งานของหน่วยไตในการรักษาดุลยภาพ
ของสารต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจเขียนแผนผังได้ดังตัวอย่าง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย
ชีววิทยา เล่ม 4
207