Table of Contents Table of Contents
Previous Page  213 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 213 / 254 Next Page
Page Background

Osmolarity เป็นความเข้มข้นทั้งหมดของตัวละลายในสารละลาย ตามปกติความเข้มข้น

ของเลือดมนุษย์มีค่าประมาณ 300 mOsm/L (milliosmole/liter) ขณะที่เราดื่มน้ำ�มากหรือ

น้อย ไตสามารถปรับปริมาตรและความเข้มข้นของปัสสาวะได้ ซึ่งไตมนุษย์สามารถขับปัสสาวะ

ที่มีความเข้มข้นมากกว่าเลือดได้สูงสุดประมาณ 4 เท่า คือ 1,200 mOsm/L ซึ่งกลไกที่ทำ�ให้

ปัสสาวะมีความเข้มข้นนี้ เรียกว่า countercurrent multiplier system ที่ทำ�ให้เกิดความ

แตกต่างของความเข้มข้นของของเหลวระหว่างเซลล์ในชั้นเมดัลลากับของเหลวในท่อหน่วยไต

บริเวณห่วงเฮนเลและท่อรวมที่อยู่ในชั้นเมดัลลา

เมื่อของเหลวไหลเข้าสู่ห่วงเฮนเล เซลล์บุผิวที่ห่วงเฮนเลขาลงยอมให้น้ำ�ผ่านออก ส่วนเซลล์บุผิว

ที่ห่วงเฮนเลขาขึ้นยอมให้โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนผ่านออกอย่างเดียว นอกจากนี้

ทิศทางการไหลที่สวนทางกันของของเหลวในท่อขาลงกับของเหลวในท่อขาขึ้น จะทำ�ให้

ของเหลวในท่อขาลงมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าห่วงเฮนเลยาวขึ้น ของเหลวยิ่งมีความ

เข้มข้นมากขึ้น

การที่ความเข้มข้นของของเหลวบริเวณเมดัลลาในส่วนต่างๆ ยังคงสูงอยู่ (มากกว่า 300mOsm/L)

เนื่องจากการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอยรอบห่วงเฮนเลจะไหลสวนทางกับของเหลวใน

ห่วงเฮนเล โดยขณะที่เลือดในหลอดเลือดฝอยรอบห่วงเฮนเลขาลงนำ�เลือดสู่บริเวณคอร์เทกซ์

น้ำ�จะออสโมซิสจากห่วงเฮนเลขาลงเข้าสู่หลอดเลือดฝอย และเกิดเหตุการณ์ตรงข้ามกันที่

ห่วงเฮนเลขาขึ้นโดยโซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนจะถูกดูดกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอย

ส่วนความเข้มข้นของของเหลวในท่อรวมควบคุมโดย ADH ถ้าเลือดมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ

จะกระตุ้นการหลั่ง ADH ทำ�ให้มีการดูดกลับน้ำ�มากขึ้นบริเวณท่อรวม ทำ�ให้ปัสสาวะมีความ

เข้มข้นขึ้นและมีปริมาณน้อยลง

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

201