การเตรียมตัวล่วงหน้าสำ�หรับครู
ครูเตรียมปอดหมูหรือปอดวัวซึ่งต้องสั่งผู้ขายล่วงหน้า เพราะปอดที่นำ�มาขายในตลาดนั้น
มักถูกหั่นเป็นชิ้นจึงไม่เหมาะที่จะนำ�มาศึกษา ควรให้ปอด ท่อลม และกล่องเสียงมีความสมบูรณ์
ไม่ฉีกขาด โดยอาจนำ�ส่วนของฝาปิดกล่องเสียงที่ติดอยู่กับลิ้น รวมทั้งหลอดอาหารมาด้วย ทั้งนี้
การเลือกตัวอย่างสัตว์ควรคำ�นึงว่าไม่ขัดต่อศาสนาของนักเรียน
แนวการจัดกิจกรรม
1. ให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการทำ�กิจกรรมให้ละเอียด โดยครูอาจอธิบายขั้นตอนพร้อมกับ
สาธิตให้นักเรียนดูก่อน จากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3-4 คน ให้นักเรียนศึกษา
ตัวอย่างจริงพร้อมเปรียบเทียบโครงสร้างของปอดกับรูป 14.10 ในหนังสือเรียน โดยให้
นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำ�ถามภายในกลุ่ม และบันทึกผลด้วยการวาดรูปหรือถ่ายรูป
2. ในการศึกษาการขยายตัวของปอด ควรใช้สายยางและที่สูบลม ไม่ควรเป่าลมจากปาก
โดยตรง เพราะอาจทำ�ให้ติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้ และในการศึกษาหลอดลม อาจใช้สายยาง
ขนาดต่างๆที่มีขนาดใกล้เคียงกับหลอดลมที่สังเกตเพื่อสูบลมเข้าไปครูชี้แจงว่าการทำ�เช่นนี้
เพื่อให้เห็นว่าหลอดลมมีขนาดต่าง ๆ โดยหลอดลมที่ต่อกับท่อลมมีขนาดใหญ่และจะมี
ขนาดเล็กลงตามลำ�ดับ จนมีขนาดเล็กที่สุดเรียกว่าหลอดลมฝอย ซึ่งหลอดลมฝอยมองด้วย
ตาเปล่าไม่เห็นแต่นักเรียนอาจเห็นจุดสิ้นสุดเท่าที่สังเกตด้วยตาเปล่าได้
3. ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมเพื่อทบทวนเกี่ยวกับการกลืนอาหาร โดยนำ�ส่วนของกล่องเสียง
ฝาปิดกล่องเสียง และหลอดอาหารมาอธิบาย
ให้นักเรียนเปรียบเทียบการทำ�งานของฝาปิดกล่องเสียงในการหายใจเข้าและหายใจออก
กับขณะกลืนอาหาร ซึ่งลิ้นจะดันอาหารไปด้านหลังของช่องปาก อาหารจะดันลิ้นไก่และ
เพดานอ่อนขึ้นด้านบนปิดกั้นทางเดินหายใจเพื่อป้องกันอาหารไม่ให้เข้าสู่โพรงจมูกและ
ท่อลม เนื่องจากมีฝาปิดกล่องเสียงปิดช่องเปิดของกล่องเสียงไว้ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
โครงสร้าง
ขณะหายใจเข้าและหายใจออก
ขณะกลืนอาหาร
ฝาปิดกล่องเสียง
ยกตัวสูงขึ้น
เลื่อนต่ำ�ลง
ทางเดินหายใจ
เปิด
ปิด
ทางเดินอาหาร
ปิด
เปิด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
51