Table of Contents Table of Contents
Previous Page  58 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 58 / 254 Next Page
Page Background

14.1 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างที่ทำ�หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของฟองน้ำ� ไฮดรา

พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และนก

2. สังเกต และอธิบายโครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นม

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นและอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างที่ทำ�หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส

ของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนของโครงสร้างร่างกาย สภาพแวดล้อมที่อาศัย และปริมาณ O

2

ที่ต้องการแตกต่างกัน โดยอาจใช้คำ�ถามดังนี้

สัตว์ต่าง ๆ มีโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สและ

กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สอย่างไร

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ฟองน้ำ� ไฮดรา

และพลานาเรีย ซึ่งควรสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้นำ� O

2

จากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ร่างกายเพื่อไป

ใช้สร้างพลังงาน และกำ�จัด CO

2

ที่ไม่ต้องการสู่สิ่งแวดล้อม โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่มีโครงสร้างเฉพาะ

สำ�หรับการแลกเปลี่ยนแก๊ส แต่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง

ครูตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลของสัตว์กลุ่มอื่นๆ ดังนี้ี้

สัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ต้องการ O

2

ในปริมาณมากขึ้น การแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

โดยตรงเพียงพอหรือไม่ เพราะเหตุใด

สัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่จะมีโครงสร้างใดที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส และมีการลำ�เลียงแก๊ส

ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างไร

นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของไส้เดือนดิน แมลง ปลา

สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นม แล้วร่วมกันอภิปรายโดย

ใช้รูป 14.3-14.9 เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างและกลไกที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ต่าง ๆ และ

ตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 14 | ระบบหายใจ

ชีววิทยา เล่ม 4

46