สาระสำ�คัญ
สัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของ
โครงสร้างของร่างกาย สภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ และปริมาณแก๊สออกซิเจน (O
2
) ที่สัตว์ต้องการ
เพื่อนำ�ไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมและเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO
2
) ที่ต้องกำ�จัดออกจาก
ร่างกาย
การแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม
และสัตว์ที่ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือดเช่นฟองน้ำ� ไฮดราพลานาเรียส่วนไส้เดือนดินมีการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ผ่านเซลล์บริเวณผิวหนังที่เปียกชื้น แมลงมีท่อลมซึ่งแตกแขนงเป็นท่อลมฝอยนำ�แก๊สไปยังเซลล์
ปลาแลกเปลี่ยนแก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำ�ผ่านเหงือก สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกใช้เหงือกแลกเปลี่ยนแก๊ส
ในระยะตัวอ่อน ใช้ผิวหนังและปอดในระยะตัวเต็มวัย ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยน้ำ�นมใช้ปอดในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ทางเดินหายใจของมนุษย์ประกอบด้วย รูจมูก โพรงจมูก คอหอย กล่องเสียง ท่อลม หลอดลม
หลอดลมฝอย และถุงลมในปอด โดยปอดเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมกับหลอด
เลือดฝอย และบริเวณเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยการแพร่ผ่านหลอดเลือดฝอย
เช่นกัน ซึ่ง O
2
และ CO
2
จะถูกลำ�เลียงโดยระบบหมุนเวียนเลือด นอกจากนี้การทำ�งานของระบบหายใจ
ยังเกี่ยวข้องกับการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือด
การหายใจปกติของมนุษย์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศภายในปอดโดยการทำ�งาน
ร่วมกันของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง และควบคุมโดยสมองส่วนพอนส์
และเมดัลลาออบลองกาตา ระบบหายใจมีความสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดความผิดปกติที่
เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ดังนั้นจึงควรมีการดูแลรักษาระบบหายใจให้ทำ�งานเป็นปกติ
เวลาที่ใช้
บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 12 ชั่วโมง
14.1 การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์
4 ชั่วโมง
14.2 อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์
1 ชั่วโมง
14.3 การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำ�เลียงแก๊ส
2 ชั่วโมง
14.4 การหายใจ
5 ชั่วโมง
รวม
12 ชั่วโมง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
42