แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ในรูปนำ�บทที่แสดงถึง
การเดินทางไปยังพื้นที่ที่อยู่สูงเหนือระดับน้ำ�ทะเลมาก ๆ ทำ�ให้อาจมีอาการวิงเวียน อ่อนเพลีย และ
หายใจลำ�บาก โดยครูอาจใช้รูปหรือวีดิทัศน์อื่น ๆ ในการนำ�เข้าสู่บทเรียน เช่น มนุษย์อวกาศปฏิบัติ
ภารกิจนอกยานอวกาศ หรือการใช้หน้ากากออกซิเจนบนเครื่องบิน โดยอาจใช้แนวคำ�ถามดังนี้ี้
เมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง เช่น มีความดันอากาศลดลง จะส่งผลต่อร่างกาย
มนุษย์อย่างไร
เพราะเหตุใดมนุษย์จึงต้องหายใจตลอดเวลา
จากการอภิปราย นักเรียนควรได้ข้อสรุปว่ามนุษย์จำ�เป็นต้องได้รับ O
2
อย่างเพียงพอตลอดเวลา
เพื่อใช้สร้างพลังงานในการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ ซึ่งร่างกายต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยน
แก๊สกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำ� O
2
ไปยังเซลล์และกำ�จัด CO
2
ออกจากร่างกาย จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อ
นำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลว่ากระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งนักเรียนอาจมีคำ�ตอบได้
หลากหลายและจะได้ศึกษาจากบทเรียนต่อไปนี้
อาการที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ตัวอย่างของรูปนำ�บทเรียกว่า altitude sickness เป็นภาวะที่พบ
ในนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำ�ทะเลมากกว่า 3,000 เมตร และ
ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในภาวะที่มี O
2
เบาบางได้ ทั้งนี้มีความแตกต่างกันขึ้นกับสภาพ
ร่างกายของแต่ละบุคคล สำ�หรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงนั้นร่างกายจะมีการปรับตัวและให้
สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ในบริเวณที่มี O
2
เบาบางได้ โดยในประเทศไทยบริเวณที่สูงที่สุดคืออุทยาน
แห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งมีระดับความสูงประมาณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล จึงไม่พบ
อาการ altitude sickness ในนักท่องเที่ยว
ที่มา: National Health Service. (2560, 28 April).
Altitude sickness
. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก
https://www.nhs.uk/conditions/altitude-sickness/สำ�นักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon)
. สืบค้น
เมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก
http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1006)ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
44