แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้ภาพต้นกระบองเพชรในทะเลทราย หรือภาพและข้อมูลของตัวอย่าง
สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีลักษณะเหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตในสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ และให้นักเรียน
ร่วมกันอภิปรายโดยครูใช้คำ�ถามนำ�ในการอภิปราย ดังนี้
•
ต้นกระบองเพชรที่เห็นในภาพมีลักษณะและรูปแบบการดำ�รงชีวิตที่สัมพันธ์กับ
สภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่งที่อยู่อย่างไร
•
ในบริเวณอื่น ๆ ของโลกที่มีสภาพแวดล้อมเหมือนและแตกต่างจากในภาพ สิ่งมีชีวิตใน
บริเวณดังกล่าวจะมีลักษณะอย่างไร
จากนั้นให้นักเรียนทบทวนโดยร่วมกันอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม
ของแหล่งที่อยู่เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพและ
องค์ประกอบทางชีวภาพในบริเวณแหล่งที่อยู่ และทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับความหมายของ
ระบบนิเวศ จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 5.1 ในหนังสือเรียน ซึ่งแสดงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสม
กับสภาพแวดล้อมในบริเวณต่าง ๆ ของโลกนั้น แล้วตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
อูฐและต้นโกงกางมีลักษณะที่เหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตในระบบนิเวศที่อาศัยอยู่อย่างไร
คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน เช่น ต้นโกงกางมีรากค้ำ�
(prop root) ทำ�ให้สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ในดินเลนซึ่งมีน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงได้ อูฐมีขนสีอ่อนที่สามารถ
สะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ทำ�ให้ผิวหนังไม่ได้รับรังสีมากเกินไป มีโหนกที่ภายในสะสมไขมันซึ่ง
เป็นแหล่งพลังงานช่วยให้สามารถดำ�รงชีวิตในทะเลทรายที่ขาดแคลนอาหารได้
5.1.1 ไบโอม
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของบริเวณต่าง ๆ บนโลก เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีทั้ง
บริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ซึ่งบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศและ
ภูมิประเทศคล้ายคลึงกันจะพบระบบนิเวศแบบเดียวกัน จากนั้นให้ความรู้โดยเชื่อมโยงเนื้อหาระบบนิเวศ
กับไบโอมและให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียน
บทที่ 5 | ชีวิตในสิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
140
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี