Table of Contents Table of Contents
Previous Page  118 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 118 / 284 Next Page
Page Background

จากการอภิปรายและการวิเคราะห์ นักเรียนควรตอบได้ว่าการถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วย

ยีนบนออโตโซม จะปรากฏทั้งสองเพศได้เท่า ๆ กัน ส่วนการถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนบน

โครโมโซม X จะปรากฏลักษณะในเพศหนึ่งมากกว่าอีกเพศหนึ่ง แล้วแต่ว่ายีนบนโครโมโซม X เป็น

แอลลีลเด่นหรือแอลลีลด้อย ถ้าเป็นแอลลีลเด่นจะปรากฏลักษณะในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เช่น

ลักษณะฟันเป็นสีน้ำ�ตาล ถ้าเป็นแอลลีลด้อยจะปรากฏลักษณะในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง เช่น

ลักษณะตาบอดสี ฮีโมฟิเลีย โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ เป็นต้น

พันธุประวัติ

ครูอาจขยายความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักเรียน โดยให้นักเรียนศึกษาพันธุประวัติดังตัวอย่างนี้แล้ว

ให้นักเรียนวิเคราะห์

ตัวอย่างพันธุประวัติของลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนบนออโตโซม

1.

พันธุประวัติของครอบครัวหนึ่งแสดงลักษณะการมีนิ้วเกินซึ่งเป็นลักษณะเด่น

4

5

7

1

1

1

5

6

8

9

2

2

2

ลักษณะปกติในเพศหญิง

รุ่นที่ I

รุ่นที่ II

รุ่นที่ III

ลักษณะปกติในเพศชาย

ลักษณะนิ้วเกินในเพศหญิง

ลักษณะนิ้วเกินในเพศชาย

3

3

4

- พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงลักษณะนิ้วเกิน ลูกจะมีลักษณะนิ้วเกินได้

- ถ้าพ่อแม่ไม่มีลักษณะนิ้วเกิน (คนที่ 4 และคนที่ 5 ในรุ่นที่ II) ลูกก็จะไม่แสดงลักษณะนิ้วเกิน

- ลักษณะนิ้วเกินปรากฏทั้งในเพศหญิงและเพศชายได้เท่าๆ กัน แสดงว่ายีนควบคุมลักษณะ

นิ้วเกินอยู่บนออโตโซม

กำ�หนดให้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

106