Table of Contents Table of Contents
Previous Page  113 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 113 / 284 Next Page
Page Background

ครูอาจให้นักเรียนสังเกตลักษณะของนักเรียนในห้องว่ามีลักษณะใดเป็นลักษณะแปรผันไม่

ต่อเนื่องและลักษณะใดที่เป็นลักษณะแปรผันต่อเนื่อง และอภิปรายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อลักษณะ

ทางพันธุกรรม

จากนั้นครูให้นักเรียนอภิปรายคำ�ถามในหนังสือเรียนต่อไปนี้ เพื่อสรุปเกี่ยวกับการแปรผัน

ต่อเนื่องและการแปรผันไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้

การควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมแบบมัลติเพิลแอลลีลแตกต่างจากลักษณะควบคุมด้วย

ยีนหลายคู่อย่างไร

การเปรียบเทียบลักษณะที่ควบคุมด้วยมัลติเพิลแอลลีลและลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน

หลายคู่ มีดังนี้

ลักษณะที่ควบคุมด้วยมัลติเพิลแอลลีล

ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่

1. ควบคุมด้วยยีน 1 คู่

1. ควบคุมด้วยยีนหลายคู่

2. ควบคุมด้วยยีนหลายแอลลีลในโลคัส

เดียวกันบนฮอมอโลกัสโครโมโซม

2. ควบคุมด้วยยีนหลายโลคัสของฮอมอโลกัส

โครโมโซมต่างคู่กัน

3. ลักษณะที่แสดงออกมีความแตกต่างกัน

อย่างเด่นชัดเป็นการแปรผันไม่ต่อเนื่อง

(discontinuous variation)

3. ลักษณะที่แสดงออกจะแตกต่างกันเล็กน้อยมี

ความลดหลั่นจากมากที่สุดไปยังน้อยที่สุดของ

ลักษณะนั้นเป็นการแปรผันต่อเนื่อง

(continuous variation)

4. สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการแสดงลักษณะ

น้อยมากหรือไม่มีเลย

4. สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการแสดงลักษณะ

5. เป็นลักษณะเชิงคุณภาพ

(qualitative trait)

5. เป็นลักษณะเชิงปริมาณ (quantitative trait)

5.2.5 การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศ

ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับออโตโซมและโครโมโซมเพศ ครูอาจตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การ

อภิปรายว่า

การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศแตกต่างจากการถ่ายทอดยีนที่อยู่บนออโตโซม

อย่างไร

โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างการถ่ายทอดยีนที่อยู่บนออโตโซม เช่น ลักษณะของถั่วลันเตาที่

เมนเดลศึกษา หมู่เลือดระบบ ABO สีตา ลักษณะเส้นผม พร้อมทั้งเขียนจีโนไทป์

บทความ บทความ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

101