5.2.4 ลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่
ครูอาจทบทวนลักษณะพันธุกรรมของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะที่เมนเดลศึกษาว่าถูกควบคุมด้วย
ยีน 1 คู่ และตั้งประเด็นเพื่อไปสู่การอภิปรายว่า
ลักษณะหนึ่งๆ ของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมด้วยยีนเพียง
คู่เดียวเสมอไปหรือไม่และมีลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะใดบ้างที่ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากรู้
ครูอธิบายเกี่ยวกับโลคัสของยีนหลายคู่ที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน โดยใช้รูป 5.18 ในหนังสือ
เรียนประกอบการอธิบาย
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 5.19 ในหนังสือเรียน และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะสี
ของเมล็ดข้าวสาลีที่เกิดจากการผสมของพันธุ์แท้เมล็ดสีแดงเข้มกับเมล็ดสีขาว ครูอาจตั้งคำ�ถามให้
นักเรียนร่วมกันอภิปรายดังนี้
ลักษณะสีของเมล็ดข้าวสาลีควบคุมด้วยยีนกี่โลคัส มีลักษณะใดเป็นลักษณะเด่นและ
ลักษณะใดเป็นลักษณะด้อย
รุ่น F
1
มีเมล็ดสีอะไร
รุ่น F
1
ผสมกันเองจะได้รุ่น F
2
ที่มีสีของเมล็ดข้าวสาลีแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
จากการสืบค้นและการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า สีของเมล็ดข้าวสาลีควบคุมด้วยยีน
3 โลคัส โดยมีเมล็ดสีแดงเป็นลักษณะเด่น เมล็ดสีขาวเป็นลักษณะด้อย รุ่น F
1
เมล็ดมีสีแดงปานกลาง
รุ่น F
2
เมล็ดมีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีแดงเข้ม และมีสีแดงจางลงลดหลั่นกันจนถึงเมล็ดสีขาว
4. ถ้าพ่อมีเลือดหมู่ในระบบ ABO และระบบ MN เป็น A และ M ส่วนแม่มีเลือดหมู่เป็น B
และ N ตามลำ�ดับ ลูกจะมีโอกาสมีฟีโนไทป์ได้กี่แบบ อะไรบ้าง
ในระบบ ABO ลูกมีโอกาสมีฟีโนไทป์ได้ 4 แบบ คือ A B AB หรือ O และในระบบ MN มี
โอกาสมีฟีโนไทป์ได้ 1 แบบ คือ MN
แนวการคิด
ในระบบ ABO พ่อมีเลือดหมู่ A แสดงว่าอาจมีจีโนไทป์เป็น
I
A
I
A
หรือ
I
A
i
ส่วนแม่มี
เลือดหมู่ B แสดงว่าอาจมีจีโนไทป์เป็น
I
B
I
B
หรือ
I
B
i
รุ่นลูกจึงมีโอกาสมีฟีโนไทป์เป็น A B AB
หรือ O ก็ได้ ในระบบ MN พ่อมีเลือดหมู่ M แสดงว่ามีจีโนไทป์เป็น
L
M
L
M
ส่วนแม่มีเลือดหมู่ N
แสดงว่ามีจีโนไทป์เป็น
L
N
L
N
ลูกจึงมีโอกาสมีฟีโนไทป์เป็น MN
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
97