ถ้าสเปิร์มเป็นแบบ
r
1
r
2
R
3
ผสมกับเซลล์ไข่แบบ
r
1
r
2
r
3
จะได้ลูกที่มีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ ดังนี้
จีโนไทป์ของลูก
r
1
r
2
R
3
r
1
r
1
r
2
r
2
R
3
r
3
r
1
r
2
r
3
×
ลูกจะมีจีโนไทป์
r
1
r
1
r
2
r
2
R
3
r
3
ซึ่งมีแอลลีลเด่น 1 แอลลีล แอลลีลด้อย 5 แอลลีล ฟีโนไทป์จึงเป็น
เมล็ดสีแดงอ่อนมาก
นักเรียนอภิปรายเพื่อสรุปความหมายของลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่ได้ว่าลักษณะ
ทางพันธุกรรมลักษณะหนึ่งควบคุมด้วยยีนหลายโลคัส แอลลีลเด่นแต่ละคู่แสดงผลต่อลักษณะ
เท่า ๆ กัน เช่น
R
1
R
1
แสดงลักษณะเด่นเท่า ๆ กับ
R
2
R
2
หรือ
R
3
R
3
ครูอาจชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
การถ่ายทอดสีของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งนิลส์สัน-เอิล (Nilsson-Ehle) ได้เสนอสมมติฐานยีนหลายคู่เพื่อ
อธิบายลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ แอลลีลเด่นแต่ละคู่แสดงผลต่อลักษณะนั้นเท่าๆ กัน และมี
การแสดงออกแบบสะสม (additive effect) คือ ถ้ามีแอลลีลเด่นมากก็แสดงผลสีแดงมาก ถ้ามี
แอลลีลเด่นน้อยก็แสดงผลสีแดงน้อย
การแปรผันต่อเนื่องและการแปรผันไม่ต่อเนื่อง
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแปรผันต่อเนื่องและการแปรผันไม่ต่อเนื่อง โดยครูและ
นักเรียนอภิปรายร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้
ลักษณะที่มีการแปรผันต่อเนื่องและการแปรผันไม่ต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างไร
เมื่อเขียนกราฟแสดงขนาดของประชากรที่มีการแปรผันต่อเนื่องและการแปรผันไม่ต่อเนื่อง
จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนควรสรุปได้ว่า ลักษณะที่มีการแปรผันไม่ต่อเนื่อง เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุม
ด้วยยีนโลคัสเดียว ฟีโนไทป์มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเขียนกราฟแสดงขนาดประชากรจะ
เป็นดังรูป 5.20 ก. ส่วนลักษณะที่มีการแปรผันต่อเนื่อง จะเป็นลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่
ฟีโนไทป์มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะเหล่านี้สามารถตรวจวัดใน
เชิงปริมาณได้ และบางลักษณะพบว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสูงต่อการแสดงออกของยีน เมื่อเขียน
กราฟแสดงขนาดประชากรในแต่ละฟีโนไทป์จะมีการกระจายอย่างต่อเนื่องหรือกระจายแบบโค้งปกติ
ดังรูป 5.20 ข.
เซลล์สืบพันธุ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
100