จากนั้นครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ เรื่องกลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดจากมิวเทชัน โดยการ
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดจากมิวเทชันระดับยีนและระดับโครโมโซมของมนุษย์
และอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดมิวเทชันนักเรียนอาจยกตัวอย่างมิวทาเจนที่เป็นสารก่อมะเร็ง
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด โดยพิจารณาจากสิ่งรอบตัวจากการอุปโภคและ
บริโภคของนักเรียนเอง รวมทั้งสาเหตุอื่นๆ ที่ทำ�ให้เกิดมิวเทชัน แล้วนำ�เสนอรายงานหน้าชั้นเรียนหรือ
นำ�เสนอในรูปแบบอื่น ซึ่งตัวอย่างกลุ่มอาการหรือโรคเป็นดังนี้
ความผิดปกติที่เกิดจากมิวเทชันระดับยีน เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) เกิด
จากมิวเทชันของยีน
CFTR
ที่ควบคุมการสร้าง cystic fibrosis transmembrane conductance
regulator ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของโปรตีนลำ�เลียงคลอไรด์ไอออนและโซเดียมไอออนบนเยื่อหุ้ม
เซลล์บุผิวของทางเดินหายใจ ทำ�ให้เกิดออสโมซิสของน้ำ�เข้าสู่ทางเดินหายใจน้อย สารคัดหลั่งจึงข้น
เหนียวกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจได้ง่าย มิวเทชันที่พบบ่อยที่สุดคือ การขาด
หายของนิวคลีโอไทด์จำ�นวน 3 นิวคลีโอไทด์ ทำ�ให้ไม่มีการแปลรหัสเป็นกรดแอมิโนฟีนิลอะลานีนที่
กรดแอมิโนตำ�แหน่งที่ 508 ของโปรตีนนี้ ทำ�ให้โปรตีนมีความผิดปกติ มิวเทชันแบบนี้พบได้
66-70% ของผู้ป่วยโรคนี้ อย่างไรก็ตามยังมีมิวเทชันแบบอื่นที่ทำ�ให้เกิดโรคซิสติกไฟโบรซิสได้
ความผิดปกติที่เกิดจากมิวเทชันระดับโครโมโซม มีทั้งความผิดปกติที่เกิดกับออโตโซมและ
โครโมโซมเพศ ซึ่งจำ�นวนโครโมโซมที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ เช่น
ชื่อกลุ่มอาการหรือโรค
ความผิดปกติ
ที่เกิดกับโครโมโซม
ลักษณะของความผิดปกติ
พาทัวซินโดรม
(Patau syndrome) หรือกลุ่ม
อาการ trisomy 13
ออโตโซม
47, +13
ปากแหว่ง เพดานโหว่ ตาเล็ก
หูหนวก ใบหูต่ำ� นิ้วมือนิ้วเท้า
มักเกิน หัวใจและไตผิดปกติ
สมองพิการ ทารกตายหลังจาก
คลอดไม่กี่เดือน
เอ็ดเวิร์ดซินโดรม
(Edwards syndrome) หรือ
กลุ่มอาการ trisomy 18
ออโตโซม
47, +18
มือกำ� ท้ายทอยโหนก ใบหูผิด
รูปและเกาะต่ำ�
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
35