4.4.2 มิวเทชันระดับโครโมโซม
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมิวเทชันระดับโครโมโซม จากการสืบค้นข้อมูลและการ
อภิปราย นักเรียนควรสรุปประเด็นสำ�คัญเกี่ยวกับมิวเทชันระดับโครโมโซม ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซม อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์
แบบไมโอซิส รังสีต่างๆ หรือสารเคมี จึงทำ�ให้เกิดเซลล์สืบพันธุ์ที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลาย
แบบ เช่น บางส่วนของโครโมโซมขาดหายไปอาจเกิดที่ส่วนปลายหรือส่วนกลางแท่ง
โครโมโซม ความผิดปกตินี้ทำ�ให้เกิดกลุ่มอาการคริดูชา บางส่วนของโครโมโซมที่ขาดไป
อาจจะกลับมาต่อใหม่แต่ต่อแบบกลับทิศทำ�ให้ลำ�ดับของยีนเปลี่ยนไป บางส่วนของ
โครโมโซมเกินมาจากปกติ ส่วนที่เกินอาจมาจากโครโมโซมที่เป็นคู่กัน และการเคลื่อนย้าย
ชิ้นส่วนของโครโมโซมที่ต่างคู่กัน จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมทำ�ให้จำ�นวน
ของนิวคลีโอไทด์และลำ�ดับของนิวคลีโอไทด์เปลี่ยนไป ซึ่งทำ�ให้รหัสพันธุกรรมและ
การสังเคราะห์โปรตีนเปลี่ยนไป มีผลทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฟีโนไทป์ซึ่งอาจ
ทำ�ให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
2. การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนโครโมโซม อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโอซิส คือ เกิดนอนดิสจังชัน ซึ่งฮอมอโลกัสโครโมโซมไม่แยกจากกันขณะแบ่งเซลล์ใน
ระยะไมโอซิส I หรือไมโอซิส II มีผลทำ�ให้เซลล์สืบพันธุ์มีจำ�นวนโครโมโซมขาดหรือเกินเป็น
แท่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งออโตโซมและโครโมโซมเพศ ความผิดปกตินี้ทำ�ให้เกิดกลุ่มอาการดาวน์
กลุ่มอาการเทิร์นเนอร์ หรือกลุ่มอาการและโรคอื่นๆ นอกจากนี้จำ�นวนโครโมโซมขาดหรือ
เกินเป็นชุด เรียกว่า พอลิพลอยด์ มักพบในพืชซึ่งทำ�ให้ขนาดของดอกและผลใหญ่ขึ้น ซึ่ง
มนุษย์นำ�มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชได้ แต่ถ้าเกิดกับสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยน้ำ�นมมักจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ DNA อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมและการ
สังเคราะห์โปรตีนอย่างไร
ถ้า DNA สายที่เกิดมิวเทชันไปเป็นแม่แบบในการสร้าง mRNA จะมีรหัสบนสายmRNA
ในตำ�แหน่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ชนิดของกรดแอมิโนที่ได้จากการแปลรหัสอาจจะ
เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ตรวจสอบความเข้าใจ
บทความสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
32