4.4 มิวเทชัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายสาเหตุและผลของการเกิดมิวเทชันระดับยีนและระดับ
โครโมโซม
2. ยกตัวอย่างโรคและกลุ่มอาการที่เป็นผลของการเกิดมิวเทชันระดับยีนและระดับโครโมโซม
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนศึกษารูป 4.23 เก้งและเก้งเผือก หรือรูปสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น
กระต่ายสีขาวและกระต่ายสีอื่นๆ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังนี้
ลักษณะของสัตว์เผือกลักษณะใดที่ผิดไปจากปกติและลักษณะใดบ้างที่เหมือนเดิม
ลักษณะที่ผิดปกตินี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้หรือไม่
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า สัตว์เผือกมีลักษณะที่ต่างไปจากปกติ เช่น สีขนเป็น
สีขาว สีของดวงตาเป็นสีแดง แม้ว่าสัตว์เผือกจะมีลักษณะบางอย่างที่ผิดปกติ แต่ลักษณะส่วนใหญ่
ยังคงเหมือนกับพ่อแม่ ลักษณะเผือกนี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ DNA และโครโมโซม เรียกลักษณะนี้ว่า การกลายหรือมิวเทชัน ในกรณี
ของกระต่ายสีขาวซึ่งมีลักษณะเผือก แต่ถูกนำ�มาขยายพันธุ์เพิ่มจำ�นวนเป็นสัตว์เลี้ยงจนพบเห็นได้
ทั่วไป
ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนเคยเห็นสัตว์ที่มีลักษณะเผือกบ่อยหรือไม่ คำ�ตอบของนักเรียนอาจ
มีได้หลากหลาย ครูให้ความรู้ว่า มิวเทชันสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่เกิดในอัตราที่ต่ำ�มาก
มิวทาเจน เช่น รังสีและสารเคมีต่าง ๆ ชักนำ�ให้เกิดมิวเทชันเพิ่มขึ้นได้ มิวทาเจนบางชนิดเป็น
สิ่งก่อมะเร็ง ถ้าได้รับในปริมาณมากหรือบ่อยครั้ง จะทำ�ให้เป็นมะเร็งได้
การเกิดมิวเทชันแบ่งออกเป็นมิวเทชันระดับยีนและมิวเทชันระดับโครโมโซม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
4.4.1 มิวเทชันระดับยีน
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมิวเทชันระดับยีน และศึกษารูป 4.24 ในหนังสือเรียน
จากนั้นตอบคำ�ถามซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
29