Table of Contents Table of Contents
Previous Page  42 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 42 / 284 Next Page
Page Background

จากรูป 4.24 การเปลี่ยนแปลงของเบสใน DNA เป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อ DNA สายใหม่

ในการจำ�ลองดีเอ็นเอครั้งแรก มีการจับคู่ของเบสผิดคู่ เบส G ควรจะจับคู่กับเบส C แต่ไปจับคู่

กับเบส T แทน และเมื่อสายพอลินิวคลีโอไทด์ที่มีเบส T นี้ไปเป็นแม่แบบในการสร้าง

พอลินิวคลีโอไทด์สายใหม่ เบส T จะไปจับกับเบส A ดังนั้นลำ�ดับของเบสในสาย DNA สายนี้

จึงเปลี่ยนแปลงไป

ครูให้นักเรียนศึกษาฮีโมโกลบินที่ผิดปกติของคนที่เป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ โดยการ

เปรียบเทียบกับฮีโมโกลบินของคนปกติ โดยใช้รูป 4.25 ในหนังสือเรียน จากรูปจะเห็นว่าลำ�ดับกรด

แอมิโนลำ�ดับที่ 6 ในสายบีตาของโมเลกุลฮีโมโกลบินของคนปกติเป็นกรดกลูตามิก ส่วนคนที่เป็นโรค

โลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์เป็นวาลีน ส่วนคำ�ถามในหนังสือเรียนมีแนวคำ�ตอบดังนี้

ผู้ป่วยโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์มีลำ�ดับของกรดแอมิโนในฮีโมโกลบินสายบีตาแตกต่างจาก

คนปกติอย่างไร

แตกต่างกันคือ กรดแอมิโนตำ�แหน่งที่ 6 ของพอลิเพปไทด์สายบีตาของฮีโมโกลบินในคนปกติ

เป็นกรดกลูตามิก ส่วนในคนที่เป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์จะเป็นวาลีน

ลักษณะทางพันธุกรรมของโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์เกี่ยวข้องกับ DNA และโปรตีน อย่างไร

เมื่อเบสของ DNA เปลี่ยนไป การสังเคราะห์โปรตีนฮีโมโกลบินจะผิดปกติ ทำ�ให้คนที่มีลักษณะ

ทางพันธุกรรมเช่นนี้เป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์

จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นว่า กรดกลูตามิกในสายบีตาของโมเลกุลฮีโมโกลบิน

เปลี่ยนเป็นวาลีนได้อย่างไร ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันพร้อมทั้งศึกษารูป 4.26 ในหนังสือ

เรียนประกอบซึ่งแสดงการเกิดมิวเทชัน ซึ่งนักเรียนควรสรุปได้ว่า มีการแทนที่คู่เบสแล้วได้กรดแอมิโน

ชนิดใหม่ อาจจะเกิดจากความผิดพลาดขณะที่ DNA มีการจำ�ลองตัวเอง ดังนั้นเมื่อ DNA ที่สังเคราะห์

มาได้ถ่ายทอดรหัสให้ mRNA การแปลรหัสจาก mRNA จึงได้กรดแอมิโนที่แตกต่างจากเดิม แล้วตอบ

คำ�ถามซึ่งมีแนวการตอบดังนี้

การเกิดมิวเทชันแบบการแทนที่คู่เบสทำ�ให้เกิดผลเสียเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

ไม่เสมอไปถ้ามีการแทนที่คู่เบสแล้วได้กรดแอมิโนชนิดเดิมจะไม่มีผลต่อฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

30