Table of Contents Table of Contents
Previous Page  14 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 14 / 367 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4

๑. ที่มาและเหตุผลของการปรับหลักสูตร

ด้วยปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่าง

รวดเร็ว การปรับหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับการเตรียม

ความพร้อมพลเมืองในอนาคตของชาติสำ�หรับการประกอบอาชีพและดำ�รงชีวิตใน

สังคมโลกแห่งศตวรรษที่ ๒๑ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(สสวท.) ตระหนักถึงความสำ�คัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มุ่งหวังให้เกิดผล

สัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนมากที่สุด จึงได้ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในการทบทวนและปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้ทันสมัยและทัดเทียมนานาชาติ อาทิเช่น มีการ

จัดเรียง โยกย้ายแนวคิดรวบยอดและทักษะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

ทัดเทียมนานาชาติ พิจารณาการเชื่อมโยงกันของเนื้อหาต่าง ๆ ทั้งภายในสาระ

และระหว่างสาระ คำ�นึงถึงความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานควบคู่กับการฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็น

พลเมืองของประเทศที่มีสมรรถนะเหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตและประกอบอาชีพ

ในศตวรรษที่ ๒๑ อันนำ�ไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป

จุดเด่นของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง

พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีดังนี้

๑. จัดแนวคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์

และกระบวนการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งภายใน

สาระการเรียนรู้และระหว่างสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้

ต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา เพื่อให้ผู้เรียน

ได้เรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและไม่ซ้ำ�ซ้อน

๒. จัดเรียงลำ�ดับตัวชี้วัดในสาระต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและร้อยเรียงกันจาก

แนวคิดที่เป็นรูปธรรมไปสู่แนวคิดที่เป็นนามธรรม หรือจากแนวคิดที่

ใกล้ตัวไปสู่ไกลตัว หรือจากแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนแนวคิดอื่นๆ

ในสาระวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ ๖

๓. วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

๒๕๕๑ กับหลักสูตรของประเทศชั้นนำ�ด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เพื่อปรับหลักสูตรให้มีความทันสมัย และทัดเทียมนานาชาติ

๔. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการพัฒนาความ

คิดระดับสูง ทั้งการคิดเป็นเหตุเป็นผล การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมี

วิจารณญานและการแก้ปัญหา ด้วยการทำ�กิจกรรมและปฏิบัติการต่าง ๆ

ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ และทักษะสำ�คัญในศตวรรษที่ ๒๑ จนเกิดสมรรถนะด้าน

วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตได้อย่าง

เป็นระบบ เชื่อมั่นและศรัทธาในความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์