การเคลื่อนที่ของโปรติสตาเเละสัตว์
การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต
-ความสำคัญของการเคลื่อนไหวทำให้สิ่งมีชีวิตได้รับสิ่งที่ต้องการและหลีกหนีสิ่งที่ไม่ต้องการ
-เกิดจากการมีสิ่งเร้ามากระตุ้น
-ต้องอาศัยพลังงานในการเคลื่อนที่ (ATP)
-สัตว์จะเคลื่อนไหวได้ดีและชัดเจนกว่าพืช
สามารถเเบ่งได้เป็น
1. การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชิตที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนภายนอก เช่น นกบินบนฟ้า ปลาว่ายน้ำในน้ำ
2. การเคลื่อนไหวที่ไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจนภายนอกเช่น
การไหลเวียนของไซโตพลาสซึมภายในเซลล์ (cyclosis)
การโอบล้อมจับกินเหยื่อของเซลล์เม็ดเลือดขาว(phagocytosis)
การเคลื่อนที่ของโครโมโซมขณะมีการแบ่งเซลล์
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนไหวของพวกโปรติสต์
โปรติสต์ คือ - สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ แต่เซลล์ยัง ไม่มีการ จัดเรียงตัวเป็นเนื้อเยื้อ
- มีลักษณะสำคัญของพืชและสัตว์รวมกัน
การเคลื่อนไหวของพวกโปรติสต์แบ่งเป็น
- การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลเวียนของไซโตพลาสซึม (cyclosis)
- การเคลื่อนไหวโดยใช้ แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือ ซีเลีย (cilia)
1. การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลเวียนของไซโตพลาสซึม (cyclosis) พบใน
- เซลล์อะมีบา (amoeba)
- เซลล์อื่นๆที่คล้ายอะมีบา เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว บิดมีตัวในลำไส้คน
- เซลล์พืช เช่น เซลล์สาหร่ายหางกระรอก ราเมือก (slime mold )
การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลเวียนของไซโตพลาสซึม (cyclosis) เกิดจาก การหดตัวและคลายตัวของไมโครฟิลาเมนท์(microfilament) ซึ่งอยู่ไซโทพลาสซึม(microfilament = โปรตีน actin+ โปรตีน myosin มีการเลื่อนผ่านเข้าหากัน ทำให้เกิดการหดและคลายตัว )
1. การเคลื่อนไหวของอะมีบา (amoeboid movement)
ไมโครฟิลาเมนต์ หดและคลายตัว ( actin+ myosin เลื่อนเข้าหากัน) ไซโทพลาสซึมไหลไปในทิศทางที่ต้องการดันเยื้อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกคล้ายเท้าเทียมยื่นออกมา เรียกว่า เท้าเทียม หรือ pseudopodium ไซโทพลาสซึมไหลไปในทิศทางที่ต้องการ เกิดการเคลื่อนที่ เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบอะมีบา(amoeboid movement)
2. การเคลื่อนไหวโดยใช้แฟลกเจลลัม หรือ ซิเลีย
- เป็นโครงสร้างเล็กๆที่ยื่นออกมาจากเซลล์
- สามารถโบกพัดทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนที่ได้
ซิเลีย(cilia)
- เส้นเล็กๆ คล้ายขน มีจำนวนมาก
- พบใน พารามีเซียม พลานาเรีย วอร์ติเซลลา สเตนเตอร์
เซลล์ที่เยื้อบุหลอดลมและที่ท่อนำไข่ของคน
แฟลกเจลลัม (flagellum)
- เส้นยาวๆ คล้ายแส้ พบเพียง 1-2 เส้น
- พบใน ยูกลีนา โวลวอค (volvox) และส่วนหางของสเปิร์ม ในมอส ลิเวอร์เวิร์ตและสัตว์ต่างๆ
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนไหวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ใช้กล้ามเนื้อกับโครงสร้างพิเศษช่วยในการเคลื่อนที่
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
1. ไส้เดือนดิน (earth worm)
- Phylum Annelida
- ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง
- แต่ละปล้องมีโครงสร้างพิเศษ เรียก เดือย (setae) ยื่นออกมาจากด้านข้างของลำตัว
การเคลื่อนไหวของไส้เดือนดินเกิดจาก
1) การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวง (circular muscle) และกล้ามเนื้อตามยาว
หากกล้ามเนื้อวงหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัวหากกล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัว**กล้ามเนื้อทั้ง 2 ชุดจะทำงานในสภาวะตรงข้าม เรียกการทำงานแบบสภาวะตรงข้ามว่า (antagonism)
2) เดือยเล็กๆ ข้างลำตัว จะช่วยบังคับทิศทางในการเคลื่อนไหว
2. พลานาเรีย (planaria)
-Phylum Platyhelminthes
-ภาวะปกติลอยที่ผิวน้ำ จะใช้ซิเลีย (cilia)
-คืบคลานบนวัตถุใต้น้ำ โดยอาศัยกล้ามเนื้อ 3 ชุดคือ
1. กล้ามเนื้อวง (circular muscle)
2. กล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle)
3. กล้ามเนื้อบน-ล่าง (dorsoventral muscle)
- กล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวของพลานาเรีย เท่านั้นที่จะทำงานร่วมกันแบบสภาวะตรงข้าม (antagonism)
- กล้ามเนื้อบน-ล่าง หดตัวจะทำให้พลานาเรียแบนพลิ้วไปในน้ำได้
3. แมงกะพรุน (jelly fish)
-Phylum Coelenterata
-การหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่ง และเนื้อเยื่อบริเวณผนังลำตัว เกิดการเคลื่อนที่
-ลำตัวจะมีการเคลื่อนที่ตรงข้ามกับน้ำที่พ่น(อาศัยแรงดันน้ำในการเคลื่อนที่ hydrostatic
4. ไฮดรา (hydra)
-Phylum Coelenterata
-ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่กับที่ (sessile animals)
-อาจเคลื่อนที่โดยการ คืบคลาน ว่ายน้ำหรือแบบตีลังกา
5. หมึก (squid)
-Phylum Mollusca
-เคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ และพ่นน้ำออกทางท่อไซฟอน (อวัยวะเคลื่อนที่)
-ลำตัวเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออก
-ครีบช่วยเคลื่อนที่โดยการกระพือน้ำ(อาศัยแรงดันน้ำหรือ hydrostatic pressure)
5. ดาวทะเล (starfish)
- Phylum Echinodermata
- เคลื่อนที่โดยอาศัยกล้ามเนื้อที่ทิวบ์ฟีต (tube feet) ซึ่งอยู่ด้านล่างของลำตัวและระบบหมุนเวียนของน้ำในร่างกาย
- อาศัยแรงดันน้ำในการเคลื่อนที่ hydrostatic pressure
6. แมลง (insect)
- Phylum Arthropoda
- กล้ามเนื้อที่ยึดเปลือกหุ้มส่วนอก และกล้ามเนื้อตามยาวที่ยึดกับปีก จะมีการทำงานแบบสภาวะตรงข้ามกัน (antagonism)
- ขณะที่แมลงขยับปีกขึ้น
- กล้ามเนื้อที่ยึดเปลือกหุ้มส่วนอกจะหดตัว (antagonism)
- กล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัว
- ขณะที่แมลงกดปีกลง
- กล้ามเนื้อที่ยึดเปลือกส่วนอกจะคลายตัว
- กล้ามเนื้อตามยาวจะหดตัว
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
- Phylum chordata เช่น นก แมว ปลา จระเข้
- มีโครงร่างแข็งอยู่ภายในร่างกาย (endoskeleton)
- เกิดจากการทำงานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ รวมทั้งการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่ออีกด้วย
- การเต้นของหัวใจ การทำงานของปอด การบีบตัวของลำไส้ เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในของร่างกาย
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
1.1 กระดูกแกน (axial skeleton) ปกด.
- กระดูกกะโหลก (skull)
เป็นที่อยู่ของสมอง
- กระดูกกะโหลกและกระดูกย่อยหลายชิ้นเชื่อมติดกัน
- กระดุกสันหลัง (vertebral column)
ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนัก
กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น
- กระดูกซี่โครง (rib)
มีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับหัวใจ ปอด และอวัยวะภายในต่างๆ
มีกล้ามเนื้อ 2 ชุดยึดติดระหว่างด้านนอกและด้านใน ซึ่งการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งสองจะช่วยในการหายใจ
หมอนรองกระดูก อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อหมอนรองกระดูกมีหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังเพื่อป้องกันการเสียดสีถ้าเสื่อม จะไม่สามารถบิดตัวได้
2. ข้อต่อ (joint)
จุดหรือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่ 2 หรือมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน โดยส่วนของกระดูที่มาประกบกันนั้นเป็นกระดูกอ่อนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
2.1 ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ได้แก่ข้อต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ ซึ่งเรียกว่า suture
2.2 ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ แบ่งเป็น
2.2.1 ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint)
- เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย คล้ายงูเลื้อย
- ข้อต่อกระดูกข้อมือ ข้อต่อกระดูกสันหลัง
2.2.2 ข้อต่อแบบบานพับ (hinge joint)
- เคลื่อนไหวได้ทิศทางเดียวคล้ายบานพับ
- ข้อศอก ข้อต่อบริเวณหัวเข่า ข้อต่อของนิ้วมือต่างๆ
2.2.3 ข้อต่อแบบเดือย (pivot joint)
- ข้อต่อที่ทำให้ กระดูกชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ไปรอบๆแกนกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง
- ข้อต่อระหว่างกะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลังสวนคอชิ้นแรก ทำให้ศีรษะหมุนไปมาได้
2.2.4 ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก (ball and socket joint)
- ข้อต่อมีลักษณะกลม (ball) อยู่ภายในแอ่ง (socket)
- ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและคล่องมาก (แกว่งได้)
- หัวของกระดูกต้นแขนกับกระดูกสะบัก หัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน
*** แต่ละข้อต่อจะมีกระดูกอ่อนและน้ำไขข้ออยู่ (กระดูกอ่อนที่ไขสันหลังเรียกหมอนรองกระดูก หากกระดูกอ่อนสึกกร่อน น้ำไขข้อลดลงจะทำให้ข้ออักเสบ เช่น ข่อเข่าเสื่อม ข่อสะโพกเสื่อม เป็นต้น)
3. เอ็น มีหน้าที่
- ยึดกระดูกและกล้ามเนื้อให้การยึดเกาะเหนียวแน่น แข็งแรง
- เกิดการเคลื่อนที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ป้องกันการสะเทือนได้ดี
แบ่งเป็น
1. เอ็นยึดกระดูก หรือ เทนดอน (tendon) ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก
2. เอ็นยึดข้อ หรือ ลิกาเมนท์ (ligament) ยึดกระดูกกับกระดูก
(เอ็นร้อยหวาย ยึดระหว่างน่องกับกระดูกส้นเท้า)
กล้ามเนื้อในร่างกาย จะมีการทำงานร่วมกันเป็นคู่ๆ ในสภาวะ ตรงข้าม คือ กล้ามเนื้อด้านหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะคลายตัวทำให้เกิด การเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อด้านใดเมื่อหดตัวแล้วทำให้อวัยวะด้านนั้นงอเข้ามา เรียกกล้ามเนื้อ เฟลกเซอร์ (flexor)
กลามเนื้อด้านใดเมื่อหดตัวแล้วทำให้อวัยวะด้านนั้นเหยียด ออกเรียกกล้ามเนื้อ เอกซ์เทนเซอร์ (extensor)
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนที่ของปลา
- เกิดจากกล้ามเนื้อซึ่งยึดติดอยู่สองข้างของกระดูกสันหลังมีการทำงานแบบสภาวะตรงข้าม (antagonism) นั้นคือ กล้ามเนื้อด้านหนึ่งหดตัวอีข้างหนึ่งจะคลายตัว เริ่มจากส่วนหัวไปส่วนหาง
- ครีบปลามีหน้าที่ช่วยพยุงปลา และช่วยให้เคลื่อนที่ขึ้นลงตามแนวดิ่งได้
การเคลื่อนที่ของนก
- การขยับปีกขึ้นลงของนกอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ยึดโคนปีกกับลำตัว
- กล้ามเนื้อที่ช่วยในการบิน ปกด. กล้ามเนื้อยกปีก กับ กล้ามเนื้อกดปีก การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งสองนี้จะไปดึงให้กระดูกปีกของนกขยับขึ้นและขยับลง
- การขยับปีกกางออกอากาศจะช่วยดันให้นกลอยขึ้นไปด้วย เพราะมีอากาศพยุงใต้ปีก และเมื่อนกบินลงก็จะหุบปีกเพื่อช่วยลดแรงดันอากาศ
- . นกมีน้ำหนักตัวน้อยเนื่องจาก กระดูกของนกมีรูพรุน นอกจากนี้ยังมีถุงลมที่เชื่อมติดกับปอด ช่วยสำรองอากาศเพื่อส่งไปให้ปอดแลกเปลี่ยนแก็สได้มากขึ้นขณะบิน
กลับไปที่เนื้อหา
-
7046 การเคลื่อนที่ของโปรติสตาเเละสัตว์ /lesson-biology/item/7046-2017-05-22-15-26-07เพิ่มในรายการโปรด