ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสภาพที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยในการขยายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การที่มีสภาพที่อยู่อาศัยอย่างหลากหลาย เช่น ลักษณะป่าแต่ละพื้นที่ ลักษณะระบบนิเวศที่หลากหลาย จึงก่อให้เกิดความหลากหลายของสัตว์เช่นกัน
ภาพเต่า สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง
ที่มา https://pixabay.com , Capri23auto
ความหลากหลาย หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน โดยเกิดจากผลของการแสดงออกทางพันธุกรรมหรือยีนและกลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน การแบ่งประเภทของสัตว์นั้นมี
หลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่สัตว์ ตามโครงสร้างของร่างกายของสัตว์สามารถบ่งบอกถึงวิวัฒนาการและต้นกำเนิดของ สัตว์แต่ละชนิดได้ สัตว์ที่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึง กันหรือโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดมาด้วยกันจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงวิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของสัตว์จะอาศัยลักษณะของโครงสร้างของร่างกายเป็นหลัก โดยเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่าง รวมทั้งเปรียบเทียบการจัดเรียงตัว และการพัฒนาการต่างๆ
หลักการแบ่งสามารถแบ่งได้หลายประเภท สัตว์ต่างชนิดกันย่อมมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน สัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ม้า สิงโต ปลาฉลาม เป็นต้น ในพื้นที่เดียวกันก็อาจมีสัตว์ที่ขนาดเล็กมาก เช่น มด ยุง เห็บ ไร และยังมีรูปร่างที่ต่างกัน ทั้งจำนวนขา บางชนิดก็ไม่มีขา การเจริญเติบโตก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกความหลากหลายของสัตว์ได้ ดังนี้ สัตว์บางชนิด มีการเจริญเติบโตโดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มีขนาดโตขึ้นเท่านั้น เช่น สุนัข แมว วัว แต่สัตว์บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโตด้วย เช่น กบ ยุง ผีเสื้อ เป็นต้น นี้คือสิ่งที่บ่งบอกความหากหลายของสัตว์เพียงเบื้องต้นเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์ ได้มีการจำแนกสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระดูกสันหลัก การสืบพันธ์ อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ เป็นต้น
โดยการแบ่งประเภทสัตว์ที่เน้นให้ศึกษาได้ง่ายมักใช้เกณฑ์ของกระดูกสันหลังของสัตว์ในการแบ่ง สามารถแบ่งออก ได้ 2 ประเภทดังนี้ สัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ในกลุ่มมีกระดูกสันหลังมีลักษณะกระดูกที่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์
สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อของร่างกายเจริญเป็นอวัยวะที่มีการทำงานซับซ้อน ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบก จัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง แบ่งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้ดังนี้
สัตว์พวกปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือก มีแผ่นปิดเหงือก มีครีบ บางชนิดมีเกล็ด บาง ชนิดไม่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลากระเบน ฉลาม ม้าน้ำ ฯลฯ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังเปียกชื้น ไม่มีเกล็ด ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ หายใจ ด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นหายใจด้วยปอดและผิวหนัง อาศัยอยู่บนบก มี 4 ขา เช่น กบ อึ่งอ่าง คางคก จิ้งจกน้ำฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังแห้ง ลำตัวมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอด วางไข่บน บก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เต่า จระเข้ กิ้งก่า จิ้งจก ฯลฯ
สัตว์จำพวกนก เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจด้วยปอด ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีขนเป็นแผง มี เกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม มีจะงอยปากแข็ง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียสตลอด ชีวิต เช่น นกพิราบ นกนางนวล นกยูง นกกระจอกเทศ ฯลฯ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลือดอุ่น ผิวหนังเรียบ มีต่อมน้ำนมหรับสร้างน้ำนมให้ตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีขนแบบ เส้นผม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่ จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น โลมา วาฬ พะยูน ฯลฯ สัตว์ปีกมีชนิดเดียวคือ ค้างคาว สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ สัตว์ประเภทนี้ มีทั้งสัตว์ชนิดที่กินพืชและกินสัตว์เป็นอาหาร
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ เป็นสัตว์ที่ไม่มี สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแกนกลางภายในร่างกาย มักจะมีขนาดเล็ก ถ้ามีขาจะมีจำนวนขามาก และมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน แบ่งตามประเภทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ดังนี้
พวกฟองน้ำ ลักษณะลำตัวมีโพรง มีรูพรุน สืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ ฟองน้ำแก้ว ฯลฯ
พวกลำตัวกลวงหรือมีโพรง ลักษณะลำตัวคล้ายทรงกระบอกกลวง มีช่องเปิดออกจากลำตัวเพียงช่อง เดียว กลางลำตัวเป็นโพรง เป็นทางให้อาหารเข้าและกักอาหารออกจากลำตัว มีเข็มพิษไว้ ป้องกันตัวและจับเหยื่อ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศบางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ไฮดรา และบางชนิดอาศัยในน้ำเค็ม เช่น แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล ฯลฯ
พวกหนอนตัวแบน ลักษณะลำตัวแบนยาว มีปากแต่ไม่มีทวาร สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและ ไม่อาศัยเพศ อาศัยอยู่ในน้ำเค็มและน้ำจืด เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ฯลฯ
พวกหนอนตัวกลม ลักษณะลำตัวยาว ผิวเรียบ ไม่เป็นปล้อง เพศผู้เพศเมียแยกคนละตัว สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ ดำรงชีวิตแบบปรสิต เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิปากขอ ฯลฯ
พวกหอยทะเลและหมึกทะเล ลักษณะลำตัวนิ่มมีหัวใจสูบฉีดเลือด เคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อ หายใจด้วยปอด สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ออกลูกเป็นไข่ เช่น หอยขี้กา หอยทาก หมึกทะเล ฯลฯ
พวกสัตว์ทะเล ผิวขรุขระ ลักษณะตามผิวลำตัวหยาบ ขรุขระ มีสารพวกหินปูนเป็น องค์ประกอบ ร่างกายแยกเป็นแฉก สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ออกลูกเป็นไข่ เช่น ดาวทะเล ปลิงทะเล เม่นทะเล ฯลฯ
พวกที่มีขาเป็นข้อ ลักษณะขาต่อกันเป็นข้อๆ มีระบบหมุนเวียนเลือด ระบบทางเดินอาหารที่ สมบูรณ์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น กุ้ง ปู กิ้งกือ แมลงปอ แมงมุม ฯลฯ
พวกที่มีล้ำตัวเป็นปล้อง ลักษณะล้ำตัวกลมยาวคลำยวงแหวน ต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังเปียก ชื้น มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เช่น ไส้เดือน ปลิง ฯลฯ
แหล่งที่มา
กลิ่นสุคนธ์ จอมไพรศรี. (2552). ความหลากหลายทางชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/19/biodiversity/web/topic6.html
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)