เกลือ
ความหมายของเกลือ
ความหมาย 1. เกลือเกิดจาก กรดทำปฏิกิริยากับเบส ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือกับน้ำ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน
2. เกลือเกิดจาก การที่ไอออนบวกเข้าไปแทนที่ H+ ในกรด
3. เกลือเกิดจาก การที่ไอออนลบเข้าไปแทนที่ OH- ในเบส
เราอาจจำแนกเกลือออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. เกลือปกติ (Normal salt) เกลือปกติเป็นเกลือที่ไม่มีไฮโดรเจนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนที่อาจถูกแทนที่ ดังนั้น จึงประกอบด้วยไอออนบวกคือโลหะ หรือกลุ่มธาตุที่เทียบเท่าโลหะ เช่น NH4+ ( แอมโมเนียมไอออน) กับไอออนลบซึ่งเป็นอนุมูลกรด (Acid radical) ตัวอย่างของเกลือปกติ เช่น NaCl K2SO4 , Ca3(PO4)2 , NH4NO3 , (NH4)2SO4 , ZnSO4 เป็นต้น
2. เกลือกรด (Acid salt) เกลือประเภทนี้มี H อะตอมอยู่ในโมเลกุลของเกลือ ซึ่งสามารถไอออไนซ์ได้ ( แตกตัวเป็นไอออนได้) เช่น NaHSO4 , NaHCO3 , Na2HPO4 , NaH2PO4 เป็นต้น
3. เกลือเบสิก (Base salt) เกลือประเภทนี้มีไอออนลบ OH- และไอออนบวก เช่น Pb(OH)Cl, Bi(OH)2Cl เป็นต้น
4. เกลือสองเชิง (Double salt) เกิดจากเกลือปกติสองชนิดรวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ เช่น K2SO4 , Al(SO4)3.24H2O เป็นต้น
5. เกลือเชิงซ้อน (Complex salt) ประกอบด้วยไอออนลบที่ไอออนเชิงซ้อน เช่น K3Fe(CN)6 เป็นต้น
กลับไปที่เนื้อหา
การเรียกชื่อเกลือ
1. ให้อ่านโลหะแล้วตามด้วยอนุมูลกรด เช่น
NaCl = โซเดียมคลอไรด์
KI = โพแทศเซียมไอโอไดด์
MgS = แมกนีเซียมซัลไฟด์
ถ้าอนุมูลกรดมาจากกรดที่ลงท้ายด้วย ous ต้องเปลี่ยนเป็น ite แต่ถ้าลงท้ายด้วย ic ต้องเปลี่ยนเป็น ate เช่น
Na 2CO 3 = โซเดียมคาร์บอเนต
Ca 3(PO 4) 2 = แคลเซียมฟอสเฟต
K 2SO 4 = โพแทสเซียมซัลเฟต
Na 2SO 4 = โซเดียมซัลเฟต
2. ถ้าโลหะมีเลขออกซิเดชัน ( ประจุไฟฟ้า) มากกว่า 1 ค่าให้บอกไว้ในวงเล็บหลังโลหะนั้น แล้วอ่านตามด้วยอนุมูลกรด เช่น
Fe(NO 3) 2 = ไอร์ออน (II) ไนเตรต
Fe(NO 3) 3 = ไอร์ออน (III) ไนเตรต
SnCl 2 = ทิน (II) คลอไรด์
SnCl 4 = ทิน (IV) คลอไรด์
กลับไปที่เนื้อหา
ประโยชน์ของเกลือ
เกลือหลายชนิดมีประโยชน์มากทั้งในชีวิตประจำวัน และในอุตสาหกรรม ดังแสดงในตารางที่ 1
ตาราง แสดงสูตร ชื่อทางเคมี ชื่อทางการค้า และประโยชน์ของเกลือ
สูตร |
ชื่อทางเคมี |
ชื่อทางการค้า |
ประโยชน์ |
NaCl |
โซเดียมคลอไรด์ |
เกลือแกง |
1. ใช้ปรุง 2. อาหาร และ ถนอมอาหาร 3. ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตโซดาไฟ และโซดาแอช |
KCl KNO 3 NH 4NO 3 |
โพแทสเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมไนเตรต แอมโมเนียมไนเตรต |
- ดินประสิว - |
ใช้เป็นปุ๋ยเคมี |
Ca 3(PO 4) 2 |
แคลเซียมฟอสเฟต |
- |
เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน |
BaSO 4 |
แบเรียมซัลเฟต |
- |
ไม่ยอมให้รังสีเอกซ์ผ่าน ใช้ในการตรวจระบบทางเดินอาหารของคนไข้ |
NaHCO 3 CaCO 3 |
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนต |
- หินปูน |
ใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร |
Na 2SO 4 MgSO 4 MgCO 3 |
โซเดียมซัลเฟต แมกนีเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคาร์บอเนต |
- ดีเกลือ - |
ใช้เป็นยาขับถ่าย |
NH 4Cl |
แอมโมเนียมคลอไรด์ |
- |
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและขับเสมหะ |
FeSO 4 |
ไอร์ออน (II) ซัลเฟต |
- |
ใช้รักษาโรคโลหิตจาง |
KI |
โพแทสเซียมไอโอไดด์ |
- |
ใช้รักษาโรคคอพอก |
กลับไปที่เนื้อหา
วิธีการเตรียมเกลือ
1. เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
กรด + เบส ฎ เกลือ + น้ำ
เช่น H Cl (aq) + NaOH (aq) ---------> Na Cl (aq) + H 2O (l)
H 2 SO 4 (aq) + Ba(OH) 2 (aq) ---------> Ba SO 4 (s) + 2H 2O (l)
เกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส แบ่งออกได้เป็น
1.1 เกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่ ตัวอย่างเช่น
- NaCl เกิดจากกรด HCl กับเบส NaOH,
HCl (aq) + NaOH (aq) ---> NaCl (aq) + H 2O (l)
- Ca(NO 3) 2 เกิดจาก HNO 3 และ Ca(OH) 2
HNO 3 (aq) + Ca(OH) 2 (aq) ---> Ca(NO 3) 2(aq) + H 2O (l)
1.2 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น
- NaClO เกิดจาก HClO และ NaOH
HClO (aq) + NaOH (aq) ---------> NaClO (aq) + H 2O (l)
- Ba(C 2H 3O 2) 2 เกิดจาก C 2H 3O 2H และ Ba(OH) 2
C 2H 3O 2H(aq) + Ba(OH) 2(aq) ---------> Ba(C 2H 3O 2) 2(aq) + H 2O (l)
1.3 เกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น
- NH 4Cl เกิดจาก HCl กับ NH 3
HCl (aq) + NH 3 (g) --------->NH 4Cl (aq) + H 2O (l)
- Al(NO 3) 3 เกิดจาก HNO 3 (aq) และ Al(OH) 3 (aq)
HNO 3 (aq) + Al(OH) 3 (aq) ---------> Al(NO 3) 3(aq) + H 2O (l)
1.4 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เช่น
- NH 4CN เกิดจากกรด HCN กับเบส NH 3
HCN(aq) + NH 3 (g) ---------> NH 4CN (aq) + H 2O (l)
- FeCO 3 เกิดจากกรด H 2CO 3 (aq) กับเบส Fe(OH) 2 (aq)
H 2CO 3 (aq) + Fe(OH) 2 (aq) ---------> FeCO 3(aq) + H 2O (l)
2. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะกับกรด
โลหะ + กรด<--->เกลือ + ก๊าซ
โลหะ + กรด<--->เกลือ + น้ำ + ก๊าซ
เช่น Mg (s) + 2HCl (aq) <---> MgCl 2 (aq) + H 2 (g)
Zn(s) + H 2SO 4 (aq) <---> ZnSO 4 (aq) + H 2 (g)
3Cu(s) + 8HNO 3 (aq) < ---> 3Cu(NO 3) 2 (aq) + H 2O (l) + 2NO (g)
3. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะออกไซด์กับกรด
โลหะออกไซด์ + กรด<--->เกลือ + น้ำ
เช่น CaO (s) + H 2SO 4 (aq) ---------> CaSO 4 (s) + H 2O (l)
CuO (s) + H 2SO 4 (aq) --------->CuSO 4 (s) + H 2O (l)
MgO (s) + 2HCl (aq) ---------> MgCl 2 (aq) + H 2O (l)
4. เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับกรด เช่น
FeS(s) + 2HCl (aq) ---------> FeCl 2 (aq) + H 2S (g)
Na 2CO 3 (s) + H 2SO 4 (aq) ---------> Na 2SO 4 (aq) + H 2CO 3 (aq)
NaHCO 3 (s) + HCl(aq) ---------> NaCl(aq) + H 2O (l) + CO 2 (g)
BaCO 3 (s) + 2HCl (aq) ---------> BaCl 2 (aq) + H 2O (l) + CO 2 (g)
5. เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับเกลือ
NaCl (aq) + AgNO 3 (aq) ---------> AgCl(s) + NaNO 3 (aq)
BaCl 2 (aq) + Na 2SO 4 (aq) ---------> BaSO 4 (s) + 2NaCl (aq)
6. โดยการรวมตัวกันโดยตรงของโลหะกับอโลหะ
2Na(s) + Cl 2 (g) ---------> 2NaCl (aq)
Fe (s) + S (s) ---------> FeS
กลับไปที่เนื้อหา
ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส
ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างสารใดๆกับน้ำแล้วเกิดสารใหม่
ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างเกลือหรือไอออนจากเกลือกับน้ำ แล้วเกิด H3O+หรือ OH- ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส
เกลือ ( salt ) คือสารประกอบไอออนิกที่ประกอบด้วยไอออนบวกที่เกิดจากโลหะหรือเทียบเท่า โลหะ(NH4 + ) กับไอออนลบที่เกิดจากอโลหะ เมื่อนำเกลือไปละลายน้ำเกลือบางชนิดไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกลางหรือมี pH = 7 แต่เกลือบางชนิดทำปฏิกิริยากับน้ำหรือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ H3O+หรือ OH- เกิดขึ้น ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดหรือเป็นเบส ถ้าแบ่งประเภทของเกลือโดยอาศัยปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งเกลือออกเป็น 4 ประเภท คือ
- เกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
ตัวอย่างเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่ เช่น NaCl KNO3 RbBr NaI NaClO4 BaCl2 เป็นต้น
เบสแก่ + กรดแก่ ---> เกลือ + น้ำ |
NaOH + HCl ---> NaCl + H2O |
ตาราง แสดงการเกิดเกลือบางชนิดจากกรดแก่และเบสแก่
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส หรือไอออนจากเกลือไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังนั้น H3O+ และ OH- ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำ ( 2H2O<---->H3O+ + OH- ) ยังคงเท่าเดิม หรือมีอย่างละ 1 x 10-7 mol/dm3 สารละลายจึงมีสมบัติเป็นกลาง
- เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่
ตัวอย่างเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น CH3COONa NaCN KF Na2CO3 K2S เป็นต้น
เบสแก่ + กรดอ่อน---> เกลือ + น้ำ |
NaOH + CH3COOH ---> CH3COONa + H2O |
ตาราง แสดงการเกิดเกลือบางชนิดจากกรดอ่อนและเบสแก่
เกลือประเภทนี้เมื่อนำไปละลายน้ำ จะแตกตัวเป็นไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนลบซึ่งมาจาก ( อนุมูลกรด ) จะทำปฏิกิริยากับน้ำหรือปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสเกิด OH- ทำให้ความเข้มข้นใน OH- ในสารละลายเพิ่มขึ้น และมากกว่าความเข้มข้นของ H3O+ สารละลายจึงมีสมบัติเป็นเบสอ่อน
ตัวอย่างเช่น CH3COONa เมื่อละลายน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
( 1 ) CH3COONa(s) <-----> CH3COO-(aq) + Na+ (aq)
( 2 ) CH3COO-(aq) + H2O (l) <----->CH3COOH(aq) + OH- (aq)
สมการ ( 2 ) เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้จึงเกิดภาวะสมดุล ค่าคงที่ของสมดุลอาจเรียกตามชนิดของปฏิกิริยา(ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส) ว่า ค่าคงที่ไฮโดรลิซิส ( Kh) เนื่องจาก CH3COO- แสดงสมบัติเป็นเบสอ่อนจึงอาจเรียกค่าคงที่ของ สมดุลว่า ค่าคงที่สมบูรณ์ของเบส (Kb) ก็ได้
- เกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน
ตัวอย่างเกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น NH4Cl NH4Br NH4NO3 เป็นต้น
กรดแก่ + เบสอ่อน---> เกลือ |
HCl + NH3 ---> NH4Cl |
ตาราง แสดงการเกิดเกลือบางชนิดจากกรดแก่และเบสอ่อน
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวออกเป็นไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนบวกซึ่งมาจากเบสอ่อน จะทำปฏิกิริยากับน้ำหรือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ H3O+ จึงทำให้ความเข้มข้นของ H3O+ ในสารละลายเพิ่มขึ้น สารละลายที่ได้จึงมีสมบัติเป็นกรด
ตัวอย่างเช่น เมื่อ NH4Cl จะละลายน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
( 1 ) NH4Cl(s) ↔ NH4 +(aq) + Cl-(aq)
( 2 ) NH4 +(aq) + H2O(l)<-----> NH3(aq) + H3O+(aq)
สมการ ( 2 ) เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้จึงเกิดภาวะสมดุล ค่าคงที่ของสมดุลอาจเรียกตามชนิดของปฏิกิริยา(ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส) ว่า ค่าคงที่ไฮโดรลิซิส ( Kh) เนื่องจาก NH4 + แสดงสมบัติเป็นกรดอ่อนจึงอาจเรียกค่าคงที่ของ สมดุลว่า ค่าคงที่สมบูรณ์ของกรด (Ka) ก็ได้
- เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสอ่อน
ตัวอย่างเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสอ่อน เช่น CH3COONH4 + NH4CN NH4NO2 ( NH4) 2S เป็นต้น
กรดอ่อน + เบสอ่อน ---> เกลือ |
CH3COOH + NH3 ---> CH3COONH4+ |
ตาราง แสดงการเกิดเกลือบางชนิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำ ทั้งไอออนบวกและไอออนลบจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสแต่สารละลายจะมีสมบัติเป็น กรด,เป็นเบส หรือเป็นกลางนั้นขึ้นอยู่กับความแรงของกรดและความแรงของเบส ซึ่งพิจารณาได้จากค่า Kaและ Kb ถ้า Ka > Kb สารละลายจะมีสมบัติเป็นกรด แต่ถ้า Ka < Kb สารละลายนั้นจะมีสมบัติเป็นเบส และถ้า Ka = Kb สารละลายนั้นจะมีสมบัติเป็นกลาง
กลับไปที่เนื้อหา
การทำนาเกลือ
มีกรรมวิธีเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. นาปลง เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 1 นิ้ว ก็จะเริ่ม รื้อเกลือ โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถวๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกองๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็กๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป
2. นาเชื้อ เป็นที่สำหรับรอให้เกลือตกผลึก ใช้สำหรับเก็บน้ำทะเลเพื่อป้องกันให้นาปลง บางครั้งถ้าเกลือราคาดี อาจใช้นาเกลือทำเกลือทำเกลือเหมือนนาปลง แต่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าแรงในการหาบเกลือเก็บไว้ในฉางเนื่องจากอยู่ ไกลจากลำคลอง
3. นาตาก พื้นที่สุดท้ายที่จะที่จะได้ผลิตผลจากน้ำทะเล คือ เกลือสมุทร จะอยู่จดชายทะเล มีขนาดใหญ่มาก ตั้งระหัดเพื่อใช้วิดน้ำทะเลจากรางน้ำทะเลเข้านาตาก
ชาวนาเกลือจะเริ่มทำเกลือประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปลายฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนช่วยในการละเลงนา ปรับระดับให้เสมอกันโดยใช้ลูกกลิ้งซึ่งทำด้วยไม้ยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม ปัจจุบันนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย นาปลงแต่ละกระทงจะตองกลิ้งประมาณ 4-5 วัน การไขน้ำเข้าสู่นาปลงจะไขตอนบ่าย พื้นนาจะไม่แตกระแหง น้ำที่ไขเข้าต้องสูงกว่าพื้นนาประมาณ 4-5 นิ้ว เพื่อให้เกลืกตกผลึกช้า เม็ดเกลือจะแน่นไม่โพลงทำให้เกลือมีความเค็มสูง ในการตกผลึกของเกลือ เมื่อน้ำเข้มข้น 20-22 ดีกรีโบเม่ จะได้เกลือจืด (Calcium) มีลักษณะเหมือนทรายเม็ดใหญ่ ๆ ตกจมปนกับดิน ชาวนาจะเก็บเกลือจืด เมื่อเลิกทำนาเกลือแล้ว เมื่อความเข้มข้นสูง 25-27 ดีกรีโบเม่ เป็นระยะที่เกลือเค็มตกมากที่สุด ถ้าความเข้มข้นเกิน 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของดีเกลือ (Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ดีเกลือจะตกผลึกในช่วงกลางคืนเมื่อน้ำในนาปลงเย็น
นอกจากการทำนาเกลือนี้แล้วยังมีการทำนาเกลือพลาสติกอีกด้วย
การทำนาเกลือพลาสติก ซึ่งเป็นแนวความคิดของชาวเกาหลี เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของเกาหลีทำนาเกลือได้น้อย จึงขอมาเช่าที่เกษตรกรในตำบลพันท้ายนรสิงห์ทำนาเกลือพลาสติกซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้นายทุนชาวเกาหลีจะเป็นผู้จัดการนำส่งตลาดต่อไป
ลักษณะของนาเกลือพลาสติก
พื้นที่ในนาเกลือปูด้วยพลาสติกสีดำ โดยปูทับขึ้นไปบนคันนาด้วยเป็นการป้องกันดินพังทลายลงไปในนาเกลือการปู พลาสติกจะต้องปูให้เรียบและแน่นตึงเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปใต้พลาสติกบนคันนา จะปูด้วยผ้า แล้วทับพลาสติกอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันลื่น การปูพลาสติกช่วยทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตกผลึกจึงเร็วขึ้น ลักษณะของเม็ดเกลือมีความเล็ก
ขั้นตอนการทำนาเกลือพลาสติก
ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งดินให้เรียบแน่นและแข็งทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ ขุดร่องเพื่อฟังพลาสติก ทากาวเพื่อติดแผ่นพลาสติกและจะต้องติดไปทางเดียวกัน สูบน้ำจากทะเลเข้า นา จากนั้นรอให้เกลือตกผลึกประมาณ 5 วัน หลังจากที่เกลือตกผลึกจะใช้ไม้ดันเกลือให้เป็นแถวและลอมเกลือ ลักษณะเหมือนเจดีย์โดยใช้ช้อนเกลือลักษณะเหมือนพลั่ว
การเก็บเกลือ
การเก็บเกลือของ นาพลาสติกไม่จำเป็นต้องเปิดน้ำออกขณะรื้อเกลือ เพราะการปูพลาสติกจะไม่มีดินจึงไม่ต้องล้างเกลือเหมือนนาดิน สามารถที่จะรื้อเกลือที่ตกผลึกต่อได้เลย เมื่อทำให้เกลือเป็นลอมเกลือคล้ายเจดีย์แล้วจะใช้ช้อนเกลือตักใส่รถเข็นถ่าย เข้ายุ้งเก็บเกลือ รถเข็นและช้อนตักเกลือจะเป็นพลาสติกอย่างดีและหนา ด้ามจะทำด้วยไม้ป้องกันสนิม
กลับไปที่เนื้อหา
-
7080 เกลือ /lesson-chemistry/item/7080-2017-05-28-02-23-54เพิ่มในรายการโปรด