สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound)
ความหมายของสารประกอบอนินทรีย์
สารอนินทรีย์ หมายถึง สารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น S , O , Cl , Na , Mg , Al , และ C เป็นต้น (กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.)
สารประกอบอนินทรีย์(อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจนถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบ อินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัว ถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น
- คาร์บอนมอนอกไซด์(carbon monoxide)
- คาร์บอนไดออกไซด์(carbon dioxide)
- คาร์บอเนต(carbonate)
จะเห็นว่าสารประกอบทั้งหมดข้างบนไม่มีอะตอมของไฮโดรเจนเชื่อมต่อกับ คาร์บอนเลย ในอดีตเชื่อกันว่าสารประกอบอินทรีย์มีอยู่ในสิ่งมีชีวิติเท่านั้น แต่ปัจจุบันเราสามารถสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ได้มากมายโดยสารประกอบ เหล่านี้ไม่เคยอยู่ในสิ่งมีชีวิตเลย เช่นยา(drug) และพลาสติก(plastic) ในขณะที่สารประกอบอนินทรีย์มากมายที่มีความจำเป็นและอยู่ในสิ่งมีชีวิต(life) เช่นโซเดียมคลอไรด์(sodium chloride-common salt) ,กรดคาร์บอนิก(carbonic acid) ,สารประกอบฟอสเฟต(phosphate) ,สารประกอบเหล็ก(iron) การศึกษาสารประกอบโลหะในสิ่งมีชีวิตเรียกว่าไบโออนินทรีย์เคมี(bioinorganic chemistry) ที่มา :วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 10 ตุลาคม 2554
สารประกอบอนินทรีย์ คือ สารที่ไม่ใช่สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน โดยส่วนใหญ่ แต่จะมีธาตุที่เป็นโลหะ คือฝั่งซ้ายของตารางธาตุนั่นเอง ซึ่งธาตุโลหะนี้ จะมีลิแกนด์ เอาไว้แลกเปลี่ยนไอออน ซึ่งลิแกนด์จะมีทั้งไม่มีประจุและมีประจุ เช่น NH4+ ,NH3 ,H2O ,CO ,CO2 ,SO4, S2O3 และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งโดยส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบเชิงซ้อน ที่มีเป็นสีๆ เช่นในดอกไม้
สารอนินทรีย์ คือ สารที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิตเช่น หิน แร่ธาตุ เป็นต้น
กลับไปที่เนื้อหา
ปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์มีด้วยกัน 4 ชนิดคือ:
1. ปฏิกิริยารวมตัว(combination reaction)
ปฏิกิริยารวมตัว(อังกฤษ:Combination Reaction) หรือปฏิกิริยาการสังเคราะห์ คือปฏิกิริยาเคมีที่ตัวทำปฏิกิริยาสองตัวหรือมากกว่าเกิดปฏิกิริยาเคมีกันโดยการรวมตัวและมีพันธะทางเคมีต่อกัน (chemical bond) แล้วเกิดเป็นสารประกอบตัวใหม่ดังตัวอย่างโซเดียม ทำปฏิกิริยากับคลอรีนแล้วเกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงดังปฏิกิริยาข้างล่างนี้
2Na(s)+ Cl2 (g)→ 2NaCl(s)
2. ปฏิกิริยาแตกตัว(decomposition reaction)
ปฏิกิริยาแตกตัว(อังกฤษ:Chemical decomposition) หรือการวิเคราะห์ คือปฏิกิริยาการแตกสะลายของสารเคมีไปเป็นธาตุหรือสารประกอบที่เล็กกว่า ปฏิกิริยาประเภทนี้จะเขียนสมการเคมีได้ดังนี้
- กข → ก + ข
ตัวอย่างปฏิกิริยาทางเคมีแบบวิเคราะห์คือ ปฏิกิริยาอิเล็กโตรไลสีส(electrolysis) ของน้ำดังตัวอย่างข้างล่างนี้
- 2H2O → 2H2+ O2
สมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางเคมีอาจสามารถใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมีที่ เกิดขึ้นได้ทั้งหมด แต่ในชีวิตประจำวันปฏิกิริยาแตกสะลายมักจะเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ ความเสถียรภาพของสารประกอบเคมีจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญซึ่งได้แก่
- ความร้อน(heat)
- รังสี(radiation)
- ความชื้น(humidity)
- ความเป็นกรด(acidity)
3. ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว(single displacement reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว(อังกฤษ:single-displacement reaction) คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อธาตุเคมีตัวหนึ่งเข้าไปแทนที่ธาตุเคมีอีกตัวหนึ่งในสารประกอบใดสารประกอบหนึ่งซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ก + ขค → กค + ข
ในสมการข้างบนธาตุกทำปฏิกิริยาเคมีกับสารประกอบขคเกิดเป็นสารประกอบกคและธาตุขอธิบายว่าปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ง่ายเมื่อธาตุกมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากกว่าธาตุขบางครั้งกและขมีประจุไฟฟ้าไม่เท่ากันก็ได้ดังนั้นการทำให้สมการสมดุลจึงมีความจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมคลอไรด์(CaCl2)กับโซเดียม(Na)เกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์(NaCl)และแคลเซียม(Ca)ดังสมการนี้
CaCl2+2Na → Ca +2NaCl
เพื่อทำให้สมการสมดุลแคลเซียมคลอไรด์หนึ่งโมเลกุลจะต้องใช้โซเดียม 2 อะตอมจึงจะได้สารประกอบ โซเดียมคลอไรด์ 2 โมเลกุลและแคลเซียม 1 อะตอม
4.ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน(double displacement reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน(อังกฤษ:double displacement reaction) หรือแทนที่คู่หรือเมต้าทีสีส(metathesis) หรือปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนไอออนคือ การที่สารประกอบสองตัวแลกเปลี่ยนไอออนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบใหม่สองตัวขึ้นมาแทนที่ สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
กค + ขง → กง + ขค
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีจริงเป็นดังนี้
สารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวบางตัวอาจตกตะกอน ก๊าซที่ไม่ละลายในสารละลายนั้นหรืออาจจะเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำก็ได้ ปฏิกิริยาทำให้เป็นกลางอาจจะเป็นกรณีพิเศษสำหรับปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันคือจำนวนของกรดจะต้องเท่ากับจำนวนของด่างแล้วเกิดเป็นเกลือและน้ำขึ้นดังตัวอย่างข้างล่างนี้
กลับไปที่เนื้อหา
สารอนินทรีย์ในเซลล์สิ่งมีชีวิต
1. น้ำ (H2O) เป็นสารประกอบที่มีมากที่สุดในสิ่งมีชีวิต มีสมบัติเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งเกิดจากการยึดเหนี่ยวด้วยพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond)
สารที่มีสมบัติละลายน้ำได้ดี เรียกว่า ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และ สารที่มีสมบัติไม่ละลายน้ำ เรียกว่า ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) เช่น ไขมัน
ความสำคัญของน้ำต่อสิ่งมีชีวิต เช่น เป็นตัวทำละลาย ลำเลียงสารและนำสารต่างๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยาในเซลล์ รักษาสมดุลของกรด-เบส รักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย
2. แร่ธาตุ (minerals) มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้
- สิ่งมีชีวิตต้องการแร่ธาตุ เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของสารอินทรีย?
- แร่ธาตุที่สิ่งมีชีวิตต้องการจะต้องอยู่ในรูปของไอดดน เช่น โซเดียมไอออน(Na+) โพแทสเซียมไอออน (K+)แคลเซียมไอออน (Ca+)
- แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญ เช่น เป็นส่วนประกอบของกระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ ช่วยทำให้ของเหลวในร่างกายมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส ช่วยให้การทำงานของอวัยวะดำเนินไปตามปกติ
น้ำ เป็นสารประกอบที่พบมากในสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจะมีความสำคัญมาก นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า น้ำประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนมีสูตร H2O อะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโควาเลนท์ ซึ่งเกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน อิเล็กตรอนวงนอกของอะตอมออกซิเจนยังมีเหลืออีก 4 อิเล็กตรอน ที่ยังไม่มีพันธะโควาเลนท์ จึงทำให้อะตอมของออกซิเจนแสดงประจุลบและอะตอมของของไฮโดรเจนทั้ง 2 อะตอมแสดงประจุบวก ทำให้โมเลกุลของน้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว (polar) ดังภาพที่ 3-2 ข.
นอกจากน้ำเป็นโมเลกุล ที่มีขั้วแล้ว ยังมีสมบัติเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องที่เกิดจากการยึดเหนี่ยวด้วยพันธะ ไฮโดรเจน (hydrogen bond) ระหว่างอะตอมของออกซิเจนกับอะตอมของไฮโดรเจนของน้ำแต่ละโมเลกุล พันธะไฮโดรเจนเป็นพันธะที่ไม่แข็งแรงเท่าพันธะโควาเลนท์ แต่ก็เพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวโมเลกุลน้ำไว้ด้วยกัน จึงทำให้มีสภาพเป็นของเหลว ดังภาพที่ 3-3
สมบัติการมีขั้วของ โมเลกุลน้ำและการเกิดพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลของสารต่างๆ ได้ ทำให้สารต่างๆ ที่มีขั้วสามารถละลายน้ำได้ดี การที่น้ำแสดงทั้งประจุบวกและประจุลบอยู่ในโมเลกุลเดียวกันน้ำจึงเป็นตัว ทำลายที่ดี สำหรับโมเลกุลที่แตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น โวเดียมคลอร์ไรด์ละลายในน้ำได้ เพราะโซเดียมไอออน (Na+) เกาะกับอะตอมของออกซิเจนซึ่งเป็นขั้วลบ ส่วนคลอไรด์ไอออน (Cl-) เกาะอยู่กับอะตอมไฮโดรเจนซึ่งเป็นขั้วบวก ดังภาพที่ 3-4
สารที่สมบัติละลายน้ำได้ดีเรียกว่า ไฮดดรฟิลิก (hydrophilic) ซึ่งหมายถึง “ชอบน้ำ”และเรียกสารที่มีสมบัติที่ไม่ละลายน้ำว่า ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ซึ่งหมายถึง“ไม่ชอบน้ำ”ทั้งนี้เป็นเพราะสารเหล่านี้ไม่สามารถแตกตัว ให้ไอออนได้เหมือนโซเดียมคลอร์ไรด์ หรือเป็นโมเลกุลที่มีขั้วจึงไม่สามารถยึดติดกับโมเลกุลของน้ำได้สมบัติในการเป็นตัวทำละลายที่ดีของน้ำ ทำให้ใช้น้ำเป็นตัวลำเลียงและนำสารต่างๆ มาเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการโมเลกุลของน้ำยังสามารถแตกตัวให้ไอออนได้เป็นไฮโดรเจน (H+) และกรดไฮดรอกซิลไอออน (OH-) ทำให้เกิดการเป็นกรดและเบส น้ำยังสามารถแตกตัวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยน้ำ 1 แก้ว สามารถแตกตัวได้ไฮโดรเจนไอออนประมาณ 1015 ไอออนนอกจากนี้น้ำยังมีสมบัติเก็บความร้อนได้ดี จึงมีความจุความร้อนสูง ทำให้สามารถช่วยรักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกายได้ดี
จากภาพที่ 3-1 องค์ประกอบของร่างกายที่เป็นสารอนินทรีย์เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของสาร อินทรีย์อื่นประมาณ 1% ซึ่งในส่วนนี้มีแร่ธาตุอยู่ด้วย ที่น่าสงสัยคือแร่ธาตุมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
สิ่งมีชีวิตต้องการ ร่าตุซึ่งเป็นสารอนินทรีย์เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของสารอินทรีย์ แร่ธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพราะบางชิดเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และ โปรตีนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย และเป็นแร่ธาตุอื่นมาทำหน้าที่แทนได้ การขาดอาหารก่อให้เกิดความผิดปกติของการทำงาน เช่นกรณีพืชขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่จะมีสีเหลือง ระหว่าง เส้นใบ ที่ปลายใบและขอบใบม้วนเป็นรูปคล้ายถ้วย ดังภาพที่ 3-5
แร่ธาตุที่สิ่งมีชีวิตต้องการอยู่ในรูปของไอออน เช่น โซเดยมไอออน (Na+) โพแทสเซียมไอออน (K+) แคลเซียมไอออน (Ca²+) และไนเตรตไอออน (No3-) ซึ่งพืชนำเข้าสู่รากได้โดยไอออนเหล่านี้ ละลายอยู่ในน้ำสำหรับคนและสัตว์ แร่ธาตุมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านที่ส่วนประกอบของกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ แร่ธาตุยังช่วยทำให้ของเหลวในร่างกายมีสมบัติเป็นกรดหรือเบสตามที่ต้องการ แร่ธาตุมีเพียงเล็กน้อย เช่น ในแต่ละวันเราต้องการธาตุเหล็กประมาณ 15 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 2,000 มิลลิกรัม ธาตุไอโอดีนประมาณ0.15 มิลลิกรัม เป็นต้นดังนั้นจะเห็นได้ว่าสารอนินทรย์มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเป็นส่วน ประกอบของเซลล์ รักษาดุลยภาพของกรด-เบส ดุลยภาพของไอออน รวมทั้งช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
สารอนินทรีย์ในอุตสาหกรรม
Hybrid Nanoelectronic devices
ปัจจุบัน ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับการปลูกฟิล์มบางไฮบริดและสมบัติทาง ฟิสิกส์ของสาร อินทรีย์และสารอนินทรีย์ ทั้งนี้เพราะว่ามีศักยภาพสำหรับการประยุกต์ใช้ด้านต่างๆ ศักยภาพดังกล่าวนั้นไม่มีในสารกึ่งตัวนำแบบสารอนินทรีย์โดยทั่วไป ไม่นานนี้ได้มีการวิจัยถึงประสิทธิภาพในการเปล่งแสงของสิ่งประดิษฐ์จากฟิล์ม ของไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ซึ่งจะนำไปสู่อุตสาหกรรมจอแสดงผลแบบแบนบางแทนที่การใช้จอแสดงผลแบบผลึกเหลว (LCD) แบบเดิม (Credit Image: http://www.nano.kmitl.ac.th/images/stories/photo nanoweb/thin_films_display.jpg) |
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1.เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการวิจัย และพัฒนาสาขานาโนอิเล็กทรอนิกส์ บุคลากรที่มีความสามารถนี้ควรมีจำนวนมากพอกับจำนวนมวลวิกฤติของประเทศไทย เพื่อสามารถพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านนาโนเทคโนโลยีได้ภายในประเทศ
2.เพื่อพัฒนา เสริมสร้าง และสะสมองค์ความรู้ด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะได้สามารถพัฒนาอุปกรณ์ด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ และประยุกต์ในการใช้งานต่างๆได้
3.เพื่อการวิจัยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์สารอินทรีย์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในภาคเอกชน
บทกล่าวนำปัจจุบัน ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับการปลูกฟิล์มบางไฮบริดและสมบัติทางฟิสิกส์ของสาร อินทรีย์และสารอนินทรีย์ ทั้งนี้เพราะว่ามีศักยภาพสำหรับการประยุกต์ใช้ด้านต่างๆ ศักยภาพดังกล่าวนั้นไม่มีในสารกึ่งตัวนำแบบสารอนินทรีย์โดยทั่วไป ไม่นานนี้ได้มีการวิจัยถึงประสิทธิภาพในการเปล่งแสงของสิ่งประดิษฐ์จากฟิล์ม ของไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ซึ่งจะนำไปสู่อุตสาหกรรมจอแสดงผลแบบแบนบางแทนที่การใช้จอแสดงผลแบบผลึกเหลว (LCD) แบบเดิมนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพสำหรับทำจอสีแสดงผลแบบแบนบาง จากสิ่งประดิษฐ์เปล่งแสงไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ฟิล์มบางไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ยังแสดงถึงความสามารถในการทำเป็น ฟิล์มบางทรานซิสเตอร์ (TFTs) ซึ่งจะนำไปใช้แทนที่ฟิล์มบางทรานซิสเตอร์แบบอะมอร์ฟัสหรือโพลีซิลิกอนที่ใช้ อยู่ใน อุปกรณ์active matrix liquid crystal display (AMLCD) และสามารถนำไปสร้างเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ Solar Cell, Photodiode, Laserได้งานวิจัยสิ่งประดิษฐ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ที่มุ่งเน้น คือ
เซลแสงอาทิตย์ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ (Organic Solar Cells)ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับเซลแสงอาทิตย์ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ปัจจุบันนี้คือ 1-2% สิ่งท้าทายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพที่น่าพอใจในทาง ปฏิบัติ รวมทั้งความมีเสถียรภาพของอุปกรณ์สำหรับการประยุกต์ใช้งาน
ตัวตรวจวัดแสงจากไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์(Organic Photodetector)โฟโตดีเทคเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับแสง ได้ถูกผลิตออกมา หลายหลากชนิด การเลือกใช้โฟโตดีเทคเตอร์สำหรับประยุกต์ใช้งานใดๆนั้น ควรมีการคำนึงถึงช่วงความยาวคลื่นที่ใช้งาน ควรคำนึงถึงความเร็ว เวลาการตอบสนอง และราคา เป็นประการสำคัญ ตามลำดับการประดิษฐ์และพัฒนาตัวตรวจวัดแสง โครงสร้างโลหะ – สารกึ่งตัวนำอินทรีย์ – โลหะ (MOSM) เพื่อประยุกต์ใช้เป็นตัวรับแสงในงานด้านการสื่อสาร
โครงสร้างพื้นฐานของตัวตรวจวัดแสงโครงสร้างโลหะ – สารกึ่งตัวนำ – โลหะ เป็นช่องว่างของขั้วโลหะสองขั้วที่เป็นรอยต่อชอตต์กีแบบ back-to-back ซึ่งแสงจะถูกส่องผ่านช่องว่างระหว่างขั้วโลหะทั้งสอง เป็นการหลีกเลี่ยงการดูดกลืนแสงของขั้วโลหะ สำหรับสารกึ่งตัวนำ ชั้นที่ดูดกลืนแสง ถูกทำการปลูกผลึกบนแผ่นรองรับโดยระบบปลูกผลึกด้วยลำอิเล็กตรอนที่ความดันต่ำ ซึ่งชั้นความหนานั้นควรมากกว่าค่าความยาวของการดูดกลืนแสงของสารกึ่งตัวนำ และค่าจำนวนพาหะควรมีจำนวนน้อย
การเพิ่มชั้นของสารกึ่งตัวนำที่ช่องว่างแถบพลังงานที่กว้างกว่าเข้าไปในโครง สร้าง MOSM นี้ ที่ความหนาอยู่ระหว่าง 30-100 nm จะพบว่าสามารถลดกระแสมืดลงอย่างมากในสารกึ่งตัวนำนำที่ช่องว่างแถบพลังงาน ที่แคบกว่า สำหรับช่องว่างระหว่างขั้วโลหะในโครงสร้าง MOSM ควรมีระยะที่แคบ เพื่อช่วยในการเพิ่มความเร็วของโฟโตดีเทคเตอร์ ไดโอดเปล่งแสงไฮบริดสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์(Hybrid Organic-Inorganic Light-Emittting Devices )
ทรานซิสเตอร์ฟิล์มบางไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ (Organic Thin Film Transistors :OTFT)ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ มีความก้าวหน้าอย่างมากในการใช้ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์เป็นวัสดุ เพื่อทำอุปกรณ์ฟิล์มบางทรานซิสเตอร์ (OTFT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์กลุ่ม pentacene ซึ่งให้ผลของความคล่องตัวพาหะประมาณ 1 cm2/V-sec เทียบเท่ากับการใช้อะมอร์ฟัสซิลิกอน (amorphous Si) มีค่าแรงดันเริ่มต้นที่ต่ำ และมีอัตราของกระแส on/off เท่ากับ 106 ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ได้แสดงถึงว่ามีการพัฒนาอย่างมากด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ถึงอย่างไรก็ยังคงเหลือความท้าทายอยู่อีกมาก เช่น เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับด้านอิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนต่ำ สำหรับบัตรจำเพาะพิเศษ (identification cards) ความหนาแน่นของหน่วยความจำแบบต่ำ (low density memories) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแรงผลักดันในการนำอุปกรณ์เหล่านี้เข้า สู่การใช้งานอย่างกว้างขวาง
Organic Photovoltaic Cell |
Organic Light Emitting Diode OLED สามารถนำมาประยุกต์ใช้แทนที่ LCD ได้มีสมบัติหลายๆ อย่าง สมบัติเฉพาะในบางประการบ่งบอกว่ามีความสว่างสูง(High brightness) มากกว่าอุปกรณ์ CRT ประมาณ 1,000 เท่า และมีประสิทธิภาพสูงประมาณ 1-3% ผลงานวิจัยยังได้แสดงถึงการประยุกต์ด้านแสงสีเต็มรูปแบบทั้ง Red, Green, Blue(Full color display) และมีเสถียรภาพประมาณ 10,000 ชั่วโมง มีสิ่งท้าทายอีกมากมายที่ยังคงเหลืออยู่ก่อนที่อุปกรณ์ OLED จะถูกยอมรับ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งความสามารถที่จะสร้างเป็นอุปกรณ์เปล่งแสงแบบปรับเลือกได้ครบทุกย่าน สีในต้นทุนที่ต่ำ และผลการผลิตอุปกรณ์โครงสร้างบางมากอยู่ในการยอมรับได้ ในขณะที่อุปกรณ์เปล่งแสงสารอินทรีย์ย่านสีเขียวมีเวลาการใช้งานที่นานที เดียว แต่สีอื่นๆเช่นสีแดง, สีน้ำเงิน นั้นก็ยังคงไม่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่สูงพอ ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ Hybride Organic-Inorganic Light-Emitting Diode
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการลดลงของประสิทธิภาพ อายุการใช้งานของไดโอดเปล่งแสง งานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการเสื่อมสภาพของไดโอดเปล่งแสง เช่น การเจือสารเพื่อเพิ่มพาหะในสารอินทรีย์ การใช้ฟิล์มบางหรือพอลิเมอร์บางชนิดเพื่อมาป้องกันการเสื่อมสภาพของขั้ว ไฟฟ้า การจ่ายความต่างศักย์แบบกระแสสลับเพื่อยืดอายุการใช้งาน เป็นต้น หนึ่งในทางเลือกในการแก้ปัญหาที่พบในไดโอดเปล่งแสง คือการใช้โครงสร้างแบบ ไฮบริดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ หนึ่งในทางเลือกในการแก้ปัญหา การเสื่อมสภาพในไดโอดเปล่งแสงสารอินทรีย์ คือการนำเอาสารอนินทรีย์มาใช้ร่วมกับสารอินทรีย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงจุดเด่นของสารกึ่งตัวนำอนินทรีย์ เช่น 1. การมีจำนวนอิเล็กตรอนมาก และ สภาพคล่องของอิเล็กตรอนสูง 2. การมีเสถียรภาพทางเคมีและความร้อนที่ดี 3. การมีเสถียรภาพต่อความชื้นและออกซิเจนในอากาศ จะเห็นได้ว่าสารอนินทรีย์มีคุณสมบัติที่จะสามารถทดแทนข้อด้อยของสารอินทรีย์ ที่พบในไดโอดเปล่งแสงดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและ อายุการใช้งานของไดโอดเปล่งแสงสารอินทรีย์โดยนำชั้นสารอนินทรีย์มารวมในโครง สร้างร่วมกับชั้นสารอินทรีย์ โดยให้สารอินทรีย์ทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านโฮลเนื่องจากมีคุณสมบัติที่เกี่ยว กับโฮลที่ดี และสารอินทรีย์เป็นตัวส่งผ่านด้านอิเล็กตรอนเนื่องจากมีสมบัติเกี่ยวกับ อิเล็กตรอนที่ดี โดยไดโอดเปล่งแสงที่รวมเอาจุดเด่นของทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ นอกจากนี้การใช้สารอนินทรีย์ในโครงสร้างจะมีส่วนช่วยทำให้การเสื่อมสภาพ เนื่องจากความชื้นและออกซิเจนในอากาศที่มีผลต่อสารอินทรีย์น้อยลงเนื่องจาก เสถียรภาพของสาร อนินทรีย์ ซึ่งมีผลทำให้อายุการใช้งานของไดโอดเปล่งแสงมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย NanoCrystal InN Photodetector
|
กลับไปที่เนื้อหา
-
7104 สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) /lesson-chemistry/item/7104-inorganic-compoundเพิ่มในรายการโปรด