ของแข็ง
บทเรียนที่ 1 สมบัติของของแข็ง
สมบัติของของแข็ง
จากการศึกษาเกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารพบว่าของแข็งมีสมบัติหลายประการดังนี้
1.สารชนิดเดียวกันเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลว และแก๊ส จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารในสถานะของแข็งส่วนใหญ่มีค่าสูกว่าของเหลวและแก๊ส
2.ของแข็งมีรูปร่างแน่นอนไม่ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ มีปริมาตรคงที่ที่ความดันและอุณหภูมิคงที่ไม่สามารถไหลได้ เนื่องจากอนุภาคอยู่ชิดกันมาก การจัดเรียงอนุภาคอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน
3.ของแข็งแพร่ได้ช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับของเหลวและแก๊ส
4.ของแข็งบางชนิดเป็นตัวนำความร้อนและตัวนำไฟฟ้า บางชนิดเป็นสารกึ่งตัวนำ และบางชนิดเป็นฉนวน
5.ของแข็งบางชนิดสมารถจัดเรียงตัวเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เรียกว่าผลึกบางชนิด อาจจะมีผลึกได้หลายแบบและบางชนิดไม่สามารถเกิดผลึกได้เรียกว่าของแข็งอสัณฐาน(Amorphous solid)
การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
ของแข็งที่เกิดจากการเรียงอนุภาคอย่างเป็นระเบียบ มีรูปร่างเฉพาะตัวเรียกว่าผลึก ผลึกของของแข็งแต่ละชนิดจะมีผิวหน้าที่เรียบ ซึ่งทำมุมกันด้วยค้าที่แน่นอน เป็นลักษณะเฉพาะตัว ผลึกที่มีขนาดใหญ่ ๆ เมื่อทำให้ผลึกเล็กลงเช่นโดยการบด ส่วนเล็ก ๆ จะยังคงรักษารูปผลึกเป็นแบบเดิมอยู่ โดยทั่วไปของแข็งชนิดเดียวกันจะมีการจัดเรียงอนุภาคเป็นแบบเดียวกันไม่ว่าของแข็งนั้นจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ผลึกของของแข็งจะมีจุดหลอมเหลวคงที่ และมีช่วงอุณหภูมิของการหลอมเหลวสั้น
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 2 การเปลี่ยนสถานะของของแข็ง
การเปลี่ยนสถานะของ ของแข็ง
การหลอมเหลว (melting)
เมื่อให้ความร้อนแก่ของแข็ง อนุภาคของของแข็งจะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ทำให้อนุภาคมีการสั่นมากขึ้น และมีการถ่ายโอนพลังงาน
ให้แก่อนุภาคข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งบางอนุภาคของของแข็งมีพลังงานสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค อนุภาคของของแข็งจึงเริ่มเคลื่อนที่และอยู่ห่างกันมากขึ้น ของแข็งจึงเกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว (melting) และเรียกอุณหภูมิในขณะที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศว่า จุดหลอมเหลว (melting point)
การระเหิด (Sublimation)
การระเหิดของสารเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสารชนิดที่ไม่มีขั้วหรือมีขั้วน้อยมาก และมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเป็น
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces) อย่างอ่อน เช่น แรงลอนดอน (London forces) เมื่ออนุภาคของสารได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย จะทำให้อนุภาคของสารนั้นแยกออกจากผลึก โดยเฉพาะอนุภาคที่อยู่บริเวณผิวหน้าของผลึกจะหลุดออกและเคลื่อนที่เป็นอิสระได้ง่าย เช่น การระเหิดของไอโอดีน การระเหิดของแนฟทาลีน การะบูร เมนทอล เป็นต้น
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 3 ของแข็งอสัณฐาน
ของแข็งอสัญฐาน
ของแข็งบางประเภท เช่น แก้ว ยาง พลาสติก เป็นของแข็งที่ไม่มีรูปผลึก ของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกเรียกว่า
นี้มีการจัดเรียงอนุภาคภายในไม่เป็นระเบียบ เมื่อแตกหักจะได้ชิ้นส่วนที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือเมื่อได้รับความร้อนปริมาณมากพอจะค่อย ๆ อ่อนตัวกลายเป็นของเหลวและไหลได้ ของแข็งประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาจุดหลอมเหลวที่แน่นอนได้
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 4 การเปลี่ยนแปลงอัญรูปของกำมะถัน
การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
ธาตุต่างๆ บางชนิดในธรรมชาติจะมีการจัดเรียงตัวของอะตอมในรูปของโมเลกุลได้หลายรูปแบบ เราเรียกว่าอัญรูป (allotrope) ของธาตุเช่นกำมะถันมีโครงสร้างผลึกเป็นรอมบิก (rhombic) และมอนอคลินิก(monoclinic)การที่สารสามารถเปลี่ยนโครงสร้างจากแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งได้ภายใต้ภาวะอุณหภูมิ และความดันค่าหนึ่ง เราเรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดแทรนซิชัน (transition point)
การเปลี่ยนแปลงอัญรูปของกำมะถัน
กำมะถันมีหลายอัญรูป ได้แก่ รอมบิก (ออร์โทรอมบิก มอนอคลินิก พลาสติก) กำมะถันรอมบิก (s) มีสูตรโมเลกุลเป็น s8 ประกอบด้วยกำมะถัน 8 อะตอมต่อกันด้วยพันธะโควเวเลนต์ เป็นวง 8 เหลี่ยมรูปมงกุฎ ไม่ละลายน้ำแต่ละลายในคาร์บอนไดซัลไฟต์ หรือ โทลูอีน
เมื่อนำมาให้ความร้อนอย่างรวดเร็วจะหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 113 c แต่ถ้าให้ความร้อนอย่างช้าๆจะเกิด การเปลี่ยนแปลงเป็นกำมะถันมอนอคลินิก ที่อุณหภูมิ 96 c ซึ่งมีจุดหลอมเหลว 119 c มีสูตรโมเลกุล s เหมือนกำมะถันรอมบิก เมื่อหลอมเหลวจะกลายเป็นของเหลวสีเหลืองแต่ไหลได้ดี ถ้าให้ความร้อนต่อไป จนอุณหภูมิสูงถึง 160 c วงs จะแตกออกเป็นสายยาวมีลักษณะข้นเหนียวและมีสีเข้มข้นมีสูตรโครงสร้าง เมื่ออุณหภูมิ 2000 c วงกำมะถัน จะแตกออกหมดต่อกันเป็นสายาวหรืออาจม้วนพันกันไปมากกลายไปมากลายเป็นของเหลวสีเข้มข้นและเหนียว
ถ้าเทลงน้ำเย็นทันทีเพื่อให้เย็นลงอย่างรวดเร็วจะได้กำมะถันพลาสติกซึ่งประกอบด้วยสายโซ่กำมะถันขดเป็นเกลียวแบบก้นหอยแต่ไม่เสถียร มีลักษณะเป็นก้อนแข็งเหนียวไม่ละลายในตัวทำละลายในตัวทำละลายทุกชนิด หลังจากนั้นกำมะถันพลาสติกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นกำมะถันรอมบิกที่อุณหภูมิห้อง แต่ถ้าไม่เทกำมะถันลงในน้ำเย็นโดยให้ความร้อนต่อไปกำมะถันเหลวจะมีความเหนียวลดลงเพราะสายกำมะถันมีขนาดสั้นลงจนถึงอุณหภูมิ 444.6 c จึงเดือดกลายเป็นไอสีน้ำตาลไปของกำมะถันจะประกอบด้วยโมเลกุลของ s8 ,s4 , s2 ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ลักษณะผลึกของกำมะถัน กำมะถันรอมบิกจะเป็นผลึกรูปเหลี่ยมสีเหลือง ส่วนกำมะถันมอนอคลินิกมีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็ม
อัญรูปของฟอสฟอรัสที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ ฟอสฟอรัสขาว,แดง และดำ
ฟอสฟอรัสขาวมีลักษณะนิ่มคล้ายขี้ผึ่งสีขาวมีสูตรโมเลกุลเป็น P4 รูปร่างเป็นทรงสีหน้าแต่ไม่มีอะตอมกลางมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลอย่างอ่อนทำให้มีจุดหลอมเหลวต่ำและระเหยง่ายแม้ที่อุณหภูมิห้องมีความเป็นพิษสูง และถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศได้ง่าย แล้วกลายเป็นสีขาวขุ่น แต่ถ้าเก็บไว้ในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อยและไม่โดนแสงจะไม่ขุ่น โดยทั่วไปจะไปเก็บรักษาโดยการจุ่มไว้ในน้ำ สามารถลุกติดไฟได้เองที่อุณหภูมิห้องที่สูง 40 - 45 c แล้วเกิดสารประกอบออกไวด์ขึ้น ไม่ละลายน้ำแต่ละลายใน CS2,C6H6หรือตัวทำละลายอินทรีย์
ฟอสฟอรัสแดงคือ พอลิเมอร์ของฟอสฟอรัสขาว เกิดจากการนำฟอสฟอรัสขาวมาเผาหรือทิ้งไว้นานๆเป็นผงสีแดงแก่ ไม่ละลายใน CS2หรือตัวทำละลายอินทรีย์ใดๆไม่ระเหย ไม่เป็นพิษและไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาไม่สามรถลุกไหม้ได้เองที่อุณหภูมิต่ำกว่า 240 c สามารถระเหิดได้ที่อุณหภูมิประมาณ 420 c มีโครงสร้างแบบโครงตาข่าย ใช้ทำผิวกล่องไม้ขีดไฟ
ฟอสฟอรัสดำ มีโครงร้างและสมบัติคล้ายแกรไฟต์ คือ เป็นของแข็งสีเทาแก่มีเงาโลหะเป็นแผ่นสามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ โครงสร้างเป็นแผ่นๆ คล้ายแกรไฟต์ อะตอมของฟอสฟอรัสในชั้นเดียวกันต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ แต่ชั้นของฟอสฟอรัสดำไม่แบนราบแต่มีการหยักขึ้นลง ฟอสฟอรัสดำเป็นอัญรูปที่เสถียรที่สุดของฟอสฟอรัส การเตรียมฟอสฟอรัสดำทำได้โดยนำฟอสฟอรัสขาวมาให้ความร้อนโดยใช้อุณหภูมิและสูง ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 450 C หรือทิ้งไว้นานๆ สามารถเปลี่ยนเป็นฟอสฟอรัสแดงซึ่งเป็นรูปอัญรูปที่เสถียรที่สุด
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 5 ชนิดของผลึก
ชนิดผลึกของ ของแข็ง
ของแข็งที่อยู่ในรูปผลึกมีลักษณะที่สำคัญคือมีการจัดเรียงอนุภาคภายในอย่างมีระเบียบในสามมิติ แต่ละอนุภาคยึดเหนี่ยวด้วยแรง
ชนิดต่าง ๆ มีโครงสร้างทางเรขาคณิตที่แน่นอน ของแข็งบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวที่ชัดเจนและคงที่ นั่นคือเมื่ออุณหภูมิถึงจุดหลอมเหลวสารประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวทันที
ถ้าใช้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคภายในผลึกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งของแข็งในรูปผลึกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ผลึกโมเลกุล (Molecular crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากโมเลกุลโคเวเลนต์
2. ผลึกโคเวเลนต์ (Network covalent crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากสารประกอบโคเวเลนต์แบบโครงผลึกร่างตาข่าย
3. ผลึกโลหะ (Metalic crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากพันธะโลหะ
4. ผลึกไอออนิก (Ionic crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากสารประกอบไอออนิก
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 6 ระบบผลึก
ระบบโครงสร้างผลึกมาตรฐาน (Crystal Structure Systems)
โลหะส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างผลึกที่ประกอบไปด้วย หน่วยเซลล์ (Unit Cell) เป็นจำนวนมาก ขนาดของแต่ละหน่วยเซลล์จะเล็กมากเช่นกัน การเกาะยึดเรียงตัวกันของหน่วยเซลล์จะต่อเนื่องกันไป ตามแนวระนาบของ แกนทั้งสามอย่างเป็นระบบ เป็นระเบียบ เป็นแบบเดียวกันโดยตลอด
เพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องระบบผลึกขอสมมุติปัจจัย ที่เกี่ยวข้องดังนี้
ให้ a,b,c เป็นระยะระหว่างอะตอมในแนวแกน x,y,z,α,β,γ เป็นมุมระหว่างแกน y-z ,z-x และ x-y ตามลำดับความยาว a , b และ c ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างอะตอม เรียกว่า สเปชแลททิช (Space Lattice ) มีหย่วยเป็น แองสตอม ( Angstom ) ( A ) 1A = 10–8มม. ค่าของ Space Lattice เรียกว่า แลททิช พารามิเตอร์ (Lattice Paramiters)
รูปแสดงแกน x,y,z ความยาวของแต่ละแกน ( a, b, c ) และมุม α,β และ γ ในหนึ่งหน่วยเซลล์
สเปชแลททิชหลายๆอันจะประกอบกันเป็น 1 หน่วยเซลล์ ในความเป็นไปได้หน่วยเซลล์สามารถมีรูปแบบต่าง ๆ กันได้มากถึง 230 แบบ โดยจะจัดอยู่ใน 7 ระบบรูปแบบ และใน 7 ระบบดังกล่าวยังอาจแบ่งออกเป็น 14 รูปแบบด้วยกัน
สเปชแลททิชของผลึกทั้ง 7 ระบบรูปแบบ มีดังนี้
1. Cubic System มีความยาวของแกนทั้ง 3 เท่ากันและทำมุมตั้งฉากซึ่งกันและกัน
a=b=c
α = β = g = 90 องศา
2. Tetragonal Systemมีความยาวแกนเท่ากัน 2 แกน แต่ละแกนทำมุม ตั้งฉากซึ่งกันและกัน
a=b≠c
α = β = g = 90 องศา
3. Orthorhombic Systemมีความยาวแกนแต่ละแกนไม่เท่ากัน แต่ทำมุมซึ่งกันและกันเป็นมุมฉาก
a≠b≠c
α = β = g = 90 องศา
4. Rhombohedral System ( Trigonal System )มีความยาวแกนทั้ง 3 เท่ากัน ทำมุมซึ่งกันและกันเท่ากัน แต่ไม่เท่ากับ
a=b=c
α = β = g ≠ 90 องศา
5. Hexagonal System ความยาวแกน 2แกนเท่ากันและอยู่ในระนาบเดียวกัน ทำมุมซึ่งกันและกัน = 120 ความยาวของแกนทั้ง 3 จะต่างออกไป และตั้งได้ฉากกันแกนในแนวระนาบทั้ง 2
a=b≠c
α = β = 90, g = 120 องศา
6. Monoclinic Systemความยาวของแกนทั้ง 3 ไม่เท่ากัน มุม เท่ากัน เท่ากับ 90 แต่จะไม่เท่ากับ
a≠b≠c
α = g = 90 องศา ≠ β
7. Triclinic System ความยาวของแต่ละแกนจะไม่เท่ากับ มุมทั้ง 3 ก็ไม่เท่ากันและไม้เท่ากับ 90
a≠b≠c
α ≠ β ≠ g ≠ 90 องศา
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 7 ของแข็งอสัณฐาน(2)
ของแข็งอสัณฐาน
ของแข็งบางประเภท เช่น แก้ว ยาง พลาสติก เป็นของแข็งที่ไม่มีรูปผลึก ของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกเรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน ของแข็งประเภทนี้มีการจัดเรียงอนุภาคภายในไม่เป็นระเบียบ เมื่อแตกหักจะได้ชิ้นส่วนที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือเมื่อได้รับความร้อนปริมาณมากพอจะค่อย ๆ อ่อนตัวกลายเป็นของเหลวและไหลได้ ของแข็งประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาจุดหลอมเหลวที่แน่นอนได้ แต่มีบางชนิด เช่น เมื่อใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะจะสามารถหาจุดหลอมเหลวได้
กลับไปที่เนื้อหา
-
7169 ของแข็ง /lesson-chemistry/item/7169-2017-06-05-13-04-00เพิ่มในรายการโปรด