แรงกับการเคลื่อนที่
ในอดีตอาริสโตเติลเชื่อว่าหากไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุวัตถุจะอยู่นิ่ง แต่หากวัตถุมีการเคลื่อนที่จะต้องมีแรงกระทำต่อวัตถุเสมอ ความหมายคือ โดยธรรมชาติแล้ววัตถุอยู่นิ่ง แนวคิดนี้ถูกหักล้างโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี (Galileo Galilei, ค.ศ. 1564-1642) ซึ่งกล่าวว่าหากไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุ วัตถุที่อยู่นิ่งจะยังคงอยู่นิ่งต่อไป แต่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ก็จะยังคงเคลื่อนที่ต่อไปด้วยแน่นอนว่า เมื่อไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่งเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลแต่ดูเหมือนว่าหากไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุที่เคลื่อนที่อยู่จะยังคงเคลื่อนที่ต่อไปเป็นสิ่งที่ค่อนข้างขัดแย้งกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันสาเหตุเนื่องจากเมื่อออกแรงผลักหนังสือให้เคลื่อนที่บนพื้นจากนั้นเมื่อหยุดผลักซึ่งก็คือไม่ได้ออกแรงกระทำต่อหนังสืออีกต่อไป แทนที่หนังสือจะยังคงเคลื่อนที่ไม่สิ้นสุดกลับช้าลงและหยุดนิ่งในที่สุดอีกทั้งหากต้องการให้หนังสือยังคงเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องออกแรงผลักอย่างต่อเนื่องด้วยสิ่งที่ดูเหมือนขัดแย้งกับคำกล่าวของกาลิเลโอนี้มาจากความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดของกาลิเลโอ ให้พิจารณาตัวอย่างการทดลองทำให้วัตถุเคลื่อนที่ในแนวราบดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1 การเคลื่อนที่ของวัตถุ
ที่มา : ดัดแปลงจาก
สมมติให้ชายคนหนึ่งออกแรงโยนลูกบอลบนพื้นหญ้าได้ระยะทาง 10 เมตร จากนั้นหากตัดหญ้าให้เรียบเมื่อออกแรงโยนด้วยขนาดเดียวกันลูกบอลจะเคลื่อนที่ได้ไกลมากกว่า 10 เมตร และเมื่อเปลี่ยนไปโยนบนพื้นน้ำแข็งหรือพื้นแก้วที่มีความเสียดทานน้อยลงแรงขนาดเดียวกันย่อมทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ไกลมากยิ่งขึ้นในที่สุดหากนำความเสียดทานออกทั้งหมดวัตถุย่อมเคลื่อนที่ต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรง แรงที่จำเป็นต้องใช้ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ต่อไปในการเคลื่อนที่รอบตัวเราจึงเป็นเพียงแรงที่ใช้เอาชนะความเสียดทาน กล่าวได้ว่า วัตถุที่เคลื่อนที่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากแรงใด ๆ เลย (รวมไปถึงแรงเสียดทาน) จะเคลื่อนที่ต่อไปในแนวตรง อย่างไม่สิ้นสุดในเวลาต่อมานิวตันได้นำแนวคิดนี้มาศึกษาและสร้างเป็นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ที่กล่าวว่าวัตถุจะยังคงอยู่ในสภาวะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัวในแนวตรง หากไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุคำกล่าวตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตันมีความหมายว่า – หากไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว สาเหตุเนื่องจากคำว่า ความเร็วคงตัว หมายถึงขนาดและทิศของความเร็วไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คืออัตราเร็ว (ขนาด) คงตัว และเคลื่อนที่ในแนวตรงนั่นเอง – ในมุมมองที่ไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุ สภาวะที่วัตถุหยุดนิ่งกับสภาวะที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว: เป็นสภาวะที่เทียบเท่ากันอย่างสมบูรณ์ โดยพื้นฐานแล้ว วัตถุพยายามรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมไว้ กาลิเลโอเรียกความพยายามของวัตถุเช่นนี้ว่า ความเฉื่อย (inertia) ดังนั้นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตันจึงอาจเรียกชื่อได้อีกอย่าง หนึ่งว่า กฎของความเฉื่อย (law of inertia)
ความเฉื่อยและมวล
ความเฉื่อยที่กล่าวถึงในกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน แสดงถึงความพยายามต้านการ เปลี่ยนสภาวะการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยวัตถุที่มีความเฉื่อยมาก ย่อมสามารถด้านการเปลี่ยนสภาวะ การเคลื่อนที่ได้มากทำให้เมื่อต้องการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุจะต้องใช้แรงมากด้วย ในทางตรงกันข้ามวัตถุที่มีความเฉื่อยน้อยย่อมใช้แรงน้อยหากต้องการเปลี่ยนสภาวะการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างรถบรรทุกกับรถจักรยานที่จอดอยู่นิ่งจะต้องใช้แรงกระทำต่อรถบรรทุกมากกว่าแรงที่กระทำต่อรถจักรยานเพื่อทำให้รถทั้ง 2 คันเคลื่อนที่ความเฉื่อยของรถบรรทุกจึงมากกว่าความเฉื่อยของรถจักรยาน นิวตันกำหนดให้วัดปริมาณความเฉื่อยด้วยสิ่งที่เรียกว่า มวล (mass) และแทนด้วย m ดังนั้นนิยามของความเฉื่อยและมวลจึงสรุปได้ดังนี้
ความเฉื่อยเป็นแนวโน้มตามธรรมชาติของวัตถุที่จะรักษาสภาพหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวไว้ โดยมวลของวัตถุเป็นการวัดความเฉื่อยในเชิงปริมาณ
ในระบบเอสไอ มวลและความเฉื่อยอยู่ในหน่วยกิโลกรัม (kg) และบ่อยครั้งมักมีการใช้คำว่า มวลกับน้ำหนักแทนกันหรือสลับกันซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากปริมาณทั้งสองมาจากหลักการที่แตกต่างกัน ความเฉื่อยเป็นหลักการพื้นฐานในการทำงานของเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ ในขณะขับรถยนต์ คนขับกับรถยนต์จะเคลื่อนที่ไปด้วยกันด้วยอัตราเร็วค่าหนึ่ง เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีแรงภายนอกทำให้ รถยนต์เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่เป็นช้าลงและหยุดนิ่ง แต่ความเฉื่อยของคนขับจะยังคงทำให้คนขับเคลื่อนที่ต่อไปทำให้อาจได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกกับพวงมาลัยหรือแผงด้านหน้ารถยนต์รวมไปถึงอันตรายจากการหลุดออกจากรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยจึงถูกออกแบบมาเพื่อยืดคนขับไว้กับที่นั่ง ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้กลไกของเข็มขัดนิรภัยประกอบด้วยจุดหมุน ได้ล้อเฟื่องที่มีเข็มขัดพันอยู่ที่แกนล้อ ล้อเฟื่องแท่งล็อก และลูกตุ้มซึ่งหมุนรอบจุดแกว่งหมุนได้ในขณะที่รถยนต์หยุดนิ่งทิศการเคลื่อนที่ของรถยนต์หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ลูกตุ้มจะแขวนรอบจุดหมุนในแนวดิ่งทำให้แท่งล็อกวางตัวอยู่ในแนวราบ
แหล่งที่มา
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1 . กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
ทยาวัต หารธงชัย. (มมป.). แรงและกฎการเคลื่อนที่. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/tayawatweb/
dek-d. (2550). กฎของนิวตัน. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562, จาก https://writer.dek-d.com/Chart786/writer/view.php?id=256275
ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (มมป.). เข็มขัดนิรภัย. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562, จาก http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/4/safty-belt/safty-belt1.htm
กลับไปที่เนื้อหา
ประเภทของแรงระหว่างวัตถุ
เมื่อวัตถุสัมผัสกันจะมีแรงกระทำระหว่างวัตถุที่ผิวสัมผัส ในหัวข้อที่ผ่านมาเป็นการศึกษา ส่วนประกอบของแรงนี้ในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัสที่เรียกว่าแรงตั้งฉากสำหรับในหัวข้อนี้จะศึกษาส่วนประกอบของแรงในแนวขนานกับผิวสัมผัส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่หรือพยายามเคลื่อนที่ตาม แนวผิวสัมผัส ส่วนประกอบของแรงเช่นนี้เรียกว่า แรงเสียดทาน และเรียกสาวะที่เกิดขึ้นว่า ผิวมีความเสียดทาน (Triction)
ความเสียดทานเกิดขึ้นได้เสมอ บ่อยครั้งวิศวกรมักพยายามลดความเสียดทาน เช่น การใช้น้ำมันหล่อลื่นระหว่างลูกสูบกับผนังกระบอกสูบในเครื่องยนต์ หรือการใช้ลูกกลิ้งที่ขาเก้าอี้ เป็นต้น อย่างไรก็ดีมีหลายเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้แรงเสียดทาน เช่น รถยนต์เคลื่อนที่ได้จากแรงเสียดทานระหว่างผิวของยางรถยนต์กับพื้นถนนในกรณีที่มีน้ำอยู่ระหว่างผิวยางกับพื้นถนนความเสียดทานจะลดลงวิศวกรจึงออกแบบให้มีดอกยางเพื่อรวมน้ำไว้ในร่องของดอกยาง จากนั้นเบี่ยงให้น้ำออกจากผิวสัมผัสยางรถยนต์ก็จะไม่ไกลแรงเสียดทานเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและเคลื่อนที่บนผิวที่สัมผัสอยู่เมื่อมีแรง F กระทำต่อวัตถุในทิศชี้ทางขวามือแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่แสดงว่าแรง F พยายามดึงวัตถุให้เคลื่อนที่ไปทางขวามือแต่มีแรงเสียดทาน f จากพื้นกระทำต่อวัตถุในทิศชี้ทางซ้ายมือ หากเปลี่ยนทิศของแรง F ไปทางซ้ายมือดังภาพ 1 (ข)
ภาพที่ 1 แรงเสียดทาน
ที่มา : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/65012/-sciphy-sci-
ภาพที่ 2 ทิศทางของแรงเสียดทาน
ที่มา : กัญญา เกื้อกูล
แรงเสียดทานบนวัตถุจะเปลี่ยนไปอยู่ในทิศชี้ทางขวามือจะเห็นได้ว่าในกรณีที่วัตถุไม่เคลื่อนที่แรงเสียดทานบนวัตถุมีทิศที่ขัดขวางไม่ให้วัตถุเริ่มเคลื่อนที่หรือไกลบนผิวที่สัมผัสอยู่ในกรณีที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสไปทางขวามือดังภาพ 2 (ค)
แรงเสียดทานจากพื้นที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศชี้ทางซ้ายมือเพื่อพยายามหยุดการเคลื่อนที่ของวัตถุบนผิวสัมผัสในทำนองเดียวกันเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือแรงเสียดทานบนวัตถุจะมีทิศชี้ทางขวามือดังภาพ 2 (ง) สรุปได้ว่า ในกรณีที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ทิศของแรงเสียดทานจะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุบนผิวสัมผัส
สำหรับขนาดของแรงเสียดทานสามารถใช้ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันพิจารณาร่วมกับภาพ 2 ได้ในตอนเริ่มต้นวัตถุในภาพ 2 (ก) อยู่นิ่งบนพื้นหากไม่มีแรงใดพยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่ย่อมไม่มีแรงเสียดทานที่พื้นกระทำต่อวัตถุ จากนั้นเมื่อมีแรง F กระทำต่อวัตถุ หากแรง F มีขนาดไม่มากประสบการณ์บอกเราว่าวัตถุจะไม่เคลื่อนที่แสดงว่าต้องมีแรงเสียดทานจากพื้นกระทำต่อวัตถุในทิศตรงกันข้ามกับแรง F อีกทั้งยังต้องมีขนาดเท่ากับแรง F ด้วย กล่าวคือ f = F ทั้งนี้ เพื่อให้แรงทั้งสองหักล้างกันหรือแรงลัพธ์บนวัตถุเท่ากับศูนย์นั่นเอง (F = 0)
ภาพที่ 3 ขนาดของแรงเสียดทาน
ที่มา : กัญญา เกื้อกูล
จากนั้นเมื่อเพิ่มแรง F ให้มากขึ้นอีก แต่วัตถุยังคงไม่เคลื่อนที่ดังภาพ 3 (ข) (สังเกตความยาวของลูกศร F ที่มากขึ้น) แสดงว่าแรงเสียดทานต้องมีขนาดเพิ่มขึ้นด้วยและยังคงเท่ากับขนาดของแรง F เพื่อทำให้แรงลัพธ์บนวัตถุยังคงเท่ากับศูนย์ เรียกความเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุไม่มีการเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสว่าความเสียดทานสถิต (static triction) และเรียกแรงเสียดทานในขณะนั้นว่า แรงเสียดทานสถิต (static frictional force) อย่างไรก็ดี เมื่อเพิ่มแรง F มากขึ้นเรื่อย ๆ จะถึงจุดที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ดังภาพ 3 (ค) ที่ จุดนี้แรงเสียดทานจะมีค่ามากที่สุดโดยเรียกว่า แรงเสียดทานสถิตมากที่สุด ซึ่งให้แทนด้วย Fs (ตัวห้อย s มาจากคำว่า static) ขนาดของแรงเสียดทานมากที่สุดขึ้นอยู่กับปัจจัยสองอย่าง ปัจจัยแรกคือประเภทของวัสดุ ระหว่างผิวสัมผัส เช่น ไม้สัมผัสกับยาง เป็นต้น ปัจจัยนี้สามารถหาได้จากการทดลอง โดยแทนได้ ด้วย µ (µ เป็นอักษรกรีกอ่านว่า มิว) ซึ่งเรียกว่า สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต (coefficient of static triction)
ปัจจัยที่สองขึ้นอยู่กับว่าผิวถูกกดเข้าหากันมากน้อยเพียงใด สำหรับผิวสัมผัสที่ทำจากวัสดุคู่หนึ่ง เมื่อผิวสัมผัสถูกกดเข้าหากันมากย่อมทำให้เกิดแรงเสียดทานสถิตมากที่สุดมากกว่ากรณีที่ถูกกดน้อย และเนื่องจากขนาดของแรงตั้งฉาก FN แสดงถึงผิวสัมผัสที่ถูกกดมากหรือน้อย ดังนั้นขนาดของแรงเสียดทานสถิตมากที่สุดจึงขึ้นอยู่กับขนาดของแรงตั้งฉากที่ผิวสัมผัสเดียวกัน
จากที่กล่าวมาจะเขียนความสัมพันธ์ของขนาดแรงเสียดทานสถิตมากที่สุดได้ดังนี้
Fs = µsFN…………………………(1)
ข้อควรสังเกตคือ สมการ 1 ไม่ใช่กฎพื้นฐาน แต่เป็นเพียงความสัมพันธ์ที่ได้จากการทดลองระหว่างขนาดของแรงเสียดทานสถิตมากที่สุดซึ่งอยู่ในแนวขนานกับผิวสัมผัสกับขนาดของแรงตั้งฉากซึ่งอยู่ในทิศตั้งฉากกับผิวสัมผัส สมการนี้จึงไม่ใช่สมการเวกเตอร์
ย้อนกลับไปยังภาพ 2 (ค) เมื่อเพิ่มขนาดของแรง Fk ให้มากกว่าขนาดของแรง Fs เพียง เล็กน้อยวัตถุจะเริ่มเลื่อนหรือเคลื่อนที่บนผิวของอีกวัตถุหนึ่งดังภาพ 2 (ง) และจากประสบการณ์ อีกเช่นกันพบว่าแรงเสียดทานในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ลดลงจากแรงเสียดทานสถิตมากที่สุด เรียกแรงเสียดทานในขณะนี้ว่า แรงเสียดทานจลน์ (kinetic frictional force) และเรียกประเภทของความเสียดทานนี้ว่า ความเสียดทานจลน์ (kinetic friction)
การแรงเสียดทานจลน์แทนได้ด้วย Fk (ตัวห้อย k มาจากคําว่า kinetic) โดยยังคงขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุระหว่างผิวสัมผัสกับขนาดของแรงตั้งฉากที่ผิวสัมผัสอย่างไรก็ดี สภาวะของผิวสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สัมประสิทธิ์ความเสียดทานในขณะนั้นน้อยกว่า, เรียกสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน เช่นนี้ว่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ (coeficient of kinetic friction) และแทนด้วย µk ดังนั้น
Fk = µkFN …………………………... (2)
โดยทั่วไปแล้วแรงเสียดทานจลน์ตามสมการ 2 สามารถประมาณให้มีค่าคงตัวได้โดย µk มักมีค่าน้อยกว่า แต่หากไม่ได้กำหนดอย่างเจาะจงแล้วสามารถประมาณ ให้ µk= µs ได้ สาเหตุที่ความเสียดทานสถิตมากกว่าความเสียดทานจลน์ เนื่องจากผิวสัมผัสที่ดูภายนอกเรียบแต่แท้จริงแล้วในระดับจุลทรรศน์จะมีความขรุขระ เมื่อผิวสัมผัสอยู่ในสภาวะสถิต ส่วนที่ยื่นกับส่วนที่ยุบระหว่างผิวสัมผัสสามารถสอดเข้าหากันได้ลึกก่อให้เกิดการเกี่ยวตัวกันอย่างแข็งแรง ซึ่งอาจรวมถึงการเกิดพันธะระหว่างโมเลกุลด้วย แต่เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผิวสัมผัสจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันทำให้ส่วนที่ยื่นของผิวสัมผัสกระทบกัน ซึ่งทำให้เกิดความเสียดทานน้อยกว่า
แหล่งที่มา
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1 . กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
Plook Creator. (2561). แรงเสียดทาน. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/65012/-sciphy-sci-
กลับไปที่เนื้อหา
กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมกับการชน
การชนของวัตถุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เสมอในชีวิตประจำวัน การชนเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบในชีวิตประจำวัน ในวัตถุที่มีขนาดใหญ่จะพบและสังเกตได้ง่าย เช่น รถชนกันการเตะลูกบอล และการตอกตะปูในระดับอะตอมการชนมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป อะตอมมักไม่ได้สัมผัสกันโดยตรง แต่แรงที่อะตอมกระทำต่อกันมีค่ามากและกระทำในช่วงเวลาสั้น ๆ จนทำให้ระบุสภาวะก่อนชนกับหลังชนได้อย่างชัดเจนรูปแบบเช่นนี้สามารถกำหนดให้เกิดการชนได้เช่นเดียวกัน โดยพื้นฐานแล้วการชนเป็นการกระทำระหว่างวัตถุที่แรงในการชนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ และมีขนาดใหญ่การชนส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบว่าแรงเปลี่ยนตามเวลาอย่างไร ทำให้วิเคราะห์การชนโดยตรง ด้วยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตันได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่หากใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมกับระบบที่ประกอบด้วยวัตถุที่ชนกันแล้วจะสามารถวิเคราะห์การชนได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของแรง ที่เกิดขึ้น ในหัวข้อนี้จึงจะศึกษาการใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมกับการชน ซึ่งใช้แนวคิดเดียวกันกับหัวข้อที่ผ่านมาแต่จะมีบางสิ่งเพิ่มเติมคือการพิจารณาพลังงานในการชน ซึ่งจะใช้ระบุประเภทของการชนด้วย
หากวัตถุชนกันบนพื้น แรงตั้งฉากจากพื้นจะรองรับน้ำหนักของวัตถุไว้ แต่หากไม่มีพื้นรองรับน้ำหนักของวัตถุรวมไปถึงแรงเสียดทานและแรงภายนอกอื่น ๆ ก็ยังคงมีค่าน้อยจนทิ้งได้เมื่อเทียบกับแรงที่เกิดระหว่างวัตถุที่ชนกันในเวลาสั้น ๆ กล่าวอีกนัยได้ว่าหากแรงลัพธ์จากภายนอกมีค่าน้อยกว่าแรงภายในระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการชนมากแล้ว การเปลี่ยนโมเมนตัมของระบบน้อยมากเมื่อเทียบกับการถ่ายโอนโมเมนตัมของวัตถุภายในระบบ ดังนั้นจึงประมาณได้ว่า การชนมีการอนุรักษ์โมเมนตัมนั่นคือ โมเมนตัมรวมก่อนชน = โมเมนตัมรวมหลังชน
นอกเหนือจากการใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเป็นหลักในการวิเคราะห์การชนแล้วในหัวข้อนี้ยังจะ พิจารณาพลังงานในระหว่างการชนด้วย โดยจะใช้หลักเกณฑ์ด้านพลังงานนี้จำแนกประเภทของการชนให้ศึกษา ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการตีลูกเทนนิสในภาพ
ภาพการตีลูกเทนนิส
ที่มา : https://pixabay.com , TonnyNijkrake
ในมุมมองด้านพลังงานก่อนที่ลูกเทนนิสจะถูกตีไม้และลูกเทนนิสจะมีพลังงานจลน์รวมกันค่าหนึ่ง จากนั้นในระหว่างที่ไม้และลูกเทนนิสสัมผัสกันพลังงานจลน์ส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนรูปของเอ็นซึ่งหน้าไม้และลูกเทนนิสดังแสดงในภาพ หากภายหลังการชนไม้และลูกเทนนิสสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนกับก่อนที่จะเกิดการชนได้พลังงานศักย์ยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานเกิดขึ้นในระหว่างที่สัมผัสกันย่อมเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานจลน์ทั้งหมดในการตีลูกเทนนิส เรียกการชนเช่นนี้ว่า การชนแบบยืดหยุ่น (elastic collision) ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความได้ว่า
การชนแบบยืดหยุ่นเป็นการชนที่พลังงานจลน์รวมของระบบก่อนชนเท่ากับพลังงานจลน์รวมของระบบหลังชน
นั้นคือ
พลังงานจลน์รวมก่อนชน =พลังงานจลน์รวมหลังชน (การชนแบบยืดหยุ่น)
คำอธิบายที่ผ่านมามีความหมายว่า หากโจทย์กำหนดให้เป็นการชนแบบยืดหยุ่นหรือพิสูจน์ได้ว่า เป็นการชนแบบยืดหยุ่นแล้ว จะสามารถใช้สมการพลังงานจลน์รวมคงตัวร่วมกับสมการกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมได้
ตัวอย่างการชนแบบยืดหยุ่น เช่น การชนของวัตถุที่มีสปริงติดอยู่ระหว่างวัตถุดังภาพ 2 (ก) เมื่อวัตถุชนกันสปริงจะถูกกดชั่วขณะ โดยมีพลังงานจลน์บางส่วนเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่นในสปริง จากนั้นเมื่อวัตถุแยกออกจากกัน สปริงจะขยายตัวทำให้พลังงานศักย์ยืดหยุ่นเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานจลน์อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปการชนของวัตถุขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนรูปเสมอ ทำให้มักไม่เป็นการชนแบบยืดหยุ่น แต่การชนของลูกเหล็กหรือลูกบิลเลียดในภาพ 2 (ข) อาจจะประมาณเป็นการชนแบบยืดหยุ่นได้ สาเหตุเนื่องจากภายหลังชนกันวัตถุมีการเปลี่ยนรูปน้อยมาก แต่สำหรับการชนในระดับอะตอมมักเป็นการชนแบบยืดหยุ่น เนื่องจากอะตอมไม่มีการสัมผัสกันโดยตรง ทำให้พลังงานจลน์รวมของระบบค่อนข้างคงตัว แม้ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือพลังงานในอะตอมบ้างก็ตาม
การชนแบบยืดหยุ่นเป็นเพียงการชนประเภทหนึ่งเท่านั้น ยังมีการชนอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งภายหลังการชน วัตถุไม่สามารถคืนรูปกลับสู่สภาพเดิมได้หรือมีความร้อนเกิดขึ้น รวมไปถึงมีการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของระบบ ไปเป็นพลังงานรูปอื่นๆ ในกรณีเช่นนี้พลังงานจลน์รวมของระบบจะไม่คงเดิม เรียกการชนนี้ว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่น (inelastic collision) การชนโดยส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันเป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เช่น การชนกันของรถยนต์ซึ่งสังเกต ได้จากตัวถังรถยนต์ที่เปลี่ยนไป เป็นต้น การชนแบบไม่ยืดหยุ่นสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรก เป็นการชนที่พลังงานศักย์ยืดหยุ่นเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานจลน์บ้างแต่ไม่ทั้งหมด เช่น การชนของรถยนต์ที่กระดอนออกจากกันคนละทิศทาง ในกรณีนี้รถจะคืนตัวเป็นบางส่วนแต่ไม่สามารถคืนรูปเดิมได้ทั้งหมด ใน กรณีที่สองภายหลังชนกันแล้วพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานจลน์น้อยมาก หรืออาจไม่มีการ เปลี่ยนรูปกลับไปเป็นพลังงานจลน์เลย ในกรณีนี้พลังงานจลน์ของระบบจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เช่น รถที่ชนกัน แล้วเคลื่อนที่ติดกันไปเป็นวัตถุเดียวกัน เป็นต้น เรียกการชนแบบไม่ยืดหยุ่นเช่นนี้ว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่น สมบูรณ์ (completely inelastic collision) โดยสามารถให้คำจำกัดความได้ว่าการชนแบบไม่ยืดหยุ่นเป็นการชนที่พลังงานจลน์รวมของระบบก่อนชนไม่เท่ากับพลังงานจลน์รวมของระบบหลังชน โดยหากหลังชนวัตถุเคลื่อนที่ติดกันไปจะเรียกว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์
แหล่งที่มา
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1 . กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
บางเบา ธีม. (2559). กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562. จาก http://physicmomentum5.blogspot.com/2016/08/blog-post_95.html
Madame_Butterfly. (2559). เทคนิคการจับไม้เทนนิสและตีลูก. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562. จาก
https://www.central.co.th/e-shopping/how-to-grip-a-tennis-racket/
กลับไปที่เนื้อหา
-
10315 แรงกับการเคลื่อนที่ /lesson-physics/item/10315-2019-05-13-05-48-42เพิ่มในรายการโปรด