การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ (Projectile Motion)
ประวัติการศึกษาการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์
กาลิเลโอ เป็นคนแรกที่อธิบายการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ได้อย่างละเอียด เขาได้อธิบายว่าถ้าจะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบโปรเจกไทด์ได้อย่างละเอียดนั้น ต้องแยกศึกษาส่วนประกอบในแนวราบ และ ในแนวดิ่งอย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน
ในสมัยกรีกโบราณเชื่อตามทฤษฎีของอริสโตเติลที่ว่า ถ้ายิงวัตถุจากปืนใหญ่ (ดังรูป) วัตถุจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามแนวที่ยิง และวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ให้จนกระทั่งความเร็วนั้นค่อย ๆ ลดลง จนเป็นศูนย์ แล้ววัตถุจะตกลงมาอย่างรวดเร็วที่ตำแหน่งนั้น
ต่อมาจากการสังเกตอย่างละเอียดของ Niccolo Tartaglia พบว่าอันที่จริงแล้วการเคลื่อนที่ แบบโปรเจกไทล์นั้น แนวการเคลื่อนที่เป็นรูปโค้ง ในขณะนั้นไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะอะไร ต่อมากาลิเลโอ ได้อธิบายว่า การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ ที่ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ในสองแนวไม่ใช่แนวเดียว โดยในแนวดิ่งจะมีแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ลง ด้วยความเร่ง และในเวลาเดียวกับที่วัตถุถูกดึงลง โปรเจกไทล์ก็ยังคงเคลื่อนที่ตรงในแนวราบด้วย (หลักความเฉื่อยของกาลิเลโอ Galilao's pricipal Inertia ) เขาแสดงให้เห็นว่า โปรเจกไทล์นั้นได้ จะประกอบด้วยการเคลื่อนที่ 2 แนว พร้อม ๆกัน โดยในแต่ละแนวนั้นจะเคลื่อนที่อย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน และยังพบว่าเส้นทางการเคลื่อนที่ของโปรเจกไทล์จะเป็นรูปเรขาคณิต ที่เรียกว่า "พาราโบลา"
เรียบเรียงจาก : Physics online
Niccolò Fontana Tartaglia (1499/1500, Brescia, Italy) นักคณิตศาสตร์, วิศวกร และนักสำรวจชาวอิตาลี เขาเป็นคนแรกที่อธิบายการเคลื่อนที่ของลูกบอลหรือวัตถุด้วยคณิตศาสตร์ ซึ่งต่อมากาลิเลโอ ได้นำแนวคิดของเขาไปศึกษาการตกอย่างอิสระของวัตถุ
ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญาชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่" "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์" และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki
-
7215 การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ (Projectile Motion) /lesson-physics/item/7215-projectile-motionเพิ่มในรายการโปรด