กว่าจะถึงเบียร์ก้นแก้ว
ความคิดผ่านไปแค่ชั่ววูบ… กว่าผมจะรู้สึกตัวเบียร์ในแก้วก็ใกล้จะหมดเต็มที เหลือเพียงแค่เบียร์ที่ติดก้นแก้ว ที่ทั้งขม ฝาด และขื่นคอ ทั้งๆ ที่เป็นเบียร์แก้วเดียวกันกับที่ดื่มได้ลื่นคอเมื่อครู่… ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคงจะทิ้งมันไว้เช่นนั้นอย่างไม่ใยดี แต่เมื่อได้มาเห็นถึงกระบวนการผลิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่โรงงานนับร้อยคน ที่ตั้งใจผลิต “สินค้าคุณภาพ” ให้ผมได้บริโภคแล้ว เบียร์ก้นแก้วก็หายเข้าไปในลำคอของผมอย่างรวดเร็วก่อนที่ลิ้นจะรับรู้รสใดๆ….
ให้อยู่ในรูปน้ำตาลเข้มข้นโดยอาศัยการบด และการต้ม เพื่อให้เอ็นไซม์ทำงานได้เต็มที่ จากนั้นจึงนำของเหลวที่ได้จากการเปลี่ยนสภาพซึ่งเรียกว่า “เวิร์ท (Wort)” มาทำการบ่มและหมักต่ออีก 21 วัน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ และเพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ จากนั้นจึงเป็นกระบวนการของการปรับสภาพเบียร์และการกรองเพื่อให้มีความใสได้มาตรฐาน และที่สำคัญที่สุดคือน่าดื่ม! และขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตก็คือ การบรรจุหีบห่อ ก่อนส่งต่อไปยังร้านค้าอื่นๆ ต่อไป
ขั้นตอนการผลิตเบียร์ที่สำคัญเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบคือ มอล์ท ฮอพ และปลายข้าว
จากการมาเยี่ยมชมโรงงานทำให้ทราบว่าคาร์ลสเบอร์กเป็นโรงงานผลิตเบียร์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยนาย เจ ซี จาคอบเสน (J.C. Jacobsen) เมื่อปี ค.ศ. 1847 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลิตเบียร์คุณภาพเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ในปลายปี 1960 คาร์ลสเบอร์ก จึงได้มีนโยบายขยายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศโดยได้ส่งผู้มีความรู้ด้านการผลิตเบียร์ให้เป็นที่ปรึกษาในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยบริษัท คาร์ลสเบอร์ก อินเตอร์เนชั่นแนล เอเอส แห่งเดนมาร์กได้ร่วมลงทุนกับกลุ่มนักธุรกิจไทย นำโดย ดร.เจริญ สิริวัฒนภักดี ธ.กสิกรไทย ก่อสร้างโรงงานขึ้นที่ อ.วังน้อย จ.อยุธยา โดยในปัจจุบันโรงงานดังกล่าวมีศักยภาพในการผลิตเบียร์ปีละ 120 ล้านลิตร โดยผลิตทั้งเบียร์คาร์ลสเบอร์ก และรับจ้างผลิตเบียร์ช้าง ซึ่งเป็นเบียร์ของคนไทย ที่ได้พัฒนามาจากคาร์ลสเบอร์กด้วย วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเบียร์ได้แก่ น้ำ (ซึ่งใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก) มอลท์ (ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เบียร์เป็นสีเหลืองทองอำพัน) ยีสต์ (โดยใช้ยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces carlsbergensis ที่พัฒนาจากบริษัทแม่ที่เดนมาร์ก) และ ฮอพ ส่วนเบียร์ช้างนั้นมีข้อแตกต่างจากคาร์ลสเบอร์กอยู่นิดเดียวตรงที่มีการเติมปลายข้าวหอมมะลิเพิ่มเข้าไปด้วย และมีปริมาณแอลกอฮอล์ สูงกว่าคาร์ลสเบอร์กเล็กน้อย
อันที่จริงจะว่าไปผมก็ไม่ใช่ “คอเบียร์” เท่าไรนัก… นานๆ ทีบริษัทเบียร์ต่างๆ จึงจะได้รับการสนับสนุนจากผมสักครั้งหนึ่ง และที่ไม่ดื่มก็ไม่ใช่ว่าเพราะผมเป็นคนดีเด่ ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด… หากแต่ไม่ชอบในรสชาติที่ขม และความรู้สึกที่อัดแน่นด้วยก๊าซในกระเพาะเสียมากกว่า … อย่างไรก็ดีวันนี้ถือเป็นวันพิเศษอีกวันหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตเบียร์คาร์ลสเบอร์ก ที่จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถ้ามาถึงที่แล้วไม่ดื่มก็เห็นจะถือว่ามาเสียเที่ยวเป็นแน่… เบียร์เย็นฉ่ำ เกือบเป็นวุ้นจึงไหลลื่นลงคอผมไปอย่างง่ายดาย ความขมและฝาดของมันกลับลงตัวอย่างประหลาดและทำให้ผมรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที และ แม้จะไม่ใช่คอเบียร์ที่แท้จริง แต่ผมก็สามารถรับรู้ได้ถึง รสชาติอันหนักแน่นแต่นุ่มนวลได้ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเบียร์ได้อย่างดี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า ชาวสุเมเรียน รู้จักการใช้ยีสต์หมักเบียร์มาเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว และแม้ปัจจุบัน เวลาจะล่วงเลยไปหลายพันปี แต่ความนิยมการดื่มเบียร์ก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะลดลง…มีแต่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นโดยดูได้จากยอดขายและกำลังการผลิตของบริษัทเบียร์หลายแห่งที่เพิ่มขึ้นทุกปี
แก้วใบโตบรรจุน้ำสีเหลืองอำพันที่วางตั้งอยู่เบื้องหน้าทำให้ผมอดอัศจรรย์ใจในความฉลาดของมนุษย์ขึ้นมาไม่ได้ ในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องดื่มซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก และยอมรับกันว่า “เป็นเครื่องดื่มเพื่อการบันเทิง รื่นเริง สังสรรค์ และการผ่อนคลาย” … (แม้จะอาจขัดกับข้อห้ามทางศาสนาอยู่บ้างก็ตาม…)
- http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=3261
-
7112 กว่าจะถึงเบียร์ก้นแก้ว /lesson-science/item/7112-2017-06-04-06-37-17เพิ่มในรายการโปรด