Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 2
“ไม่ได้เป็นแค่ทางตายแต่เป็นฝันร้ายของระบบนิเวศ” มาต่อกันในตอนที่ 2 Road Kills (สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้านี้ อย่าลืมย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่ Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 1 ) ในระบบนิเวศนั้นไม่ใช่แค่หายนะของสัตว์ป่า แต่ยังเป็นหายนะของระบบนิเวศอีกด้วย จะเป็นหายนะอย่างไรนั้น ติดตามอ่านกันได้เลย
ภาพที่ 1 ถนนบนเส้นทางผืนป่าธรรมชาติ
ที่มา https://pixabay.com/th ,Pexels
ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ถูกผ่าออกเป็นชิ้นน้อยใหญ่ภายใต้ความหวังของการพัฒนาคมนาคมนำไปสู่ความสะดวกสบาย ความเป็นอยู่ที่ดี และการกระตุ้นเศรษฐกิจของมนุษย์ แต่สำหรับระบบนิเวศแล้วการถูกแบ่งแยกผืนป่าของถนนค่อยๆปลิดชีพสัตว์ป่าอย่างเลือดเย็น
สัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยจบชีวิตอยู่ข้างถนน เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมถูกตัดทำเส้นทางคมนาคมแบ่งแยกถิ่นที่อยู่อาศัย ไม่เพียงเท่านั้นยังทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงจากการลดขนาดพื้นที่หากิน หาคู่ และสืบพันธุ์ของสัตว์ต้องเป็นไปในพื้นที่จำกัด ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลงเสี่ยงต่อการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในอนาคต เนื่องจากเกิดความผิดพลาดจากการสุ่มตัวอย่าง Sampling error ใน Genetic drift การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลที่เกิดขึ้นรวดเร็วแบบสุ่มไม่มีทิศทางจากปรากฏการณ์คอขวด (Bottleneck effect) ผืนป่าเดิมที่มีขนาดใหญ่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมาก จำนวนประชากรของสัตว์ชนิดเดียวกันลดลงอย่างรวดเร็วจากการแบ่งแยกผืนป่าด้วยถนนเป็นสองฝั่งสภาพแวดล้อม ทำให้เกิด Allele fixation อัลลีลของยีนเด่นและยีนด้อยไม่ได้รับการกระจายอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลทำให้ความถี่แอลลีนในประชากรเปลี่ยนแปลง บางแอลลีลเพิ่มขึ้น บางแอลลีลหายไป ส่งผลให้ความหลากหลายลดลงอย่างมาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผลกระทบของ Road Kills ไม่เพียงแต่คร่าชีวิตสัตว์ริมถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยเงียบของระบบนิเวศ เมื่อถนนกลายเป็นกำแพงกั้น (Barrier) การดำรงชีวิตและความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ป่า
ถนน หรือ Corridor ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตพืช สัตว์ สสาร แร่ธาตุ พลังงาน และลดความต่อเนื่องของผืนป่าที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
ภาพที่ 2 แสดง Ecological Functions of Corridors แสดงหน้าที่ของแนวเชื่อมต่อ
ที่มา Form & Gordon, 1986 อ้างโดย (ทรงธรรม และธรรมนูญ, 2557)
หน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ
แนวเชื่อมต่อมีหน้าที่ส่งเสริมให้สิ่งมีชีวิตสามารถกระจายและเคลื่อนตัวไปตามหย่อมที่อยู่อาศัยที่ห่างออกไปได้ ซึ่งบทบาทหน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อมีอยู่หลายประการดังนี้
Ecological Function ของ Road Corridors
- Sources : แหล่งของมลพิษ ฝุ่น ควัน สารเคมี เสียง Exotic Species
- Sinks: การพัดพาตะกอนดิน สสารจากลม การชะล้างของน้ำ
- Barriers : ตัวกั้น แบ่งแยกพื้นที่ธรรมชาติ
- Habitats: เป็นแหล่งของ exotic and tolerance species
- Conduits: Giant greenway network ที่ช่วยในการกระจายพันธุ์ของ Tolerance Species รวมทั้งเส้นทางการเคลื่อนที่ของนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด สัตว์แต่ละชนิดมีความต้องการใช้พื้นที่ในการดำรงชีวิตไม่เท่ากัน แบ่งประเภทสัตว์จากความต้องการใช้พื้นที่ได้คร่าวๆ คือ สิ่งมีชีวิตชายขอบ edge species และ สิ่งมีชีวิตด้านใน interior species ที่มีความต้องการใช้พื้นที่สูง จากการสำรวจพื้นที่ความเสี่ยงสูงในประเทศไทยพบว่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงของอุบัติเหตุสัตว์ถูกรถชนมากที่สุด โดยสัตว์ส่วนใหญ่ที่พบเป็นสัตว์ที่ต้องการใช้พื้นที่ในการดำรงชีวิตเป็นบริเวณกว้าง interior species เช่น ลิง กวาง แมวดาว สะท้อนให้เห็นว่ายิ่งผืนป่าถูกแบ่งให้เล็กลงเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของสัตว์ที่เป็น interior species จากการวิจัยและศึกษาต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรจากถนนเข้าสู่ด้านในผืนป่าจึงเป็นบริเวณพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่อาศัยของ interior species และหากผืนป่าที่มีพื้นที่น้อยกว่านั้นก็อาจจะไม่พบ interior specie อยู่เลย ติดตาม Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 3 Wildlife Crossings ได้ในเร็ว ๆ นี้
แหล่งที่มา
ชุติมา ซุ้นเจริญ. (2561,12 พฤศจิกายน). Road Kills ทางตายสัตว์ป่า. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562, จาก http://www.judprakai.com/life/758
เขาแผงม้า. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562, จาก http://park.dnp.go.th/file/เขาแผงม้า.pdf
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล.สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562, จาก http://www.sasipin.com/unit4_1.htm
-
11206 Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 2 /article-biology/item/11206-road-kills-2เพิ่มในรายการโปรด