Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 3 Wildlife Crossings
เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยของเราได้มีทางเชื่อมสัตว์ป่าแห่งแรกในประเทศ กรมทางหลวงได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2562 เชื่อมผืนป่าเขาใหญ่-ทับลาน บนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี-อ.ปักธงชัย เรามาทำความรู้จักกับทางเชื่อมสัตว์ป่ากันดีกว่าว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ภาพที่ 1 สัตว์ป่าข้ามถนน
ที่มา https://unsplash.com/ , Nicolas Tissot
ทางเชื่อมสัตว์ป่าเป็นเหมือนความฝันของนักอนุรักษ์ในการพยายามแก้ไขปัญหา Roads Kills ตอน 1 และ 2 ในบทความก่อนหน้านี้ที่ได้นำเสนอให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงภาพการสูญเสียสัตว์ป่าบนท้องถนน ความจริงแล้ว animal bridge มีมากว่า 70 ปีแล้ว สะพานสัตว์แห่งแรกสร้างขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1950 อีกทั้งยุโรปยังเป็นผู้นำในการใช้ทางเชื่อมปกป้องสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากยกตัวอย่างเช่นประเทศเนเธอร์แลนด์มีทางเชื่อมสัตว์ป่า 66 จุดทั่วประเทศและยังมีทางเชื่อมที่ยาวที่สุดถึงครึ่งไมล์ Natuurbrug Zanderij Crailoo ผ่านแม่น้ำ รางรถไฟ และบริเวณเขตกิจกรรมธุรกิจ จนกลายเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์สัตว์ป่ากว่า 600 ชีวิต
ภาพที่ 2 Wildlife Crossing Bridge
ที่มา https://www.pexels.com/ , Frank Cone
การกระจายตัวของที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทำให้เกิดสิ่งกีดขวางที่มนุษย์สร้างขึ้นถนน ทางรถไฟ คลอง การประปา สาธารณูปโภคบริโภค สายไฟฟ้า ตึก บ้าน ที่อยู่อาศัยเป็นตัวแบ่งแยกที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ถนนเหล่านี้สร้างผลกระทบที่แพร่หลายและเป็นอันตรายมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าระบบถนนในสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างน้อยหนึ่งในห้าของพื้นที่ที่ดินของประเทศ นักนิเวศวิทยาและนักอนุรักษ์ได้บันทึกความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนักระหว่างถนนกับสัตว์ป่า ผลกระทบจาก Road Kils ทำให้ประชากรสัตว์ป่าลดจำนวนลงเนื่องจากถูกลดพื้นที่ที่อยู่อาศัยและคุณภาพ เพิ่มอัตราการตายจากยานพาหนะชนสัตว์ป่า สัตว์ป่าถูกกีดกันและแบ่งออกเป็นประชากรย่อยขนาดเล็กและอ่อนแอกว่า การกระจายตัวของที่อยู่อาศัยสามารถนำไปสู่การสูญพันธุ์หรือการทำลายล้างหากแหล่งพันธุกรรมของประชากรถูกจำกัด สัตว์ที่เป็น Interior species คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้านในป่าห่างจากถนนบริเวณขอบป่าถึงป่าชั้นใน 1 กิโลเมตร สัตว์เหล่านี้จะเกิดความเครียดต่อการดำรงชีวิตจากที่เคยหาอาหารในบริเวณกว้างเมื่อถูกจำกัดพื้นที่จึงทำให้หาอาหารได้น้อยลงส่งผลกระทบไปถึงห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่มีจำนวนประชากรน้อยจะทำให้การสืบพันธุ์เกิดในวงแคบ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Bottleneck effect อย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนหน้า สัตว์เหล่านี้จึงเกิดความเครียดและต้องการเคลื่อนย้ายไปบริเวณอื่นๆ ออกหาอาหารในพื้นที่ชาวบ้าน และเกษตรกร รวมถึงถนนที่มีรถยนต์ความเร็วสูง
Wildlife Crossing เป็นทางเชื่อมสัตว์ป่าที่อนุญาตให้สัตว์ข้ามกำแพงที่มนุษย์สร้างขึ้นได้อย่างปลอดภัย รูปแบบของทางข้ามสัตว์ป่าถูกออกแบบเพื่อให้เหมาะกับสัตว์ที่มีความหลากหลายสูง
- underpass tunnels เป็นทางเชื่อมรูปแบบอุโมงค์ใต้ถนนสัตว์ตัวใหญ่เช่นช้างข้ามได้สะดวก
- overpasses or green bridges รูปแบบสะพานสีเขียวด้านบนตัดข้ามถนนสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้ทางข้ามนี้เป็นพวกสัตว์ขนาดใหญ่หรือฝูงสัตว์ที่มักจะอยู่รวมกันหากินเป็นฝูง
- amphibian tunnels อุโมงค์สัตว์เลื้อยคลาน
- fish ladders สะพานปลา
- canopy bridge สะพานสูงที่ห้อยโหนบนเรือนยอดสำหรับกระรอกและลิง
- culverts ท่อระบายน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก นาค เม่น แบรดเจอร์
- green roofs หลังคาเขียวนกและผีเสื้อ
ภาพที่ 3 canopy bridge
ที่มา https://unsplash.com/ , Erik-Jan Leusink
จุดประสงค์หลักของ Wildlife Crossing bridge เพื่อเชื่อมที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เกิด habitat fragmentation คือการที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์แตกออกเป็นหย่อมๆ ด้วยความหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่หาอาหารการกระจายพันธุ์และลดการสูญเสียชีวิตของสัตว์ป่าบนท้องถนนให้พ้นภัยหรือที่เรียกว่า Road Kills อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เป็นความพยายามของมนุษย์และสัตว์ป่าซึ่งถือได้ว่านิมิตหมายที่ดีของการอยู่ร่วมกันไปอีกขั้น แต่จะตอบโจทย์ได้มากน้อยแค่ไหนมาติดตามกันต่อในบทความต่อไป ใน Wildlife Crossing ตอน2 ความหวังหรือหลอกฝันนักอนุรักษ์
แหล่งที่มา
Panee. (2562, 16 เมษายน) “10 สะพานอุโมงค์มหัศจรรย์สร้างให้สัตว์ป่าข้าม สวยงามตามธรรมชาติ” สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://sdthailand.com/2019/04/wildlife-crossings-animal-safety/
Pimnara.(2562, 21 มีนาคม) “เปิดแล้วทางเชื่อมผืนป่าเขาใหญ่ทับลานอุโมงค์สัตว์ข้ามแห่งแรกของไทย”ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จากhttps://progreencenter.org/2019/03/21/เปิดแล้ว-ทางเชื่อมผืนป่/
ขัตติยา ดีอาเกียเร่.(2562, 16 มีนาคม) “อุโมงค์ทางลอด ทล.304 เชื่อมผืนป่ามรดกโลก-เส้นทางสัญจร” เปิดมุมมอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-302744
-
11635 Road Kills หายนะสัตว์ป่า ตอนที่ 3 Wildlife Crossings /article-biology/item/11635-road-kills-3-wildlife-crossingsเพิ่มในรายการโปรด