ไขปัญหาเรื่องอาหารการกินด้วยบทเรียนวิชาชีววิทยา "Part I : " น้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม
"เรื่องกินเรื่องใหญ่" คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย ทุกคนคงทราบเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานอาหารดีแล้ว เนื่องจากเคยเรียนมาตั้งแต่เด็ก ๆ การรับประทานอาหารก็เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานช่วยให้ร่างกายเจริญเติบต ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ และประโยชน์ด้านอื่น ๆ เนื้อหาในบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เช่น สารอาหารที่มีอยู่ในอาหารมี 6 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตโปตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ซึ่งสารอาหารแต่ละประเภทมีประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน รวมไปถึงระบบย่อยอาหารที่ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีเนื้อหาลึกมากขึ้นเกี่ยวกับโครงสร้างของสารอาหารประเภทต่าง ๆ ความสำคัญของสารอาหารที่มีต่อสิ่งมีชีวิต การย่อยอาหารทั้งเชิงกล เช่น การเคี้ยว และการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์
ภาพที่ 1 ชีส
ความรู้ที่เรียนในห้องเรียน นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญและเพียงพอสำหรับการเรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาแล้ว ยังถูกคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน หลายคนอาจสงสัยหรือมีหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินหรืออ่านข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ แล้วเกิดข้อสงสัย ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาที่เคยเรียนแล้วก็อาจจะนำความรู้นั้นมาตอบคำถามได้ หรือแม้บางคำถามจะไม่สามรถใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาตอบได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นพื้นฐานที่จะให้คันหาคำตอบต่อไปได้
น้ำนมที่ไม่มีแล็กโทสคืออะไร
ในอดีต ถ้าไปหาซื้อน้ำนมวัวแบบขวดหรือแบบกล่อง นอกจากจะพบน้ำนมวัว 100% ซึ่งเป็นน้ำนมชนิดเต็มมันเนยแล้วยังมีน้ำนมประเภทที่ไขมันน้อยกว่าน้ำนมทั่วไปด้วย เช่น น้ำนมพร่องมันเนย (Low Fat Milk) ซึ่งเป็นน้ำนมที่แยกมันเนยหรือไขมันออกบางส่วน ทำให้เหลือไขมันในน้ำนมน้อยกว่าปกติ น้ำนมขาดมันเนย (No Fat Milk หรือ Fat-Free Milk)ซึ่งแยกมันเนยหรือไขมันออกไปเกือบทั้งหมด ผู้ที่ดื่มน้ำนมพร่องมันเนยหรือน้ำนมขาดมันเนย มักเป็นผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณขมัน อย่างไรก็ตามน้ำนมประเภทนี้จะมีปริมาณวิตามินที่ละลายในไขมัน คือ A D E และ K ลดลงไปด้วย
บางคนเมื่อดื่มน้ำนมแล้วอาจมีอาการท้องอืดหรือท้องเสียได้ ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้น้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance) หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แล็กเทส (Lactase Deficiency) อาการนี้พบในผู้ใหญ่ประมาณ 65-70% ถ้าคนกลุ่มนี้ต้องการดื่มน้ำนม จะต้องดื่มน้ำนมที่ไม่มีแล็กโทสเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว แล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในน้ำนมวัวที่ขายทั่วไปจึงมีแล็กโทสอยู่ในน้ำนมด้วย
เอนไซม์แล็กเทสผลิตจากที่ไหน และถ้าร่างกายผลิตแล็กเทสไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น
แล็กเทสผลิตจากผนังลำไส้เล็ก เอนไซม์นี้จะย่อยแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่หรือไดแซ็กคาไรด์ ได้เป็นกลูโคสและกาแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือมอโนแซ็กคาไรด์
จากนั้นมอโนแซ็กคาไรด์จะถูกดูดซึมเข้าสู่ซลล์บุผิวของลำไส้เล็ก แล้วลำเลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอยเพื่อไปผ่านหลอดเลือดต่อไป ในกรณีที่บางคนไม่สามารถผลิตแล็กเทสได้ แล็กโทสจึงไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่จะเกิดการหมักด้วยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ เกิดแก๊สทำให้มีอาการท้องอืดและปวดท้อง นอกจากนี้แล็กโทสที่ไม่ถูกย่อยจะทำให้เกิดการดูดกลับน้ำให้เข้ามาสู่ลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
ทำไมเอนไซม์อื่น ๆ จึงย่อยแล็กโทสไม่ได้
แม้ว่าในระบบย่อยอาหารจะมีเอนไซม์หลายชนิด เช่น ซูเครส อะไมเลส เพปซิน แต่ไม่สามารถย่อยแล็กโทสได้จะมีเฉพาะแล็กเทสเท่านั้นที่มีความจำเพาะในการย่อยแล็กโทส เนื่องจากเอนไซม์ส่วนใหญ่เป็นโปรตีน สายของโปรตีนจะมีการพับม้วนไปมาจนเกิดรูปว่างเฉพาะตัว ทำให้บริเวณเร่งของเอนไซม์แต่ละชนิดมีความจำเพาะกับสารตั้งต้น ดังนั้นสารตั้งต้นที่มีรูปร่างจำเพาะกับเอนซม์เท่านั้น จึงสามารถจับกับบริเวณเร่งของเอนไซม์และเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลิตภัณฑ์
เมื่อก่อนนั้น ถ้าผู้ที่แพ้แล็กโทสต้องการจะดื่มน้ำนม ก็อาจเลือกที่จะดื่มนมเปรี้ยวหรือรับประทานโยเกิร์ต ซึ่งมีแล็กโทสในปริมาณน้อยเนื่องจากแล็กโทสถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดแล็กติก แต่ในปัจจุบันถ้าเดินสำรวจตามชั้นขายน้ำนมสดยี่ห้อและรสชาติต่าง ๆ จะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์น้ำนมที่เขียนว่า Laclose Free หลายยี่ห้อ ซึ่งน้ำนมเหล่านี้จะไม่มีแล็กโทส เนื่องจากมีการเดิมเอนไซม์แล็กเทสลงไปในกระบวนการผลิตทำให้แล็กโทสถูกย่อยไปแล้ว ผู้ที่แพ้แล็กโทสจึงสามารถดื่มได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสีย
ชีส เนย และมาร์การีน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ชีสหรือเนยแข็ง (Cheese) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโปรตีนในน้ำนม ส่วนใหญ่ใช้น้ำนมสัตว์เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำนมวัว น้ำนมแกะ และน้ำนมควาย ในขณะที่เนย (Butter) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันในน้ำนม ซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ ส่วนมาร์การีน(Margarine) ผลิตจากไขมันพืช แม้ว่าชีส เนย และมาร์การีน จะมีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองคล้ายกัน แต่ที่มีความแตกต่างกันคือ ชีสมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนเนยและมาร์กรีนมีไขมันเป็นองค์ประกอบหลัก
ภาพที่ 2 ชีส เนย และ มาร์การีน
ชีสผลิตได้อย่างไร?
กระบวนการผลิตชีส เริ่มจากการตกตะกอนโปรตีนเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในน้ำนม ด้วยกรดแลกติกที่สร้างจากแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลกติก (Lacic Acid Bacteria) หรือตกตะกอนโปรตีนด้วยเอนไซม์เรนนิน (Renin) หรือใช้ทั้งกรดแลกติกและเรนนินร่วมกัน ความเป็นกรดรวมทั้งการถูกย่อยด้วยเอนไซม์ทำให้โปรตีนเคซีนเสียสภาพ (Denature) ได้เป็นตะกอนสีขาวมีลักษณะคล้ายโยเกิร์ต ซึ่งเรียกว่า เคิร์ด (Curd) จากนั้นกรองส่วนที่เป็นเคิร์ดไปทำชีส ส่วนของเหลวที่เหลืออยู่เรียกว่า เวย์ (Whey) ซึ่งยังมีโปรตีนบางส่วนหลงเหลืออยู่ สามารถนำไปทำเป็นผงที่เรียกว่าเวย์โปรตีน (Whey Protein) นิยมใช้เป็นโปรตีนเสริมสำหรับนักเพาะกาย
ชีสที่ผลิตได้มีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของน้ำนมที่นำมาใช้ในการผลิต ชนิดของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการหมัก ระยะเวลาที่ใช้ในการบ่ม และอาจมีขั้นตอนการผลิตที่เฉพาะซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิตแล้ว จะเก็บชีสไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็นตลอดเวลาเพื่อรักษาคุณภาพของชีส
ทำไมชีสบางชนิดถึงมีรู?
ในหนังสือการ์ตูนที่อ่านตอนเด็ก ๆ มักจะวาดชีสให้มีรู ทำให้ภาพที่นึกถึงชีสว่าเป็นก้อนสามเหลี่ยมสีเหลืองและมีรูอยู่ทั่วก้อน แต่จริง ๆ แล้วชีสส่วนใหญ่ไม่ได้มีและไม่จำเป็นต้องเป็นก้อนสีเหลืองเท่านั้น มีชีสบางชนิดเท่านั้นที่มีรู เช่น สวิสชีส (Swiss cheese) รูของสวิสซีสเกิดจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากขั้นตอนการผลิต ซึ่งใช้หัวเชื้อเป็นแบคที่เรียหลายชนิด ในขั้นตอนท้ายๆ ของการผลิตชีส แบคทีเรีย Propionibacterium freudenreichii subsp.shermanii จะย่อยกรดแลกติกที่ได้จากการหมักของบคทีเรียชนิดอื่นได้เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สที่เกิดขึ้นนี้จะค่อยๆ สะสมและแทรกอยู่ในเนื้อของซีส ทำให้เกิดเป็นรู
ภาพที่ 3 สวิสชีส (Swiss cheese)
ทำไมจึงมีราอยู่ที่ชีส
ชีสส่วนใหญ่ผลิตโดยใช้แบคทีเรียเป็นหัวเชื้อ เพื่อสร้างกรดแลติกสำหรับตกตะกอนโปรตีน แต่ชีสบางชนิดมีการใส่ราลงไปในกระบวนการผลิตด้วย เช่น บลูซีส (Blue Cheese) มีการใส่สปอร์ของรา Penicilium roque-forti และ Penicilium glaucum ลงไประหว่างเกิดเป็นก้อนเคิร์ดหรือใส่หลังจากที่น้ำนมจับตัวเป็นก้อนเคิร์ดแล้ว ราต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ ดังนั้นบูลูชีสจึงถูกเจาะหรือแทงเข้าไปในเนื้อชีสให้เป็นรูเพื่อให้อากาศเข้าไปภายใน ทำให้เส้นใยราสามารถเจริญแทรกไปได้ทั่วทั้งก้อน และเมื่อราสร้างสปอร์จะเห็นเป็นจุดสีเขียวปนน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบลูชีสนั้นเอง ราชนิดต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในการผลิตชีส ก็เพื่อให้เกิดการหมักที่ทำให้ชีสมีลักษณะ กลิ่น และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามต้องการสามารถรับประทานโดยไม่เกิดอันตราย เนื่องจากไม่ใช่ราที่ทำให้อาหารเน่าเสีย แต่ถ้าซื้อชีสชนิดที่ไม่มีรามาเก็บไว้นาน ๆ แล้วมีราขึ้น จะต้องทิ้งชีสก้อนนั้นไปเพราะเป็นราที่ทำให้อาหารเน่าเสีย
ภาพที่ 4 บลูซีส (Blue Cheese)
เนยผลิตได้อย่างไร
เนยเป็นไขมันที่แยกมาจากน้ำนมสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ แต่อาจจะใช้น้ำนมจากสัตว์อื่น เช่น แกะ แพะ หรือควายก็ได้ ไขมันนี้มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) ในกระบวนการผลิตจะแยกส่วนที่เป็นไขมันออกมาจากน้ำนมดิบโดยการปั่น ไขมันที่อยู่ในน้ำนมจะจับตัวเป็นก้อนเล็ก ๆ ล่อยอยู่ด้านบน ส่วนน้ำนมที่แยกไขมันออกไปแล้วนั้นจะเป็นน้ำนมพร่องมันเนย ถ้าปั่นแยกไขมันออกไปจนหมดจะเป็นน้ำนมขาดมันเนย ซึ่งน้ำนมนี้จะนำไปผลิตเป็นน้ำนมสำหรับบริโภคต่อไป
เมื่อแยกส่วนไขมันออกมาแล้วก็นำไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมา ทำให้เย็นและนำมาปั่นเพื่อให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน ซึ่งส่วนที่เป็นของเหลวที่ได้มาจากขั้นตอนแรกจะถูกแยกออกไป เรียกว่า ครีมบัตเตอร์มิลค์ (Butter MiแK) แล้วจึงนำไขมันส่วนที่เหลือไปตีหรือนวดเพื่อให้เนื้อเนียนเข้ากันได้เป็นเนย จากนั้นทำให้เป็นก้อนขนาดตามต้องการเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีทั้งเนยรสจืดและเนยรสเค็มที่มีการผสมเกลือลงไป
เนยที่ผลิตได้จะมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และเนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันสายสั้น ทำให้มีจุดหลอมเหลวต่ำซึ่งต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอเพื่อให้คงรูป ถ้าอยู่นอกตู้เย็นจะเหลวหรือละลายได้
เนยที่ผลิตจากไขมันสัตว์จะมีความหอมเฉพาะตัวนิยมนำไปทาขนมปังหรือทำเบเกอรี่ แต่เนื่องจากมีราคาแพงและเมื่อได้รับความร้อนจะไม่คงตัว จึงมีการผลิตมาร์การีนหรือเนยเทียมเพื่อนำมาใช้ทดแทนเนย ซึ่งมาร์การีนมีราคาถูกกว่าและคงตัวได้ดีแม้จะอยู่ในที่มีอุณหภูมิสูง
ภาพที่ 5 เนย
มาร์การีนผลิตได้อย่างไร
มาร์การีนทำจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันถั่วเหลือง โดยการผลิตในอดีตนั้นจะนำน้ำมันพืชมาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ซึ่งเป็นการเติมไฮโดรเจนที่ตำแหน่งพันธะคู่ในกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
การเติมไฮโดรเจนในน้ำมันจะได้ไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของกึ่งแข็งหรือของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยังมีการเดิมเกลือ สีผสมอาหาร วิตามิน เพื่อให้มาการีนมีสีเหลืองซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับเนย มาร์การีนมีจุดหลอมเหลวสูงจึงสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้โดยที่ยังคงสภาพความเป็นก้อน ในขณะที่เนยจะเหลวเมื่อวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง
ภาพที่ 7 เนยและมาร์การีน เมื่อผ่านไป 30 นาที
มาร์การีนมีราคาถูก จึงนิยมนำไปทำเบเกอรี่ ใช้ทาขนมปังแทนเนย รวมทั้งใช้ทอดโรตี แต่การผลิตมาร์การีนโดยใช้ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ทำให้เกิดไขมันทรานส์ (Trans Fat) ซึ่งผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นเนื่องจากทำให้คอเลสเตอรอลชนิด LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเรสเตอรอลชนิดดี นอกจากนี้ยังเพิ่มไตรกลีเซอไรในกระแสเลือดอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคมาร์การีนมากเกินไป รวมทั้งไม่ควรรับประทานไขมันทรานส์ที่อยู่ในอาหารชนิดอื่น ๆ ด้วย
เนื่องจากไขมันทรานส์ส่งผลสียต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เป็นส่วนประกอบเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายมีผลใช้บังคับในวันที่ 9 ม.ค. 2562 และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลจึงให้ติดฉลากบนผลิตภัณฑ์ด้วยข้อความว่า "ปราศจาก / ไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งเป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์" ในปัจจุบันผู้ผลิตได้ปรับใช้กระบวนการอื่นแทนกระบวนการเดิมไฮโดรเจนบางส่วนและมีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านการเดิมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ตามสามารถตรวจพบปริมาณขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ เช่น มาร์การีน เนยขาว และเบกอรี่อื่น ๆ ได้ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ เช่น นม เนย และชีส แต่พบในปริมาณน้อยมาก แม้ว่าจะมีการควบคุมการใช้ไขมันทรานส์แต่ในอาหารบางประเภทก็มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งมีผลทำให้ไขมันอุดตันในหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน
ความรู้พื้นฐานเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 1 ตามผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) จุดมุ่งหมายของการเรียน ไม่เพียงแต่เพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาหรือประกอบอาชีพในสาชาที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐาน แต่ต้องสามารถชื่อมโยงความรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ รวมทั้งตระหนักถึงการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงปราศจากโรคด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากการอ่านบทความนี้ และนำความรู้ไปใช้ในการเลือกดื่มนมประเภทต่าง ๆ ที่หมาะสมกับตนเองได้ รวมทั้งเมื่อจะรับประทานขนมครั้งต่อไปก็ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบด้วยว่ามีปริมาณไขมันที่สูงมากเกินไปหรือไม่ รวมทั้งหลีกเสี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ด้วยเช่นกันแล้วพบกับ "ไขปัญหาที่ว่าด้วยเรื่องอาหารการกินด้วยบทเรียนวิชาชีววิทยา Part I" จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารอะไรนั้น โปรดติดตามต่อไป
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Process for making a lactose-free mlk and milk so processed. สืบคั้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562. จาก https://patents.google.com/patent/US6881428B2/en.
การพัฒนากรรมวิธีการผลิตเนยเข็ง มอสชาเรลลาจากนน้ำนมติบที่เก็บรักษาตัวยระบบแล็กโทเพอร์ ออกซิเดส (LP-system). สืบคันเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/1657/2/.
ความจริงไขมันทรานส์. สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก https:/www.thaihealth.or.th/Content/43648-ความจริงไขมันทรานส์.htm.
ชีส เนย และมาร์การีน. สืบคันเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก http://biology-jpst.ac.thv?p-2596.
เนยแข็ง/ Cheese. สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก http:/www.foodnetworksolution.com/wikiword/0232/cheese-เนยแข็ง.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก http:/www.fda.moph.go.tlVsites/ood/aw1/food_Jaw.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560), หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
-
12408 ไขปัญหาเรื่องอาหารการกินด้วยบทเรียนวิชาชีววิทยา "Part I : " น้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม /article-biology/item/12408-part-i-2เพิ่มในรายการโปรด