เกมแอปพลิเคชั่นกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอนในเนื้อหาที่จำเป็นต้องนำข้อมูลสารสนเทศจำนวนมากมาวิเคราะห์ อภิปราย และ ลงข้อสรุป ครูจำเป็นต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนทำาการสืบค้นข้อมูล และนำข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งมาเปรียบเทียบกัน ถ้าครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่ชัดเจน อาจทำให้ต้องใช้เวลาในห้องเรียนมากขึ้น และ สร้างความสับสนให้กับผู้เรียนได้ จะดีกว่าหร่อไม่ถ้าเราปรับรูปแบบจากการสืบค้นข้อมูลโดยวิธีธรรมดา ๆ ให้กลายเป็น เกมที่สามารถตอบโจทย์ทั้งองค์ความรู้ และเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนให้สนุก และตื่นเต้นยิ่งขึ้น
จากประสบการณ์ของผู้เขียน และจากการสอบถามครูที่สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสารอาหาร และการบอกแนวทางการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตนเอง เป็นหัวข้อที่จำเป็นต้องให้นักเรียน สืบค้นข้อมูลจำนวนมาก ทั้งชนิดและส่วนประกอบของอาหาร สารอาหารที่พบในอาหารแต่ละอย่าง รวมทั้งปริมาณพลังงาน จากอาหาร เนื่องจากอาหารไทยมีหลากหลายอย่าง และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ครูและนักเรียน เกิดความสับสน เมื่อนักเรียนต้องเขียนรายการอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ทำงานได้ไม่ตรงกับเป้าหมาย เกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีความสนใจในเรื่องที่กำลังเรียน รวมทั้งไม่มี ความท้าทายในการทำงานที่ครูมอบหมายให้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่วางไว้
จากประสบการณ์ในเร่ืองนี้จึงได้พัฒนาเกมแอปพลิเคชันในชื่อ EatD โดยมีหน้าเกมดังภาพ 1 เพื่อเป็นสื่อเสริม การเรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหาร และยังสามารถใช้วางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับรูปร่าง เพศ และอายุของตนเองได้
เกมแอปพลิเคชััน EatD กับห้องเรียนวิทยาศาสตร์
การพัฒนาเกมและองค์ประกอบของเกม
จากงานวิจัยพบว่า การใช้เกมดิจิทัลในการเรียนการสอนทำให้ นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น และมีการแสดงออกที่ดีขึ้นกว่าการสอนใน รูปแบบเดิม ๆ (Wichadee and Pattanapichet, 2018; Papadakis, 2018) สำาหรับเกมแอปพลิเคชัน EatD ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานที่เป็นไปตามกรอบ ตัวชี้วัด มีการออกแบบให้มีกราฟิกสีสันสดใส ใช้งานง่าย เหมาะสมกับเด็กอายุ 6 -13 ปี และสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยการใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code จากหนังสือเรียน หรือดาวน์โหลดจาก App Store หรือ Google Play ซึ่งเป็น เกมที่สามารถเล่นได้ทุกที่ทุกเวลา และที่สำคัญได้ออกแบบให้เป็นเกมที่มีรางวัล สำาหรับผู้เล่น เพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้เล่นสนใจความรู้ที่ได้จากเกมและอยากกลับ มาเล่นเกมอีก ผู้เล่นสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกรางวัลทั้งจากการวางแผนการรับประทานอาหาร และการเล่น Mini Game เพื่อตอบประเภทของสารอาหารในอาหาร จะเห็นได้ว่าเกมแอปพลิเคชันนั้น นอกจากจะทำาให้ผู้เล่นสนุกสนานแล้ว ยังได้รับความรู้อีกด้วย
ภาพ 1 หน้าเกมแอปพลิเคชัน EatD
ลองมาดูรายละเอียดกันว่าเกมแอปพลิเคชัน EatD มีการใช้งานอย่างไร เกมแอปพลิเคชันนี้ออกแบบมาให้สามารถ พิมพ์ค้นหาชนิดอาหารจากฐานข้อมูลในแอปพลิเคชัน เพื่อความสะดวกและได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งมีข้อมูลส่วนประกอบ ของอาหารแต่ละชนิดเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกรับประทาน จากนั้นเกมจะคำนวณและวิเคราะห์ผลจากข้อมูลการเลือก รับประทานอาหารของผู้เล่น เพื่อให้คะแนนและคำาแนะนำาเกี่ยวกับปริมาณพลังงานจากอาหาร ปริมาณน้ำ และการเพิ่มหรือ ลดการรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะกับตนเอง ดังตัวอย่างในภาพ 2
ภาพ 2 ตัวอย่างหน้าต่างหลักๆ ของ เกมแอปพลิเคชัน EatD
วิธีการใช้งานเกมแอปพลิเคชััน EatD
เนื่องจากเกมแอปพลิเคชัน EatD พัฒนามาเพื่อใช้กับนักเรียนในห้องเรียน วิธีการใช้งานจึงออกแบบมาให้ใช้ง่าย และน่าสนใจ โดยผู้เล่นสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานหรือวิธีการเล่นเกมไปได้พร้อม ๆ กับการประเมินรูปร่างและพฤติกรรม การรับประทานอาหารของตนเอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้เล่นตระหนักถึงการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตนเอง วิธีการใช้งานเกมแอปพลิเคชัน เป็นดังแผนภาพในภาพ 3
ภาพ 3 วิธีการใช้งานเกมแอปพลิเคชัน
เกมแอปพลิเคชัน EatD มีจุดเด่นที่มีการสร้างตัวละครเป็นตัวแทนของผู้เล่น สามารถเคลื่อนไหวและแสดงสีหน้าได้ และผู้เล่นเกมสามารถนำคะแนนที่เล่นเกมได้มาสุ่มรับรางวัล เพื่อเปลี่ยนลักษณะใบหน้า สีตา สีผม เสื้อผ้า และของใช้อื่น ๆ ซึ่งมีสะสมไว้ในห้องแต่งตัวได้ ดังภาพ 4
ภาพ 4 หน้าห้องแต่งตัว
การนำเกมแอปพลิเคชัน EatD มาใช้ในห้องเรียนทยาศาสตร์
เกมแอปพลิเคชัน EatD พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์การจัดการเรียนรู้เรื่องสารอาหาร ซึ่งครูสามารถนำเกมแอปพลิเคชันนี้ มาใช้ในการสอนเร่ืองนี้ในห้องเรียนได้ โดยครูมีบทบาททั้งการกระตุ้นความสนใจของนักเรียนระหว่างเล่นเกม และการประเมิน นักเรียนระหว่างการเล่นเกมและหลังการเล่นเกม การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมแอปพลิเคชันสามารถทำได้ทั้งจัดให้ทำงาน รายบุคคลและทำงานรายกลุ่ม ดังตัวอย่างการทดลองใช้เกมกับผู้ร่วมกิจกรรมในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งรูปแบบที่นำเกมเข้าไปใช้ ดังภาพ 5
ภาพ 5 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมแอปพลิเคชัน EatD
ผลจากการใช้เกมแอปพลิเคชััน EatD ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หลังจากทดลองใช้เกมแอปพลิเคชันนี้แล้ว พบว่าผู้ร่วมกิจกรรม สามารถเรียนรู้เรื่องสารอาหารได้ดี บรรยากาศในการทำกิจกรรมมีความ สนุกสนาน ผู้ร่วมทำกิจกรรมมีความอยากรู้อยากเห็น และมีความตระหนัก เกี่ยวกับการวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น ดังภาพ 6
ภาพ 6 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมแอปพลิเคชัน EatD
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นหลังจากใช้เกมแอปพลิเคชัน โดยใช้ Google Form พบข้อมูลจากผู้ร่วมกิจกรรมว่า เกมแอปพลิเคชัน EatD ใช้งานง่าย มีสีสันสวยงาม น่ารัก ภาพประกอบดึงดูดความสนใจ รู้สึกสนุก เมื่อได้เล่นเกม เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย การเล่นเกมนี้ทำให้เข้าใจเนื้อเรื่อง แนวทาง การรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น อยากเล่นเกมซ้ำ และ สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้ ซึ่งเกมแอปพลิเคชัน EatD ยังมีลักษณะ เนื้อหาและส่วนประกอบที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่ทีมผู้พัฒนาได้รวบรวม และสร้างสรรค์ออกมา ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและใช้ในการวางแผน รายการอาหาร การรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันด้วย
แม้ว่าการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนในเนื้อหาที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลจำนวนมาก อาจสร้างความลำบากใจให้กับ ทั้งครูและนักเรียน การจัดกิจกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่กระตุ้นความสนใจของนักเรียน และเกิด ความสนุก จึงเป็นตัวช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย การนำเกมเข้าสู่ห้องเรียนก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ ปัจจุบันมีเกมเพื่อการศึกษาอีกมากมาย เช่น เกมออนไลน์ เกมแอปพลิเคชัน เกมกระดาน การนำมาใช้จึงควรเลือกให้ เหมาะสมกับช่วงอายุ ตรงกับสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และนำมาใช้ให้เหมาะสมกับขั้นตอนการสอน ทั้งนี้ การพัฒนาเกมมาใช้ในห้องเรียนต้องพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ลำดับความคิดของนักเรียนแต่ละช่วงอายุ ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของครูระหว่างที่ให้นักเรียน เล่นเกม (Krinks, Johnson and Clark, 2018)
นอกจากเกมแอปพลิเคชันเรื่องสารอาหารแล้ว จากผลการตอบแบบสอบถาม พบว่าทั้งนักเรียน ครู และผู้ปกครองเสนอแนะให้จัดทำาเกมแอปพลิเคชันเนื้อหาอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยที่หลายภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ควบคู่กับความสนุก ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
สำหรับผู้ที่สนใจเกมแอปพลิเคชัน EatD สามารถดาวน์โหลดได้จากทั้ง Google Play และ Play Store โดยพิมพ์คำาว่า EatD คุณก็จะได้เกมสนุก ๆ มาเล่นหรือใช้สอน ในห้องเรียน หวังว่าเกมแอปพลิเคชันนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา มากขึ้น
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Krinks, K. & Johnson, H & Clark, D.B. (2018). Digital games in the science classroom: Leveraging internal and external scaffolds during game play. Simulation and Gaming (Edited by Cvetkovic, D.). Legal deposit, Croatia: National and University Library in Zagreb.
Papadakis, S. (2018). The use of computer games in classroom Environment. Int.Journal Teaching and Case Studies, 9(1): 35-42. Wichadee, S. & Pattanapichet, F. (2018). Enhancement of performance and motivation trough application of digital; games in an English language class. Teaching English with Technology. 18(1): 77-92.
-
12174 เกมแอปพลิเคชั่นกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน /article-technology/item/12174-2021-06-09-06-56-05เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง