โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภาพด้านดิน ที่คนไทยควรรู้
ภาพที่ 1 ตามรอยพระราชดำริ "ปรับปรุงตินเปรี้ยวตามทฤษฎีแกล้งติน" ที่บ้านควนโต๊ะ
ที่มา https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1468907891
ปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินเปรี้ยว
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าราษฎรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาด้านพื้นที่ในการทำการเกษตร ขาดแคลนที่ทำกิน ซึ่งเนื่องมาจากพื้นที่ดินพรุที่มีการระบายน้ำออก ได้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดจนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร หรือถ้าจะปลูกพืชผลผลผลิตที่ได้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอื่น ๆ ได้ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถันโดยทรงแนะนำให้ทำเรื่องแกล้งดิน "...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแกล้งดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ภายในกำหนดเวลา 2 ปี และพืชที่ใช้ทดลองควรเป็นข้าว..."
ภาพที่ 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่มา http://www.tsdf.or.th/th/royally-initiated-projects/10779-แกล้งดิน-พศ-2522/
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในดินเปรี้ยว หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขสภาพดินเปรี้ยวที่เกิดมาจากป่าพรุ และดินเปรี้ยวอื่น ๆ ให้สามารถปลูกพืชได้
ดินเปรี้ยว (Acid soil)
หมายถึงดินที่มีกรดซัลฟิวริก(Sulfuric acid) อยู่ในดิน โดยมีค่า pH ต่ำกว่า 7 และถ้าค่า PH ต่ำกว่า 4 ดินจะมีสภาพเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัดหรือเรียกว่าดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil)
ภาพที่ 3 ดินเปรี้ยว
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=zSp6plCxnOc
ดินพรุ (Peat soil)
เป็นภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ ซึ่งแปลว่าพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมกันอยู่ข้างบน ในช่วงระดับความลึกของดินประมาณ 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งเนื่องมาจากมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่าสารประกอบไพไรท์อยู่มาก เมื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่จนหมดจนดินแห้ง สารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับออกชิเจนในอากาศ ได้กรดซัลฟิวริกเป็นผลให้ดินมีความเป็นกรด ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายแร่ธาตุที่เป็นประโยซน์ต่อต้นไม้ และทำให้ธาตุบางชนิดที่อยู่ในดินเป็นพิษต่อตันไม้
ภาพที่ 4 ดินพรุ
ที่มา http://www.pivotandgrow.com/blog/case/peat-soils-how-do-we-manage-them-for-organic-agriculture/
ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการเกิดดินเปรี้ยวในบริเวณพรุและที่ราบต่ำขอบพรุในท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ที่มา http://0858921265.blogspot.com/2016/11/blog-post_77.html
แกล้งดินทำอย่างไร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ"แกล้งดิน" คือ การทำดินให้เปรี้ยวจัดหรือเป็นกรดมากที่สุด ด้วยการทำให้ดินเปียกและแห้งสลับกันไป โดยการทดน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่งแล้วระบายน้ำออก เพื่อทำให้ดินแห้งเป็นระยะเวลาหนึ่งสลับกัน เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ดินมีความเป็นกรดยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงให้เลียนแบบสภาพความเป็นไปในธรรมชาติ ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันไป โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป จึงเกิดภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ ใน 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้งในเวลา 1 ปี หลังจากที่เสร็จกระบวนการนี้แล้วจึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น
วิธีการปรับปรุงดิน
เมื่อแกลังดินเสร็จแล้ว ต่อไปก็ต้องมีวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยมีหลายวิธีการดังนี้
- ใช้ปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอยบด หรือหินปูนฝุ่นใส่ลงไปในดินประมาณ 1-3 ตันต่อไร่ แล้วผสมให้เข้ากันปูนซึ่งเป็นเบสจะทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดกำมะถันในดิน ทำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง
- ใช้น้ำชะล้างกรดในดินโดยตรง วิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน แต่ได้ผลเหมือนกัน
- ยกร่องเพื่อปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น โดยต้องมีแหล่งน้ำอยู่ข้าง ๆ เพื่อถ่ายเทน้ำได้ ถ้าน้ำในร่องเป็นกรดเมื่อใช้น้ำชะล้ำางกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน้ำชะไปยังคูที่อยู่ด้านข้าง แล้วระบายออกไป และต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ด้วย ถ้ามีโอกาสน้ำจะท่วม ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้
- ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ไม่ให้ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ดินชั้นล่างแห้ง หรือทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ซึ่งควรจะต้องมีแหล่งน้ำจากระบบชลประทานเข้ามาช่วย
- ใช้พืชพันธุ์ที่ทนทานต่อความเป็นกรดมาปลูกในดินเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะขาม กระท้อน ขนุน ฝรั่ง ยูคาลิปตัส สะเดา อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม "โครงการแกล้งติน" ไม่ได้สิ้นสุดลงเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสเท่านั้น แต่ยังได้นำไปใช้กับจังหวัดอื่น ๆ ด้วย โดยในปีพ.ศ. 2535 ได้มีการนำไปใช้ในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา และโครงการพัฒนาพื้นที่ พรุแฆแฆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีและในปี พ.ศ. 2541 ได้นำมาใช้กับโครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ดังนั้นโครงการนี้ จึงเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้แก่ราษฎรทั่วประเทศ
ภาพที่ 6 โครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ที่มา http://www.dp.go.th/planing/special_project/2545/CentralDinPrew.htm
สิทธิบัตร
จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ดำเนินโครงการ "แกล้งดิน" ซึ่งเป็นโครงการที่ทดลอง แก้ไข ปรับปรุง จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว และด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านการเกษตร และด้านนวัตกรรมของพระองค์ ทำให้สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากมายและหลากหลาย ซึ่งล้วนเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อชาวไทยและชาวโลก จึงได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์โครงการแกล้งดิน ไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่อง "กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก" (โครงการแกล้งดิน) ในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงดิน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ภาพที่ 7 สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 22637
ที่มา https://www.ipthailand.go.th
ภาพ 8 ภาพตัวอย่าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ปฏิกิริยาคมี ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการแกล้งดิน
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
แกลังดิน. (2559). สืบคั้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/CoverStory/26660.
แกล้งดิน. (2559). สืบคั้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560, จาก http://km.rdpb.go.th/Content/uploads/fles.
หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี (2557). สืบคั้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560, จาก https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sa.chem2&hl=th.
หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี (2557. สืบคั้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560, จาก https:/itunes.apple.com/us/app/ipst-chemistry-e-book-chemical-reaction/id1027856050?mt=8.
-
12420 โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภาพด้านดิน ที่คนไทยควรรู้ /article-chemistry/item/12420-2021-08-23-06-06-47เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง