วันดินโลก (World Soil Day)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ประซากรส่วนใหญ่มีรายได้จากผลผลิตที่ได้จากดิน เมื่อประซากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการใช้ดินก็เพิ่มมากตาม ปัญหาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมีเพิ่มขึ้นเพราะดินส่วนมากของประเทศไม่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว บางแห่งเป็นดินเค็ม บางแห่งเป็นดานที่ไม่มีติน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทราบเรื่องปัญหาดิน จึงทรงทดลองหาแนวทางการแก้ปัญหา แม้จะใช้เวลายาวนาน แต่พระองค์ทรงไม่ย่อท้อ ทรงพระราชทานแนวทางพระราชดำริ พร้อมทั้งจัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้ประซาชน เป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรดินตัวอย่างเช่น จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ในจังหวัดนราธิวาส ดินบริเวณนี้เป็นพื้นที่พรุ คือมีอินทรียวัตถุมากและขึ้น เพราะมีน้ำขัง เมื่อดินแห้งสารประกอบไพไรต์ในดินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วปล่อยกรดซัลฟิวริกออกมา ดินจึงมีความเป็นกรดสูงมาก และไม่สามารถเพาะปลูกได้ พระองค์ทรงประทานแนวทางแก้ปัญหาด้วยแนวคิด "หลอกดินให้หลงธรรมชาติ" หรือที่รู้จักในนามการแกล้งดิน โดยการขังน้ำในพื้นที่ จากนั้นปล่อยน้ำออกแล้วขังใหม่ สลับกันไปมาเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ให้เกิดปฏิกิริยาเรื่อย ๆ จากนั้นจึงปรับสภาพดินที่เป็นกรดจัดด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นเบส เช่น ปูนขาว เพื่อควบคู่กับการใช้น้ำชลประทานชะล้างกรดในดินจนทำให้ดินมีสภาพดีขึ้นจนสามารถพาะปลูกได้ ดังภาพ 1 2 และ 3
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ดินในบริเวณนี้เป็นหินและกรวด อันเป็นผลจากการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างพัดพาหน้าดินไปจนหมด เหลือแต่หินและกรวด พืชจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้พระองค์ทรงแก้ปัญหาโดยสร้างฝ่ายชะลอน้ำ หรือที่คนไทยภูเขาเรียก "ฝ่ายแม้ว" จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกึ่งไม้ ก้อนหิน มาสร้างเป็นที่กั้นน้ำตามร่องห้วยต่าง ๆ เพื่อชะลอน้ำให้ไหลช้าลง และถูกขังอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานานพอจนเกิดความชุ่มชื้นและกลายเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์จากตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ เราจึงเห็นได้ว่าพระองค์ทรงแก้ปัญหาได้ตรงจุด และวิธีการที่ใช้นั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงอีกทั้งไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ที่มา http://royal.dnp.go.th/paro16/project-item/huai-hong-khrai/
นอกจากจะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นแล้ว วัสดุที่พบง่ายแต่นำไปใช้ประโยชน์ยาก ก็ได้ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาด้วยตัวอย่างเช่น หญ้าแฝก ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีรากยาวที่ชอนไซได้ลึกจึงสามารถปกป้องหน้าดินไม่ให้ถูกฝนกัดเซาะจนพังทลายและช่วยเพิ่มปริมาณความชื้นได้ เนื่องจากรากของหญ้าแฝกที่สานกันเป็นร่างแหช่วยดูดยึดน้ำไว้ในดิน และเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ อินทรียวัตถุในดินจึงเพิ่มมากขึ้น นั่นคือดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และหญ้าแฝกจึงช่วยฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ลาดซันและพื้นที่ดินจืด
แม้แต่วัสดุเหลือทิ้ง เช่น ฟางและเศษใบไม้ ก็สามารถนำไปวางปกคลุมหน้าดินได้ และจะช่วยรักษาความชื้นในดินไม่ให้น้ำระเหยไปอย่างรวดเร็ว จุลินทรีย์จึงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงเพิ่มขึ้น และช่วยป้องกันวัชพืช เพราะการคลุมดินทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงวัชพืชจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นพืชที่ปลูกจึงเจริญเติบโตได้เต็มที่
ด้วยพระวิริยะอุดสาหะในการทรงงาน ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดซสามารถพลิกฟื้นพื้นดินที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้อย่างมั่นคงให้แก่ประชาชน สมกับความตั้งใจของพระราชชนนี้ในรัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานพระนามว่า ภูมิพลซึ่งแปลว่า กำลังของแผ่นดิน จากพระปรีซาสามารถและพระราชกรณียกิจในการพัฒนา และแก้ปัญหา ตลอดจนดูแลรักษาทรัพยากรดิน องค์การสหประซาชาติ (United Nations) จึงได้กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี อันเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ เป็นวันดินโลก (World Soil Day)
ทางโครงการ GLOBE สสวท. จึงจัดประกวดผลงานโปสการ์ดดีเด่นวันดินโลก (Word Soil Day) ที่ได้ถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการทำเพื่อสืบสานและน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ไปใช้ในการอนุรักษ์และแก้ปัญหาดินในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างผลงาน
ในการประกวดครั้งนี้มีผู้ร่วมส่งผลงานเป็นจำนวนมากทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยผู้ที่ส่งผลงานสามารถตรวจสอบรายชื่อรางวัลดีเด่นทาง Facebook และเว็บไซต์ครงการ GLOBE ประเทศไทย สำหรับกิจกรรมการประกวดที่น่าสนใจสามารถติดตามได้จาก Facebook และเว็บไซต์โครงการ GLOBE ประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
ใครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบคั้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560, จาก https://king9.ohm.go.th/
ภัทราวุธ พุสิงห์ (2555. ตามรอยพระบาทจอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน กรุงเทพมหานคร: ริษัทอัมรินทร์ริ้นติ้ง แฮนด์พับลิซซิ่งจำกัด (มหาชน)
มูลนิธิชัยพัฒนา The chaipattana foundation. สืบคั้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development/concepts-and-theories-about-soil.html.
รูปดินในโปสการ์ต. สืบคั้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560, จา https://pixabay.com/er/plant-sol-sapling-seedling -growth-912796/
รูปโปสการ์ด. สืบคั้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560, จา! https://pixabay.com/en/postcard-antique-vintage-paper-991676.
สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา. (2559). เจ้านายเล็ก 7 ยุวกษัตริย์ เล่ม 1. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราซูปถัมภ์.
-
12486 วันดินโลก (World Soil Day) /index.php/article-science/item/12486-world-soil-dayเพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง