logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความสำคัญของเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ต่อการพัฒนายารักษาโรค

โดย :
ดร.ไพบูลย์ เงินมีศรี
เมื่อ :
วันศุกร์, 29 กันยายน 2566
Hits
637

   ปัจจัยสี่ คือสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งประกอบด้วยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ถ้ามองประเทศไทยโดยรวมแล้ว ดูเหมือนว่าประเทศเรามีสิ่งเหล่านี้อยู่ครบ เราผลิตอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้มากเกินปริมาณความต้องการของประเทศ จนต้องมีการส่งออกและนำรายได้เป็นกอบเป็นกำเข้าประเทศ สำหรับที่อยู่อาศัย ผู้คนส่วนใหญ่ก็มีเป็นของตนเอง ใหญ่บ้างเล็กบ้างตามกำลังซื้อของแต่ละคน ส่วนยารักษาโรคก็มีใช้เกือบครบทุกโรคตามสถานพยาบาลทั่วไป ดังนั้นดูเหมือนว่าประเทศไทยไม่ได้ขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในสี่ปัจจัยนี้เลย แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประเทศไทยไม่มีความสามารถในการผลิตยารักษาโรคได้เองเลย ประมาณ 2 ใน 3 ของยาที่บริโภคในประเทศนี้เป็นยาสำเร็จรูป ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนอีก 1 ใน 3 ที่หลายคนเข้าใจว่ามีการผลิตในประเทศ ความจริงก็คือเป็นขั้นตอนปลายน้ำที่ผู้ประกอบการไทยนำเข้าวัตถุดิบทางยาจากต่างประเทศและนำมาพัฒนาเป็นตำรับยาในเชิงอุตสาหกรรม

ภาพนักวิทยาศาสตร์กับอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์

ภาพนักวิทยาศาสตร์กับอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์

   อ้างตามคำแถลงของ นพ.สุวิทย์  วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายา ในช่วงระหว่างที่มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 - มิถุนายน 2554 พบว่ามูลค่าการบริโภคยาในประเทศสูงถึง 134,482,077,585 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ปกติจะไม่เกินร้อยละ 20 และที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ ประเทศไทยนำเข้ายาที่บรรจุแล้วจากต่างประเทศถึง 99,663.8 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบรรจุในประเทศ แต่ยังคงเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ คงเป็นการดีไม่น้อยถ้าหากเราสามารถที่จะลดการพึ่งพายาจากต่างประเทศลงได้ แล้วเป็นไปได้แค่ไหนที่เราจะผลิตยาได้เองจริง ๆ เรามาดูตัวอย่างการค้นพบยาที่สำคัญๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่ายาแต่ละตัวมีที่มาอย่างไร

ยาควินิน (quinine)

ยาควินิน (quinine) ซึ่งเคยใช้เป็นยาหลักใน การรักษาไข้มาลาเรียสามารถสกัดมาจากเปลือกของต้นซิงโคนา (cincona)

   ในอดีตมีการใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรคโดยตรง จากนั้นก็มีการพัฒนาโดยการแยกเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์มาใช้เป็นยารักษาโรค ยกตัวอย่างเช่น ยาควินิน (quinine) ซึ่งเคยใช้เป็นยาหลักในการรักษาไข้มาลาเรียสามารถสกัดมาจากเปลือกของต้นซิงโคนา (cincona) ในสภาวะปกติปริมาณควินินที่ผลิตได้มีเพียงพอกับ ความต้องการแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการควินิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงได้มีการพยายามสังเคราะห์สารนี้ขึ้นในห้องปฏิบัติการและในที่สุดนักเคมีชาวอเมริกันชื่อ อาร์.บี.วูดเวิร์ด (R. B. Woodward) และ ดับเบิลยู. อี. ดูเออริง (W. E. Doering ) ก็สามารถสังเคราะห์สารนี้ขึ้นมาได้ในปี ค.ศ. 1944 การค้นพบนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ทางเคมีอินทรีย์ เนื่องจากในสมัยนั้นเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ยังเป็นการลองผิดลองถูก ไม่มีใครคิดว่าสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (natural product) ที่โครงสร้างซับซ้อนอย่างควินินจะสามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้จากสารเคมีที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ การค้นพบนี้เป็นแรงผลักดันให้มีการทำวิจัยทางด้านนี้กว้างขวางขึ้น มีการรายงานการสังเคราะห์ควินินโดยวิธีการอื่น ๆ ของนักเคมีอีกหลายท่านออกตามมา แต่ท้ายสุดก็ไม่ได้มีการนำวิธีการของใครไปใช้จริง เนื่องจากการสังเคราะห์มีความซับซ้อน และมีหลายขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตยาโดยวิธีการสังเคราะห์สูงมากเกินไป ที่สำคัญหลังทศวรรษ 1940 ได้มีการนำยาอื่นที่ดีกว่ามาใช้ในการรักษาไข้มาลาเรีย ปัจจุบันยาที่ใช้เป็นหลักคือยาชุดต้านมาลาเรียเอซีที (ACT : Artemisinin-based Combination Therapy) ซึ่งเป็นการรวมเอายาอาร์ทีมิซินินและยารักษาไข้มาลาเรียตัวอื่นเข้าด้วยกัน เพื่อลดการดื้อยา ส่วนควินินจะถูกใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น อันเนื่องจากผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย

   แม้ว่าในอดีตการสังเคราะห์ควินินระดับอุตสาหกรรมเพื่อนำมาใช้เป็นยาจะไม่ได้เกิดขึ้น แต่ยารักษาโรคในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่ามาจากการสังเคราะห์ทั้งสิ้น (ในกลุ่มของยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีเพียงอาร์ทีมิซินินตัวเดียวเท่านั้นที่ยังมีการสกัดมาจากพืชโดยตรง) แน่นอนว่าการรักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพรมีข้อดีคือ ราคาถูกและหาได้ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อย่างไรก็ตามการพึ่งสมุนไพรในการรักษาโรคก็อาจมีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณ ในอดีตถือว่าเป็นเรื่องโชคดีที่ต้นซิงโคนาผลิตควินินออก มาในปริมาณที่ค่อนข้างสูง (สูงถึง 13% ของเปลือก) แต่กระนั้นในยามสงคราม ควินินก็มีไม่เพียงพอแม้ว่าจะมีการเร่งปลูกต้นซิงโคนาเพิ่มขึ้นก็ตาม ทหารในสนามรบทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและอักษะต้องเสียชีวิตจำนวนมากด้วยไข้มาลาเรียเนื่องจากขาดยารักษา

สารต้านมะเร็งแท็กซอล (taxol) ในเปลือกต้น Pacific yew

สารต้านมะเร็งแท็กซอล (taxol) ในเปลือกต้น Pacific yew

   โดยทั่วไปพืชสมุนไพรมักจะผลิตสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาในปริมาณที่ค่อนข้างตํ่า บางชนิดก็มีปริมาณน้อยมาก นอกจากนี้บางชนิดยังต้องใช้เวลาในการปลูกนานมากด้วย ดังนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะผลิตยาทุกชนิดให้เพียงพอกับความต้องการโดยอาศัยแต่ธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น มีการค้นพบสารต้านมะเร็งแท็กซอล (taxol) ในเปลือกต้น Pacific yew ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1967 โดยเปลือกทั้งหมดจากต้นไม้ใหญ่อายุกว่าร้อยปี ให้สารแท็กซอลออกมาเพียง 300 มิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งสามารถนำไปผลิตยาได้เพียง 1 เม็ด ลองคิดดูว่าเราจะต้องโค่นต้นไม้มากมายขนาดไหนเพื่อที่จะผลิต ในทศวรรษ 1970 ได้มีความพยายามในการสังเคราะห์แท็กซอลขึ้น แต่ก็ไม่มีวิธีไหนที่สามารถที่จะนำไปใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1981 นักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ ปีแยร์ โปตีเย (Pierre Potier) พบว่าเขาสามารถที่จะแยกสาร 10-deacetylbaccatin ในปริมาณมากได้จากยางไม้รูปเข็มของต้น European yew สารนี้มีโครงสร้างคล้ายแท็กซอล ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์สั้นลง และในปี ค.ศ. 1988 การสังเคราะห์แท็กซอลของทีมงานเขาก็เป็นผลสำเร็จ แต่มันก็ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้จริง เนื่องจากร้อยละของผลิตภัณฑ์ตํ่าเกินไป หลังจากนั้นนักเคมีชาวอเมริกันชื่อ รอเบิร์ต เอ. ฮอลตัน (Robert A. Holton) ก็ได้ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ ในการคิดค้นวิธีการสังเคราะห์ที่ดีกว่าสำเร็จในปี ค.ศ. 1989 วิธีการนี้ได้รับการปรับปรุงจนสามารถนำไปใช้ผลิตแท็กซอลในระดับอุตสาหกรรมได้จริงในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นปีที่แท็กซอลได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้เป็นยารักษามะเร็งได้ จากข้อมูลนี้เราจะเห็นว่ากว่าจะได้ยามาสักตัวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลานานถึง 25 ปีตั้งแต่การค้นพบ กว่าจะได้รับอนุญาตจาก FDA และผลิตจำหน่ายได้ แต่ผลตอบแทนก็ถือว่าคุ้ม นอกจากการได้ช่วยชีวิตคนแล้ว บริษัทยาก็สามารถทำรายได้มหาศาลโดยบริษัทมียอดขายของแท็กซอลสูงสุดในปี ค.ศ. 2000 ทำรายได้ถึง 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

   นอกจากปริมาณในการผลิตแล้ว ข้อดีของการสังเคราะห์ยาคือ เราสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างสารตามที่ต้องการได้ เช่น สารที่เราค้นพบจากธรรมชาติอาจมีฤทธิ์ทางยาแต่เป็นฤทธิ์ที่ตํ่า เราก็สามารถสังเคราะห์สารอนุพันธ์อื่นๆ ที่โครงสร้างคล้ายกันขึ้นมา แล้วนำสารเหล่านี้ไปทดสอบสมบัติ เราก็อาจโชคดีค้นพบสารที่มีฤทธิ์ดีกว่าเดิมได้ ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันเราสามารถที่จะออกแบบโครงสร้างยาได้เอง หากมีข้อมูลของตำแหน่งที่เราต้องการให้ยาไปออกฤทธิ์ ตัวอย่างยาที่ได้มาด้วยวิธีการนี้คือ โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ซึ่งเป็นยารักษาไข้หวัดนก ยานี้ลูกค้นพบโดย ซี. ยู. คิม (C. U. Kim) และทีมวิจัยจากบริษัท Gilead Sciences ในสหรัฐอเมริกา ในงานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาโครงสร้างของเอนไซม์ neuraminidase ของเชื้อไวรัสด้วยการเอกซเรย์  ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างสาร เพื่อที่จะใช้ยับยั้งเอนไซม์ตัวนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะทำนายได้ว่าสารตัวไหนจะออกฤทธิ์ได้จริง จึงมีการออกแบบสารหลายตัวด้วยกัน หลังจากนั้นจะต้องมีการสังเคราะห์สารเหล่านี้ขึ้นมาจริง สารต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จะถูกนำไปทดสอบการออกฤทธิ์ หากออกฤทธิ์ได้แต่ถ้าฤทธิ์ยังไม่ดี ก็จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสารเพิ่มเติม จนนำไปสู่การค้นพบโอเซลทามิเวียร์ ยานี้สามารถสังเคราะห์ได้จากสาร (-)-shikimic acid ซึ่งพบในโป๊ยกั๊กหรือจันทน์แปดกลีบ (Chinese star anise) 

(-)-shikimic acid ซึ่งพบในโป๊ยกั๊กหรือจันทน์แปดกลีบ (Chinese star anise) 

(-)-shikimic acid ซึ่งพบในโป๊ยกั๊กหรือจันทน์แปดกลีบ (Chinese star anise) 

   และการผลิตในสภาวะปกติก็เพียงพอกับความต้องการ แต่ในปี ค.ศ. 2005 เริ่มมีการกักตุนยานี้ในแต่ละประเทศ เนื่องจากความหวาดกลัวว่าไข้หวัดนกอาจมีการระบาดเป็นวงกว้าง ทำให้บริษัท Roche ซึ่งถือสิทธิบัตรของยานี้อยู่ ถึงกับผลิตยาได้ไม่ทันกับความต้องการในช่วงนั้น  สำหรับประเทศไทย ได้มีการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory Licensing, CL) สำหรับยานี้ ทำให้เราได้ยาราคาถูกลงและไม่ต้องพึ่งบริษัท Roche ในการผลิต แต่ผลเสียที่เกิดก็คือ เราถูกจับตามองจากสหรัฐอเมริกาในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

   จะเห็นได้ว่าการที่จะได้มาซึ่งยาตัวหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการวิเคราะห์หาสารที่จะเป็นยาก่อน ดังนั้นการวิจัยหายาจากสมุนไพรต้องได้รับการสนับสนุนแต่การวิจัยทางด้านนี้ด้านเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการผลิตได้ จากตัวอย่างที่กล่าวมาเราจะเห็นว่า การที่จะนำยาไปใช้รักษาโรคได้จริงและมีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ จำเป็นจะต้องมีการสังเคราะห์สารขึ้นมาด้วย ปัญหาก็คือปัจจุบันมีนักวิจัยไทยที่ทำงานทางด้านนี้น้อยมากๆ (ผู้เขียนประมาณว่าทั้งประเทศเรามีจำนวนไม่เกิน เลข 2 หลัก) ซึ่งอาจเป็นเพราะการทำงานวิจัยทางด้านนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถเป็นอย่างยิ่ง การสังเคราะห์สารที่มีโครงสร้างใหม่ขนาดใกล้เคียงกับโอเซลทามิเวียร์ อาจต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี ถ้าขนาดใกล้เคียงกับแท็กซอลอาจใช้เวลามากกว่า 10 ปี และจะต้องใช้เงินในการวิจัยหลายล้านบาท แน่นอนว่ามันไม่ใช่งานวิจัยในอุดมคติของนักวิจัยไทย ที่ส่วนมากได้รับงบวิจัยน้อยและต้องส่งผลงานในระยะเวลาอันสั้น ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนตั้งบริษัทยา ต้องใช้เงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่จะมีเอกชนไทยมาลงทุน ความเป็นไปได้ที่เราจะผลิตยาได้เองและถือสิทธิบัตรเองเป็นเรื่องยากมาก ณ ตอนนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจัง การแก้ปัญหาระยะยาวเกี่ยวกับยาที่นำเข้ามีราคาแพงไม่ใช่การทำ CL แต่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้ขึ้นมาเอง แน่นอนว่ายาที่เราผลิตได้อาจไม่ใช่ยาที่เราต้องการทำ CL แต่รายได้จากยาตัวนี้น่าจะช่วยลด ‘การขาดดุลทางยา’ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้ นอกจากนี้การที่เราผลิตยาได้เองจริงๆ ยังจะเป็นการแสดงถึงศักยภาพของประเทศไทย ในการผลิตและส่งออกสินค้าเทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นแค่เพียงผู้บริโภคเทคโนโลยีอยู่อย่างเดียว

   ในความเป็นจริงการสังเคราะห์ของวูดเวิร์ดเป็นแบบ formal synthesis เท่านั้น ไม่ใช่ total synthesis (สังเคราะห์เองหมด) อย่างชื่อเรื่องที่ตีพิมพ์หรืออย่างที่นักเคมีหลายคนเข้าใจ เนื่องจากวูดเวิร์ดสังเคราะห์สารจนถึงควิโนท็อกซิน (quinotoxine) เท่านั้น แล้วไม่ได้สังเคราะห์ต่อเองจนเสร็จแต่อาศัยรายงานวิจัยในปี ค.ศ. 1918 จองนักเคมีชาวเยอรมันชื่อ เพาล์ ราเบอ (Paul Rabe) และ คาร์ล คินด์เลอร์ (Karl Kindler) ที่ได้เปลี่ยนควิโนท็อกซิน ซึ่งเตรียมมาจากควินินกลับไปเป็นควินินเหมือนเดิม วูดเวิร์ดได้เขียนรายงานการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีโครงสร้างซับซ้อนออกมาอีกหลายตัว และผลจากความสำเร็จในการสังเคราะห์สารเหล่านั้น ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1965

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ปีที่ 41 ฉบับที่ 180 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2556

ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่  https://emagazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

ASTV manager newspaper. (Online), 19/8/2011.

Goodman, J.& Wash, V.(2001). The Story of Taxol: Nature and Politics in the  Pursuit of an Anti-Cancer Drug. Cambridge University Press.

Kim, C. U.,Lew, w.,Williams, M. A.,Liu, H. Zhang, L. Swaminathan, s. Bischof-berger, N.,Chen, M. S.,Mendel, D. B.,Tai, C. Y..Laver, W. G. & Stevens,R. C. (1997) Influenza Neuraminidase Inhibitors Possessing a Novel Hy-

drophobic Interaction in the Enzyme Active Site: Design, Synthesis, and Structural Analysis of Carbocyclic Sialic Acid Analogues with Potent Anti-Influenza Activity  Journal of The American Chemical Society.,119, 681-690.

Rabe, p. & Kindler, K. (1918) Uber die partielle Synthese des Chinins. Zur Kenntnis der China-Alkaloide XIX  Chemiscse Berichte., 51, 466-467.

Woodword, R. B., Doering, W. E. 1945, The Total Synthesis of Quinine Journal of The American Chemical Society. 66, 849-849; Journal of The American Chemical Society. 1945, 67, 860-874.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เคมีอินทรีย์, สังเคราะห์สาร, ยารักษาโรค, การผลิตยา, สมุนไพร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร.ไพบูลย์ เงินมีศรี
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12820 ความสำคัญของเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ต่อการพัฒนายารักษาโรค /article-chemistry/item/12820-2023-01-27-06-39-18
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การผลิตยา ยารักษาโรค สังเคราะห์สาร เคมีอินทรีย์ สมุนไพร
คุณอาจจะสนใจ
ผักแปม สมุนไพรปรับสมดุลร่างกาย
ผักแปม สมุนไพรปรับสมดุลร่างกาย
Hits ฮิต (41193)
ให้คะแนน
ในยุคสังคมออนไลน์ปัจจุบันการเจริญของเทคโนโลยีและการเติบโตของสังคมเมือง ทำให้คนเรามีความสะดวกสบายในก ...
เห็ดหลินจือ สมุนไพรยอดแห่งการปรับสมดุลร่างกาย
เห็ดหลินจือ สมุนไพรยอดแห่งการปรับสมดุลร่...
Hits ฮิต (41118)
ให้คะแนน
ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 12 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่ ...
หญ้าดอกขาว สมุนไพรช่วยสิงห์อมควัน เลิกสูบบุหรี่
หญ้าดอกขาว สมุนไพรช่วยสิงห์อมควัน เลิกสู...
Hits ฮิต (42668)
ให้คะแนน
หญ้าดอกขาว เดิมที่เป็นพวกวัชพืชข้างทางหรือที่รกร้างทั่วๆ ไป ขึ้นเจริญอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ปัจ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)