สาธารณรัฐ Kiribati กับการเป็นอาณาจักร Alantis ในอนาคต
สาธารณรัฐ Kiribati (อ่าน Ki-ri-bas) เมื่อ ครั้งที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นที่รู้จักในนามหมู่เกาะ Gilberts ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร โดยมีเส้นแวงที่ 180° ลากผ่าน ดังนั้น ชาว Kiribati จึงเป็น ชนชาติแรกของโลกที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็น จุดขายสำหรับการท่องเที่ยว แต่ในเวลาเดียวกัน Kiribati ก็มีความน่าสนใจในประเด็นที่กำลังจะจมน้ำทั้งเกาะ จากปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ตลอดเวลา
ภาพ 1 เมิอง South Tarawa สาธารณรัฐ Kiribati
ที่มา https://www.teriin.org/article/kiribati-land-no-tomorrow
Kiribati ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 33 เกาะ กระจัดกระจายอยู่ระหว่างทวีปออสเตรเลียกับหมู่เกาะฮาวาย มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 811 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.5 แสนคน ผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงชื่อ Tarawa บนเกาะ Tarawa Atoll ซึ่งมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากและ มีทะเลสาบ (Lagoon) อยู่ในเกาะ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทาง ไปเยือนได้โดยใช้บริการของสายการบิน Fiji Airways ซึ่งบินตรง จากเกาะ Fiji ถึง Tarawa ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ชาวเกาะ ส่วนใหญ่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจาก Fiji สัปดาห์ละ 2 เที่ยวบินโดยเครื่องบินจะลงจอดที่สนามบิน Bonriki บนเกาะ สนามบินตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 3 เมตร ในขณะที่พื้นดินส่วนอื่นของเกาะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยเพียง 2 เมตร ดังนั้น ปัญหาที่ชาว Kiribati กำลังเผชิญอยู่ทุกวันคือในเวลากลางคืนซึ่งเป็นเวลาน้ำขึ้น ชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ส่วนต่ำของเกาะจะยกและ ขนทรัพย์สมบัติหนีน้ำทะเลสกปรกเพื่อนำสิ่งของเครื่องใช้ขึ้นที่สูงและคอยจนกระทั่งฟ้าสาง เมื่อระดับน้ำทะเลลด เกาะก็จะกลับสู่สภาพปกติ เมื่อถึงเวลาบ่ายน้ำก็จะขึ้นท่วมเกาะอีก ความทุกข์กังวลของชาว Kiribati จึงขึ้นกับเวลาน้ำขึ้นและลง
ในรายงานประจำาปี ค.ศ. 2015 ขององค์การ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) แห่ง สหประชาชาติ ซึ่งได้เขียนคำาพยากรณ์ไว้ว่า ขณะที่โลกกำาลัง ประสบปัญหาดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงมาก ทำให้ก้อน น้ำแข็งขนาดใหญ่ในทวีปแอนตาร์กติกาละลายในปริมาณ มากขึ้นๆ ทุกปี ถึงปี ค.ศ. 2100 การละลายของน้ำแข็ง ในแถบขั้วโลกทั้งสองจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มถึง 1 เมตร มีผลทำให้ผู้คน 145 ล้านคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมมหาสมุทร และทะเลทั่วโลกต้องประสบความเดือดร้อน ถ้าคำาพยากรณ์นี้ เป็นจริง นั่นแสดงว่า สาธารณรัฐ Kiribati จะถูกน้ำาท่วมอย่าง แน่นอน และบรรดาเมืองใหญ่น้อยของประเทศอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ ริมทะเล หรือมหาสมุทรก็จะถูกน้ำท่วมเช่นกัน เช่น Bombay ในอินเดีย Dakka ในบังคลาเทศ New York ในอเมริกา และ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้คนนับร้อยล้านต้องอพยพ ย้ายถิ่นขึ้นที่สูง สำหรับคนชาติอื่น นี่มิใช่ปัญหาใหญ่ เพราะ ผู้เดือดร้อนสามารถอพยพขึ้นพื้นที่สูงได้ แต่ชาว Kiribati จะประสบปัญหาคือไม่มีที่จะไป ยิ่งเมื่อ IPCC พยากรณ์ไว้ว่า ในอีก 500 ปีระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 15 เมตร Kiribati จึงมีแนวโน้มว่ากำาลังจะเป็นนคร Atlantis ในอนาคต อย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดี Anote Tong แห่ง Kiribati จึงได้ปราศรัยเตือนประชาชนทุกคนให้เตรียมอพยพออก จากเกาะ
แต่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ได้ติดตามศึกษา สภาพภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะ Kiribati มาเป็นเวลานานร่วม 20 ปี กลับมีความเห็นว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเกาะคงไม่เกิดขึ้น ในเร็ววัน เพราะหมู่เกาะ Kiribati เกิดจากปะการัง ซึ่งเป็นแหล่ง สะสมของตะกอนที่ถูกพัดพามากับกระแสน้ำในมหาสมุทร ดังนั้น ขนาดของเกาะจึงมีแต่จะขยาย แต่ความสูงไม่เพิ่มขึ้น ความกว้างใหญ่ของพื้นที่ก็ไม่ได้มากพอจะหักล้างกับการกัดเซาะ ชายฝั่งโดยคลื่นในมหาสมุทร ซึ่งได้ชะล้างความอุดมสมบูรณ์ ของดินบนเกาะไปทุกวัน
นอกจากปัญหาภูมิศาสตร์ที่ชาวเกาะไม่มีทางต่อสู้ แล้ว ชาว Kiribati ก็มีปัญหาด้านสังคมด้วย เพราะชาวเกาะ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนมาก และได้อพยพจากเกาะขนาดเล็ก มาอยู่รวมกันบนเกาะใหญ่ และมาดำรงชีพอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีส้วม มีฟาร์มเลี้ยงหมูที่ถูกน้ำท่วมบ่อย ทำาให้ปฏิกูลหมู ไหลนอง มีผลทำาให้น้ำจืดที่ชาวเกาะใช้บริโภคมีสารปนเปื้อน เป็นประจำ น้ำจึงไม่สะอาดและมีรสกร่อย ทำให้ผู้คนบน เกาะป่วยเป็นโรค ทุกวันนี้เกาะเล็กจึงไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย เพราะขาดน้ำดื่มที่สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนไม่ตก
ผู้คนจึงต้องอพยพไปอยู่ที่เมืองหลวง Tarawa และประกอบอาชีพขุดน้ำบาดาลจากบ่อที่อยู่ในบริเวณสนามบินโดยใช้ปั๊ม เมื่อผู้คนหลั่งไหลมามากขึ้นๆ คนเหล่านี้ก็มีปัญหาเร่ือง การหางาน และการให้ลูกหลานได้รับการศึกษา ดังนั้น ความเดือดร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นตลอดเวลา เมื่อมี คนว่างงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อการปฏิเสธช่วยเหลือคนอื่นที่เดือดร้อนเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับชาว Kiribati ดังนั้นเมือง Tarawa จึงมีลักษณะคล้ายสลัมแห่งเมือง Bombay มากขึ้นทุกวัน
ภาพ 2 เมิอง South Tarawa
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:South_Tarawa_from_the_air.jpg
ปัญหาที่คนทั้งโลกสนใจคือ Kiribati จะจมน้ำเมื่อไร และชาว Kiribati จะอพยพไปที่ใด
Kiribati เป็นเกาะจากปะการังที่ได้เจริญเติบโตบน เนินภูเขาไฟใต้มหาสมุทร ดังนั้นเมื่อขุดดินบนเกาะลงไปลึกๆ จะพบหินภูเขาไฟ และตลอดเวลานับล้านปีที่ผ่านมาซากหอย และปูที่อาศัยอยู่ตามปะการังได้หลอมรวมกับสาหร่ายทะเล จนกลายเป็นหินปูนเรียงรายกันเป็นวงกลม ครั้นเมื่อยอดของ ปะการังเจริญเติบโตถึงระดับน้ำมหาสมุทร ดินข้างล่างจะทรุดลง ทำให้เกิดทะเลสาบ (Lagoon) กลางเกาะ Kiribati ที่มีภูเขาไฟ ที่ดับแล้วอยู่เบื้องล่าง เป็นหมู่เกาะปะการังที่เติบโตมาพร้อมกับ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงตลอดเวลา และเนื่องจากน้ำได้ดูดซับ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จนกลายเป็นกรดอ่อนๆ และน้ำมี อุณหภูมิสูง ปะการังที่อยู่รอบเกาะจึงถูกฟอกขาวและเติบโตช้า การวัดอายุของปะการังโดยใช้เทคนิคคาร์บอน-14 แสดงให้ เห็นว่า ในช่วงเวลา 10,000 ปีที่ผ่านมา ปะการังได้เติบโตช้าลง ๆ
ประธานาธิบดี Tong จึงเน้นย้ำว่า ใครที่ไม่เชื่อว่า โลกกำลังร้อนขึ้นตลอดเวลาก็ตามใจ แต่ขอเตือนให้ชาวเกาะ ทุกคนอพยพออกไปก่อนอย่างมีศักดิศรี แทนที่จะหอบผ้าผ่อน แล้วทั้งเกาะไปเหมือนพวกอพยพชาวซีเรีย และเพื่อช่วยเหลือ ผู้อพยพ รัฐบาล Kiribati ได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 22 ตารางกิโลเมตร บนเกาะ Fiji ในราคา 300 ล้านบาท ให้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของชาว Kiribati แม้จะยังไม่ได้กำหนดให้ใครมีสิทธิอยู่ และ ให้อยู่ได้ตั้งแต่เมื่อใดก็ตาม ประธานาธิบดี Tong เชื่อว่า วิธีซื้อที่ดินก็ยังดีกว่าวิธีสร้างเขื่อนล้อมรอบเกาะ เพื่อให้เกาะ ปลอดภัยจากการถูกน้ำทะเลท่วม
ในขณะที่ชาว Kiribati กำาลังต้องต่อสู้กับภัยน้ำ ทะเลท่วม ชาวโลกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณใกล้ชายทะเล ทั่วโลกก็ต้องสังวรในภัยพิบัตินี้ด้วย เพราะรายงานของ IPCC ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 2016 แสดงให้เห็นว่าอีก 500 ปี น้ำแข็งบนทวีปแอนตาร์กติกาจะละลาย จนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่า 15 เมตร และเมื่อน้ำแข็งละลาย น้ำบางส่วนจะไหลไปขังอยู่ ในรอยแตกของน้ำแข็ง และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำ มันจะขยายตัว และดันให้น้ำแข็งแตก (น้ำที่ 4 °C มีความหนาแน่นมากที่สุด ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิลดจาก 4 เป็น 0 องศา น้ำจะขยายตัว) และละลาย มีผลทำาให้ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น
ภาพ 3 ประชาชนชาว Kribati
ที่มา https:/www.nbcnews.co com/mach/science/three-islands-disappea peared-past-year-climate-change-blame- e-ncna1015316
Kiribati มิได้เป็นเกาะเดียวเท่านั้นที่กำลังจมน้ำ ในอเมริกาก็มีเกาะ Tangier ซึ่งตั้งอยู่กลางอ่าว Chesapeake ของรัฐ Virginia ก็กำาลังถูกน้ำท่วมบ่อยจนผู้เชี่ยวชาญพยากรณ์ ว่า เกาะจะจมหายไปใต้น้ำอย่างถาวรในอีก 25 ปีเช่นกัน
ตลอดเวลา 240 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่บนเกาะที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลกว่า 1 เมตร ได้ลดลงตลอดเวลา เพราะชายทะเล ถูกน้ำกัดเซาะ และระดับความสูงของน้ำทะเลได้เพิ่มเนื่องจาก ภาวะโลกร้อน นั่นหมายความว่า ในปี ค.ศ. 2043 เกาะนี้ ก็จะกลายเป็นเพียงเกาะในความทรงจำเท่านั้นเอง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Earl Swift, Earl. (2018). Chesapeake Requiem: A Year with the Watermen of Vanishing Tangier Island. Dey Street.
Warnes, K. (2015). Will Pacific Island Nations Disappears as Seas Rise? Maybe Not: Reef Island can grow and change shape as sediments shift, study shows. National Geographic. February 2015.
-
12171 สาธารณรัฐ Kiribati กับการเป็นอาณาจักร Alantis ในอนาคต /article-earthscience/item/12171-copyเพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง