ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 7 อสมการ
จากบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในตอนที่ 6 สมการ ในตอนนี้ก็ถึงคราวนำเสนอเกี่ยวกับกับอสมการกันบ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้งสมการและอสมการก็ถือว่าค่อนข้างที่จะมีความใกล้เคียงกันอยู่ไม่น้อย จะมีรายละเอียดอย่างไรนั้น ติดตามอ่านกันได้เลย
ภาพเครื่องหมายไม่เท่ากับ
ที่มา https://pixabay.com/ , OpenClipart-Vectors
ในหลักการทางคณิตศาสตร์ มีการกำหนดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เพื่ออธิบายหรือเปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้เครื่องหมาย “=” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ว่าเท่ากัน เช่น 3=3, x2+3=19 เป็นต้น ความสัมพันธ์นี้เรียกว่า “สมการ” ดังที่กล่าวไปในบทความครั้งก่อน ส่วนการเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เท่ากัน มีการกำหนดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เพื่ออธิบายหรือเปรียบเทียบความสัมพันธ์นั้นได้แก่ เครื่องหมาย “≠” เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ว่าไม่เท่ากัน เช่น 2≠3 , x2 + 3x +1≠ 0 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายอื่น ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
เครื่องหมายน้อยกว่า "<" เพื่อแสดงความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่ทางซ้ายน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ทางขวา
เครื่องหมาย มากกว่า ">" เพื่อแสดงความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่ทางซ้ายมากกว่ากว่าสิ่งที่ทางขวา
เครื่องหมายน้อยกว่า "<=" เพื่อแสดงความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่ทางซ้ายน้อยกว่าหรืออาจเท่ากับสิ่งที่อยู่ทางขวา
เครื่องหมาย มากกว่า ">=" เพื่อแสดงความสัมพันธ์สิ่งที่อยู่ทางซ้ายมากกว่าหรืออาจเท่ากับสิ่งที่ทางขวา
ซึ่งความสัมพันธ์ที่ประกอบด้วยเครื่องหมาย “≠”,"<",">","<=",">=" เราเรียกว่า อสมการ
หลักการทั่วไปในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาสมการทั่ว ๆ ไป
โดยทั่วไปนั้น โจทย์ปัญหาอสมการ ก็มีการกำหนดตัวแปรและหลักในการแปลงให้เป็นประโยคสัญลักษณ์เช่นเดียวกันกับในเรื่องสมการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
-
วิเคราะห์โจทย์แปลงโจทย์ปัญหาทั่วๆ ไปให้อยู่ในรูปแบบสัญลักษณ์
-
กำหนดตัวแปรแทนข้อความที่ยังไม่ทราบค่าหรือที่โจทย์ต้องการหา
-
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อความด้วยสัญลักษณ์ “≠”,"<",">","<=",">=" ตามที่โจทย์กำหนด
-
การแก้อสมการแบบง่ายคือการทำให้ข้างหนึ่งของอสมการเป็นศูนย์
-
ใช้คุณสมบัติการไม่เท่ากัน ได้แก่ คุณสมบัติการบวกด้วยจำนวนเท่ากันคุณสมบัติการลบด้วยจำนวนเท่ากัน คุณสมบัติการคูณด้วยจำนวนจริงบวก และคุณสมบัติการคูณด้วยจำนวนจริงลบ
-
คำตอบของอสมการ คือ ค่าของตัวแปรที่ทำให้อสมการเป็นจริง และเซตคำตอบของอสมการ คือ เซตของค่าตัวแปรทั้งหมดที่ทำให้อสมการเป็นจริง
ตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณอสมการที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง ต้องเตรียมแปลงปลูกผักเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยอยากได้พื้นที่มากกว่า 20 ตารางเมตร และวัดขนาดของความยาวเส้นรอบข้างพื้นที่ไม่เกิน 10 เมตร จะต้องเตรียมพื้นที่ความกว้างไม่เกินเท่าไหร่
วิธีคิด ให้ x เป็นความกว้างของแปลงปลูกผัก และ y เป็นความยาวของแปลงปลูกผัก
จะได้ว่า แปลงปลูกผักมีพื้นที่ xy ตารางเมตร และมีเส้นรอบพื้นที่ 2x + 2y เมตร
เนื่องจากปริมาตรต้องมากกว่า 20 ตารางเมตร จะได้ว่า xy >= 18 --- (1)
และ เส้นรอบข้างพื้นที่ไม่เกิน 20 เมตร จะได้ว่า 2x + 2y < 20 --- (2)
ดังนั้น x <= 18-2x / 2 , 1/y >= 2/(18-2x)
นั่นคือ xy(1/y) >= 20(2/18-2x)
X >= 40/18-2x
X(18-2x) >= 40
-2x2 +18x – 40 >= 0
2x2 -18x + 40 <= 0
x2 -9x + 20 <= 0
(x-5)(x-4) <= 0
จะได้ว่า 4 <= x <= 5 นั้นคือแปลงปลูกผักต้องกว้างไม่เกิน 5 เมตร
และนี่ก็คือตัวอย่างที่ทำให้เราเห็นได้ว่า อสมการ นั้นมีประโยชน์ไม่น้อยในเรื่องของการนำไปใช้คำนวณด้านต่างๆ ที่ต้องอาศัยตัวเลขที่อยู่ในช่วงของจำนวน ๆ หนึ่งนั่นเอง อย่าลืมติดตามบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในตอนสุดท้าย คือเรื่องของสถิติ โปรดติดตาม
แหล่งที่มา
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน Mathematics for Daily Life . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20150929020102_3aa31caba936b876645ada5b607be6ff.pdf
สมการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://math.sut.ac.th/~jessada/DAILY_LIFE/daily_04.pdf
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://nsm-cms.nestleicecream.in.th/file/137610/download?token=kftK6iUt
ลออองดาว บรรหาญ. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://www.kroobannok.com/news_file/p51009491322.pdf
-
11661 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 7 อสมการ /article-mathematics/item/11661-7เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง