การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นการนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์มาสอนร่วมกับการฝึกฝนทักษะการสืบเสาะหาความรู้ ทักษะการออกแบบทางวิศวกรรม และทักษะการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ (Johnson, 2013 โดยพบว่า ถ้าสามารถนำมาเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ จะทำให้การเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษามีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น
ครองแครงกะทิสด
การเรียนรู้รูปแบบนี้ส่งผลดีต่อการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน มากกว่าการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้เนื้อหาในหลักสูตรที่นำมาสอนในชั้นเรียน ทักษะที่ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาผ่านการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เช่น การวิเคราะห์ การสังเกต การวางแผนการทดลอง การนำเสนอ การคิดอย่างมีเหตุผล การสังเคราะห์ การคิดแบบเป็นระบบการตั้งคำถาม การประเมินผลในสิ่งที่ทำ การเปิดใจยอมรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ การคิดสร้างสรรค์ (GÜLEN, 2019) โดยแต่ละทักษะจะได้รับการฝึกฝนและพัฒนาในระดับที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้เรียนในกิจกรรมที่นำมาใช้เรียนรู้
จากข้อมูลในตารางแนวทางการออกแบบกิจกรรมย่อย เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางที่นำมาใช้ ในบทความเรื่อง ครองแครงกะทิสด กับแนวทางในการออกแบบกิจกรรม STEM ด้วยตนเอง (สามารถสแกน QR code ด้านข้าง หรือดูได้ที่ htps://emagazine.ipst.ac.th/227/49 จะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนย่อยของการทำครองแครงกะทิสด อาจจะไม่สามารถนำมาออกแบบทำเป็นกิจกรรม STEM ได้ทุกขั้นตอน แต่ผู้สอนสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ผู้เขียนขอนำขั้นตอนที่ 3 เรื่อง การปั้น มาใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำใบกิจกรรมการเรียนรู้ในแบบ STEM เพื่อให้เห็นภาพของการจัดทำและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรม STEM อื่น ๆ ได้ต่อไป
สำหรับนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถ้าผู้สอนไม่เคยให้ทำกิจกรรมในลักษณะนี้ หรือผู้เรียนไม่เคยได้รับการฝึกฝนให้ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองด้วยตนเอง ผู้สอนจะต้องทำใบงานที่มีตารางให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง และเห็นความแตกต่างของประเด็นที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน เมื่อผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับกิจกรรมในลักษณะนี้แล้ว ต่อไปผู้สอนสามารถทำใบงานที่มีแต่คำถามปลายเปิด แล้วให้ผู้เรียนทำการออกแบบการทดลอง และออกแบบตารางการเก็บข้อมูลจากการทดลองได้สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ก็คือ การที่ผู้เรียนจะต้องให้เหตุผลประกอบในทุก ๆ ประเด็นที่เป็นคำถามไม่ว่าผู้เรียนจะให้คำตอบถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม เพราะการให้เหตุผลประกอบ จะทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ว่า ผู้เรียนเข้าใจ มีความสามารถในการอธิบาย และให้เหตุผลได้ถูกต้องหรือไม่
ในฉบับหน้าผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการทำแบบประเมิน เพื่อให้ผู้สอนสามารถวัดและประเมินผลการทำกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของผู้เรียนได้ และช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันได้
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ปีที่ 49 ฉบับที่ 228 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2564
ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://emagazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
GÜLEN, S. (2019). The effect of STEM roles on the solution of daily life problems. Participatory Educational Research, 6(2), 37-50.GÜLEN, S. (2019). The effect of STEM roles on the solution of daily life problems. Participatory Educational Research, 6(2), 37-50.Johnson, C. C. (2013). Conceptualizing Integrated STEM Education. School Science and Mathematics, 113(8), 367–368.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)