สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1
ทุกวันนี้เราคิดว่าสะเต็มศึกษาเหมาะสำหรับใคร เราต่างเข้าใจและมีมุมมองว่าสะเต็มศึกษาคือแนวทางการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง แน่นอนว่าแนวทางการบูรณาการนี้จะถูกนำไปใช้กับนักเรียนนักศึกษา ผ่านการถ่ายทอดกระบวนการจากครูอาจารย์ ซึ่งในวันนี้ครูผู้เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดนโยบายที่ต้องปฏิบัติตินี้ มีความเข้าใจดีแล้วหรือยังและมีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับแนวทางนี้
ภาพ สะเต็มกับครู
ที่มา https://pixabay.com ,Kidaha
ด้วยนโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาเยาวชนด้วยรูปแบบการบูรณาการการศึกษาด้วยรูปแบบสะเต็ม การมุ่งสร้างกำลังคนเพื่อผลักดันประเทศให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 คือมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม การพัฒนาทักษะขั้นสูงที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมีส่วนสำคัญ เช่น ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ดังนั้น ต้นแบบสำคัญคือผู้สอนซึ่งจะเป็นผู้ถ่ายทอดแนวทักษะสำคัญนี้
ที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า มีเสียงตอบรับในหลายด้าน ด้านที่ดีก็มองว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัยของการศึกษาไทย แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ครูผู้สอนเองก็มองว่าสะเต็มศึกษาคือภาระที่ขัดขวางการสอนมากกว่าเป็นแนวการสอนที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ หรือแม้กระทั่งเพียงว่าน่าจะเป็นแค่กระแสในระยะเวลาอันสั้น เหมือนนโยบายที่ผ่าน ๆ มา จึงทำให้ไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งสำคัญให้ตระหนักและอยากจะเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า ครูยังมองไม่เห็นทิศทางที่ชัดเจนของแนวทางการจัดการศึกษานี้ คือนโยบายถูกผลักดันอย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับปฏิบัติยังมีความคลุมเครืออยู่นั่นเอง
จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ศึกษาและนำมาถ่ายทอดให้ได้อ่านกันนี้ มีใจความหนึ่งที่เห็นสำคัญอยู่เหมือนกันว่า ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นวิชาที่ครูมักจะไม่ได้ผ่านการเรียนในช่วงของการผลิตครู ซึ่งมันเป็นข้อมูลที่เป็นจริง แต่ที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้มองเห็นไปทางบวกหรือลบ แต่กำลังคิดว่ามันเป็นปัญหาเริ่มต้นที่ครูเองต้องเรียนรู้แนวทางของสะเต็มมาใช้แก้ปัญหานี้ปัญหาแรกเลย เพราะถ้าแก้ปัญหานี้ด้วยตนเองได้ เชื่อว่าครูจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้นอย่างแน่นอน และเกิดทักษะที่จะสามารถถ่ายทอดกระบวนนี้ไปถึงนักเรียนได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสะเต็มศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ คุณสุทธิดา จํารัส ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ นำแนวคิดลงสู่การปฏิบัติผ่านการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยกระบวนการสำคัญคือ แนวทางการนำวิชาการไปรับใช้สังคม โดยต้องดำเนินไปตามแนวคิดพื้นฐานที่ว่าต้องเป็นไปอย่างยั่งยืนผ่านระบบการช่วยเหลือและให้คำปรึกษา ซึ่งจะนำเสนอในโอกาสต่อไป โปรดติดตามบทความ สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 2
แหล่งที่มา
สุทธิดา จํารัส. สะเต็มศึกษาบนเส้นทางวิชาการรับใช้สังคม: จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สู่อนาคต. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
http://www.kuer.edu.ku.ac.th/file_upload/abstract/12/12-228.pdf
-
7836 สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1 /article-stem/item/7836-aเพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง