ทำไมคนรู้ดราม่า
ในโลกโซเชียลสมัยนี้ ข่าวที่ทำให้คนสนใจก็คงหนีไม่พ้นข่าวดราม่า หลายคนเปิดแก๊สต้มน้ำรอข่าว มาม่า เอ้ย ดราม่าเลยทีเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้ว ข่าวนั้นอาจไม่ได้เกี่ยวข้องและสำคัญอะไรกับชีวิตของเราเลย บางครั้งเนื้อข่าวก็ไม่ได้มีประเด็นดราม่าอะไร แต่ดันตั้งหัวข้อข่าวให้เกิดเป็นประเด็นร้อนฉ่าได้ ซึ่งก็มีคนอยู่หลายกลุ่มที่อ่านเพียงพาดหัวข้อข่าวเท่านั้น แล้วก็พากันด่าสาดเสียเทเสีย แชร์กันโดยไม่อ่านเนื้อความในข่าวเสียด้วยซ้ำ หรือบางครั้งข่าวนั้นก็ไม่ได้เป็นข่าวจริงแต่ทำขึ้นมาเพื่อเพิ่มยอดไลค์ หรือข่าวนั้นอาจเป็นความเชื่อผิด ๆ นั่นคือไม่ว่าจะเป็นข่าวเล็กหรือใหญ่ก็พร้อมมีดราม่าเสมอ เช่น ล่าสุดเกิดกระแสแชร์ข่าวในโลกโซเชียลว่าน้ำมะนาวผสมโซดาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ แถมในเนื้อข่าวยังบอกอีกด้วยว่า “องค์กรอนามัยโลกปิดเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ เพื่อขายยาและคีโม” ซึ่งร้อนไปถึงแพทย์ต้องรีบออกมาชี้แจ้งว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข่าวดราม่าทั้งหลายจึงถูกแชร์อย่างรวดเร็วจากหลายสาเหตุ เช่น แชร์เพราะชอบ แชร์เพราะไม่ชอบ แชร์เพราะต้องการตามกระแส แชร์เพราะชอบที่เห็นคนขัดแย้งกัน แชร์เพราะไม่อยากให้ทำตาม แชร์เพราะต้องการประจาน ข่าวดราม่าจึงเป็นที่นิยมและพูดถึงกันในโลกโซเชียลอย่างแพร่หลาย
แต่ทีนี้มาลองมองในมุมคณิตศาสตร์ดูบ้าง ว่าทำไมข่าวดราม่าเหล่านี้ถึงได้แพร่กระจายได้เร็วเหลือเกิน สมมติถ้ามีเพจหนึ่งโพสต์ข่าวดราม่ามา 1 ข่าว และใน 5 นาทีแรกมีคนแชร์ข่าวนี้เพียง 2 คน 5 นาทีต่อมา เพื่อนของคนที่แชร์นั้น แชร์ต่อไปอีก 2 คน และเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่าจำนวนคนที่แชร์จะแสดงได้ดังนี้ตารางนี้
ตารางและแผนภาพแสดงการแพร่กระจายของข่าวดราม่าในมุมของคณิตศาสตร์
เพียงแค่ 25 นาที ก็มีคนแชร์ไปแล้วถึง 32 คน แล้วรู้ไหมว่าเฉพาะที่เวลา 1 ชั่วโมง จะมีคนแชร์ถึง 212 = 4,096 คน และถ้า 5 นาทีแรกมีคนแชร์ 10 คน ลองคิดกันดูนะว่าข่าวนั้นจะแพร่กระจายเร็วขนาดไหน ที่ให้ลองมองในมุมคณิตศาสตร์นั้นเพื่อต้องการให้เห็นจำนวน ว่าข่าวบนโลกออนไลน์นั้นแพร่กระจายได้เร็วขนาดไหน เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ทำให้หลายพันคนได้รับรู้ข่าวแล้ว ดั้งนั้นโลกออนไลน์จึงเป็นเหมือนดาบสองคม เพราะถ้าข่าวนั้นเป็นเท็จ เวลาเพียงไม่กี่นาทีอาจเปลี่ยนชีวิตคนคนนึงได้เลย
การแชร์ข่าวด้วยสติและปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรศึกษาให้รอบคอบถึงที่มาของแหล่งข่าวนั้นว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ แชร์ไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อใครบ้าง เพราะการแชร์นั้นง่ายเพียงกด แต่การลบข่าวที่แชร์นั้นอาจไม่ได้ยืนยันได้ว่าจะลบภาพความเข้าใจผิดของคนที่อ่านข่าวนั้นไปแล้ว
-
7564 ทำไมคนรู้ดราม่า /article-mathematics/item/7564-2017-09-27-03-27-33เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง