รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดส่งต่อมรดกมลพิษ
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ในทางกลับกันการเอาใจใส่ดูแลสิ่งแวดล้อม การมีจิตสาธารณะไม่ได้มีการพัฒนาตามไปด้วย พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ เช่น ความมักง่าย ความเห็นแก่ตัวและการไม่รู้จักพอ ทำให้มนุษย์แสวงหาเพิ่มขึ้นตลอดชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วในประเทศไทยพื้นที่ป่าไม้ลดลงไปถึง 20 % ภายในระยะเวลาเพียง 50 ปี ดังภาพ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปในลักษณะที่มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศเกิดความแปรปรวน และเกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรงในทั่วทุกภูมิภาคของลก ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ย้อนกลับสู่มนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้การสร้างความตระหนักในสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกระบวนการที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และจำเป็นอย่างยิ่งในการหาแนวทางเพื่อร่วมมือกันป้องกัน แก้ไข และยังยั้งไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามใหญ่โตเกินกว่าที่จะแก้ไขได้
แนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุดต้องเริ่มที่มนุษย์ โดยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิด มองเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ประเทศที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและจัดให้เป็นปัญหาที่เร่งด่วนของชาติ โดยกำหนดให้มีแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งสิ่งแวดล้อมถูกบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 5 "ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายสำคัญ คือการเติบโตร่วมกันบนความสมดุลของสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ
ภาพ 1 ร้อยละพื้นที่ป่าไม้ไทย ปี พ.ศ. 2504 – 2560
ที่มา https://www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6
เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนรุ่นใหม่ต่อไปอย่างแท้จริง ภายใต้เป้าหมายการอนุรักษ์ และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการลดปริมาณแก๊สเรือนกระจก ดังภาพ 2
ภาพ 2 วิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. 2580
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนใสใจดูแลสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมความตระหนักใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ดีคือ การจัดค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ "ค่ายรั รักษ์ สิ่งแวดล้อม" เมื่อวันที่ 5 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมเฮลท์แลนด์ รีสอร์ แอนด์ สปา จังหวัดชลบุรี เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 -5ได้เรียนรู้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเชื่อมโยงกับชีวิตจริงในหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกบทความในการเข้าค่ายในครั้งนี้ รวมถึงการนำความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติหรือวิธีการมาตรฐาน (Protocol)ของโครงการ GLOBE หรือ ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยแนวนวัตกรรมในการแก้ปัญหา การเตรียมการรับมือ การมีส่วนร่วมการช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ละมีผู้ให้ความสนใจส่งบทความเข้ามาเป็นจำนวนมาก
กิจกรรมในค่ายรู้ รักษ์ สิ่งแวดล้อม จัดขึ้นในลักษณะการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Active-Based Learning) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งครูและนักเรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองจนเกิดเป็นความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมฐานแรกคือ กิจกรรมเส้นทางผลิตภัณฑ์ เป็นกิจกรรมฝึกการวิเคราะห์ และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมดลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ตั้งแต่การได้วัตถุดิบที่นำมาใช้จนถึงกระบวนการกำจัด เพื่อให้ผู้ข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตลอดจนการใช้ให้คุ้มค่า เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักได้ว่า การได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น จะมีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งนำเข้าสู่กิจกรรมฐานที่ 2
กิจกรรมฐานที่ 2 เกมคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นกิจกรรมการคำนวณปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาชึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การจัดการซากผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
กิจกรรมฐานที่ 3 ใครทำร้ายภูมิอากาศโลก เน้นให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่พฤติกรรมของมนุษย์ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นกว่าในอดีตอย่างรวดเร็ว โดยการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้บรรยากาศเก็บกักความร้อนไว้ได้มากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก
กิจกรรมฐานที่ 4 สิ่งที่คุณรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจและทราบว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้น มีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ และภัยพิบัติมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เช่นอุทกภัย ภัยแล้ง ดินถล่ม อากาศร้อนจัดอย่างรุนแรงระดับน้ำในแหล่งน้ำ และพื้นที่ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ภัยพิบัติ ปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก
ภาพ 3 ตินถล่ม เป็นตัวอย่างหนึ่งจากภัยพิบัติ
กิจกรรมฐานที่ 5 ต้นไม้รอบตัวเรา เป็นการเรียนรู้การวัดความสูงและเส้นรอบวงต้นไม้ ด้วยอุปกรณ์และวิธีการตรวจวัดที่ถูกต้องตามหลักวิธีการตรวจวัดของโครงการ GLOBE พร้อมทั้งสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โรงแรม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแผนที่ที่มีความถูกต้องในเรื่องทิศทาง และเหมาะสมในเรื่องของอัตราส่วน แล้วสรุปให้ได้ว่า ต้นไม้เป็นแหล่งสำคัญในการดูดชับคาร์บอน
กิจกรรมฐานที่ 6 ล่าตัวอ่อนลูกน้ำยุงลาย เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกอย่างรวดเร็วและมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นผิดปกติ ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรคต่าง ๆ และการเพิ่มจำนวนของยุงในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคระบาดใหม่ ๆ ที่มียุงเป็นพาหะ กิจกรรมฐานที่ 7 การเดินทางของคาร์บอน เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจ ละสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์บอนที่สะสมในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแหล่งที่อยู่ของคาร์บอนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง พร้อมกับเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรคาร์บอนก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมกับหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
ประชากรโลก. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก https:/www.google.com/publicdata/explore?ds=d5bncppjof819 &met y=sp _pop totI&hl-th&dl-th.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ (ฉบับย่อ). สืบคั้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จากfile://IC:/Users/nisae/Downloads/NS SumPlanOct2018.pdf.
MTEC. การประเมินวัฏจักชีวิต. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก http://www2.mtec.or.th/website/backend/app/ilernr/uploads/LCA.pdf.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. รายงานสถานการณ์ป่ไม้ไทย 2560-2561. สืบคั้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาn https:/www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6/.
-
12411 รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดส่งต่อมรดกมลพิษ /article-science/item/12411-2021-08-23-05-59-36เพิ่มในรายการโปรด