แนวการจัดการเรียนรู้
ครูอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยการกระตุ้นความสนใจของนักเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
กับการสืบพันธุ์ของพืชดอก โดยให้ศึกษารูปนำ�บทที่เป็นรูปดอกบัวหลวงและส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวง
เช่น ฝักบัว เมล็ด และดีบัว และใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า ส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวงนี้เกี่ยวข้องกับการ
สืบพันธุ์อย่างไร ซึ่งนักเรียนอาจจะร่วมกันตอบได้ว่า ดอกบัวเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ เมล็ด
อยู่ในผลที่ติดอยู่บนฝักบัวซึ่งเป็นผล ดีบัวเป็นเอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด อย่างไรก็ตามนักเรียนอาจจะ
ตอบได้หรือตอบไม่ได้ ครูจะยังไม่สรุปแต่ให้นักเรียนศึกษาต่อไปในบทเรียน
จากนั้นครูนำ�ดอกไม้หรือภาพดอกไม้ชนิดต่างๆ มาให้นักเรียนศึกษา แล้วใช้คำ�ถามถามนักเรียน
เพื่อรวมกันอภิปรายว่า
ดอกไม้ที่เห็นนี้มีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ดอกที่มีลักษณะแตกต่างกันทำ�หน้าที่เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า ดอกไม้แต่ละชนิดจะมีลักษณะ รูปร่าง และโครงสร้าง
ที่แตกต่างกัน เช่น ขนาด สี กลิ่น และจำ�นวนกลีบดอก แม้ว่าดอกจะมีลักษณะที่แตกต่างกันแต่ทำ�หน้าที่
เดียวกันคือ ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเพื่อดำ�รงพันธุ์ จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ลักษณะดอกไม้
ที่แตกต่างกันนี้เป็นผลมาจากวิวัฒนาการทำ�ให้เกิดความหลากหลายของดอกไม้ และพืชดอกจะเป็น
กลุ่มพืชที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในอาณาจักรพืช
8.1 โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายเกี่ยวกับจำ�นวนรังไข่และการเจริญเป็นผลชนิดต่าง ๆ
แนวการจัดการเรียนรู้
8.1.1 โครงสร้างและประเภทของดอก
ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับโครงสร้างของดอกที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วในระดับชั้นประถม
ศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างดอกไม้ที่นักเรียนรู้จักเพื่ออภิปรายร่วมกันว่า
ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ได้ยกตัวอย่างมานี้มีโครงสร้างและส่วนประกอบที่เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
8