จุดประสงค์
1. ศึกษาและจำ�แนกประเภทของดอก โดยพิจารณาจากส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก
จำ�นวนเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย และจำ�นวนรังไข่ในแต่ละดอก
2. ศึกษาและเปรียบเที่ยบลักษณะของดอกและผลชนิดต่าง ๆ
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
2 ชั่วโมง
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. ดอกชนิดต่าง ๆ
2. ผลชนิดเดียวกับดอกในข้อ 1
3. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอหรือแว่นขยาย
4. เข็มเขี่ย
5. ปากคีบ
6. ใบมีดโกน
อย่างน้อยกลุ่มละ 1 ชนิด
อย่างน้อยกลุ่มละ 1 ชนิด
1 กล้อง
3 อัน
3 อัน
3 ใบ
การเตรียมล่วงหน้า
ครูอาจมอบหมายล่วงหน้าให้นักเรียนนำ�ดอกชนิดต่าง ๆ ทั้ง 8 กลุ่มมาศึกษา โดยเลือกดอก
และผลที่มีในท้องถิ่น เช่น กล้วยไม้ หางนกยูงไทย มะเขือ บัวหลวง จำ�ปี สับปะรด ยอ ทานตะวัน
และพุทธรักษา มากลุ่มละ 1 ชนิดหรือดอกและผลอื่นๆ ที่นักเรียนหาได้ที่จะศึกษา แต่ให้นำ�มา
เฉพาะที่จำ�เป็นต้องศึกษาเท่านั้น มิฉะนั้นจะสร้างนิสัยในการทำ�ลายสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียน
ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกชนิดของดอกทั้ง 8 กลุ่ม โดยไม่ให้ซ้ำ�กันหรือซ้ำ�กันน้อยที่สุด
เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาดอกที่หลากหลายครูอาจใช้เทคนิคการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
เมื่อสังเกตว่านักเรียนได้ทำ�ปฏิบัติการของตนเสร็จแล้ว เหลือเวลาเล็กน้อยให้นักเรียน
แยกย้ายไปศึกษาผลการศึกษาของกลุ่มอื่นๆ โดยเลือกนักเรียนคนหนึ่งอยู่ประจำ�กลุ่มของตน
กิจกรรม 8.1 โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
12