4. ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวถึงสัดส่วนของออกซินและไซโทไคนิน
ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของยาสูบไว้ ดังนี้
ถ้าสัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนิน
สูงจะชักนำ�ให้เกิดราก
ต่ำ�จะชักนำ�ให้เกิดยอด
ปานกลางจะชักนำ�ให้เกิดแคลลัส
ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของพืชและปริมาณฮอร์โมนพืชที่มีอยู่ภายในเนื้อเยื่อพืช เมื่อนำ�ชิ้นส่วน
ของพืชชนิดหนึ่งมาเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งที่เติมออกซินและไซโทไคนินความเข้มข้นต่างๆ กัน
ผลที่ได้เป็นไปตามการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ โดยสัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินของ
เนื้อเยื่อพืชที่สามารถชักนำ�ให้เกิดแคลลัสได้ คือ ออกซิน 1.00mg/mL ไซโทไคนิน 1.00mg/mL
จงพิจารณาลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่คาดว่าจะได้หลังจากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดนี้เป็น
เวลา 3 เดือน โดยนำ�ตัวอักษรหน้าข้อความแสดงลักษณะของชิ้นส่วนพืชเติมลงในตารางให้
สัมพันธ์กับความเข้มข้นของออกซินและไซไทไคนิน
ลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่คาดว่าจะได้
ก. ชิ้นส่วนพืชมีรากเกิดขึ้น ข. ชิ้นส่วนพืชมีแคลลัสเกิดขึ้น
ค. ชิ้นส่วนพืชมียอดเกิดขึ้น ง. ชิ้นส่วนพืชไม่มีการพัฒนา
ตารางแสดงความเข้มข้นของออกซินและไซโทไคนินที่ใช้ในอาหารกึ่งแข็ง
สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติ
คล้ายฮอร์โมนพืช
ความเข้มข้นของออกซิน (mg/mL)
0.00
1.00
ความเข้มข้นของ
ไซโทไคนิน (mg/mL)
0.00
ง
ก
1.00
ค
ข
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
263