Table of Contents Table of Contents
Previous Page  271 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 271 / 302 Next Page
Page Background

12.4 การตอบสนองต่อภาวะเครียด

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายการตอบสนองของพืชในภาวะเครียดที่เกิดจากสิ่งเร้าทางกายภาพ และสิ่งเร้าทาง

ชีวภาพ

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอาจใช้คำ�ถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่า

นักเรียนเคยปลูกพืชแล้วลืมรดน้ำ�หรือ

ไม่ และต้นพืชนั้นมีลักษณะแตกต่างจากต้นพืชที่รดน้ำ�อย่างไร

นอกจากนี้ครูอาจใช้รูป 12.17

การม้วนของใบข้าวที่ตอบสนองต่อการขาดน้ำ� โดยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและร่วมกันอภิปราย โดยมี

แนวคำ�ถามดังนี้

ใบข้าวอยู่ในภาวะสมดุลโดยมีการเจริญเติบโตและการดำ�รงชีวิตเป็นปกติหรือไม่

ใบข้าวมีการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกอย่างไร

จากการสืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน นักเรียนควรสรุปได้ว่า ใบข้าวไม่อยู่ในภาวะสมดุล

เนื่องจากมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ใบข้าวเหี่ยว ส่งผลกระทบต่อการดำ�รงชีวิต แสดงว่าอยู่ในภาวะ

เครียดเพราะได้รับน้ำ�น้อยเกินไป

12.4.1 ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพ

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพอื่นๆ นอกเหนือจาก

น้ำ� และถามนักเรียนต่อไปอีกว่า

นอกจากน้ำ�แล้ว นักเรียนคิดว่ามีสิ่งเร้าทางกายภาพใดอีกบ้าง

ที่ส่งผลให้พืชตอบสนองต่อภาวะเครียด

ซึ่งแนวคำ�ตอบของนักเรียนอาจตอบว่า มีสิ่งเร้าทางกายภาพ

อื่นอีก เช่น อุณหภูมิ ซึ่งในกรณีที่พืชได้รับอุณหภูมิสูงพืชสามารถตอบสนองโดยการคายน้ำ� เพื่อรักษา

อุณหภูมิของใบไม่ให้สูงมากขึ้น และยังช่วยรักษาสภาพการทำ�งานของเซลล์ให้เป็นปกติ กรณีที่พืชได้

รับอุณหภูมิสูงมากเกินไป พืชอาจปิดปากใบเพื่อลดการคายน้ำ� กรณีที่พืชได้รับอุณหภูมิต่ำ�มากเกินไป

พืชจะสร้างโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ให้มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากขึ้น เพื่อทำ�ให้เยื่อหุ้มเซลล์

ยังคงมีสมบัติในการเป็นของไหล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

259