ในกรณีที่นักเรียนได้ทำ�กิจกรรมเสนอแนะการเบนเนื่องจากแสงเสร็จแล้ว ครูควรให้นักเรียนทำ�
กิจกรรม 12.3 การเบนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจว่าพืชก็มีการตอบสนอง
ต่อแรงโน้มถ่วงของโลกด้วย
ลักษณะของโคลีออพไทล์ของต้นข้าวโพดทั้ง 4 ต้น มีการตอบสนองต่อแสงเหมือนกัน หรือ
ต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันคือ ต้นข้าวโพดปกติ และต้นข้าวโพดที่ตัดปลายโคลีออพไทล์ออกและทาวาสลีน
หรือลาโนลินผสมสารสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของออกซินพบว่า โคลีออพไทล์สามารถเบน
เข้าหาแสงได้ ส่วนต้นข้าวโพดที่ตัดปลายโคลีออพไทล์และทาวาสลีนหรือลาโนลินที่รอยตัด
และต้นข้าวโพดที่ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์หุ้มส่วนปลายโคลีออพไทล์พบว่า โคลีออพไทล์ไม่เบน
เข้าหาแสง
จุดประสงค์
ทดลอง และอธิบายการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลกของปลายรากพืช
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
1 ชั่วโมง
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วดำ� เมล็ดข้าวโพด อย่างใด
อย่างหนึ่ง
2. กล่องพลาสติกพร้อมฝาปิดกล่อง
3. จานเพาะเชื้อ
4. ใบมีดโกน
5. ทิชชู
6. เทปใส
20 เมล็ด
1 กล่อง
2 จาน
1 ใบ
1 ม้วนต่อห้อง
1 ม้วนต่อห้อง
กิจกรรม 12.3 การเบนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
255