12.4.2 ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพ
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพ และร่วมกันอภิปรายปัจจัย
ทางชีวภาพที่ทำ�ให้พืชอยู่ในภาวะเครียด ซึ่งแนวคำ�ตอบอาจเป็นดังนี้ ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพ
เช่น การเข้าทำ�ลายจากสัตว์กินพืช จุลินทรีย์ จากนั้นครูถามนักเรียนต่อไปว่า
พืชมีวิธีการป้องกันภาวะ
เครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบของนักเรียนอาจเป็นดังนี้ คือ มีวิธีการป้องกัน
ทางโครงสร้าง เช่น การมีขนบนใบและลำ�ต้น การมีหนาม และการสร้างสารเคมีธรรมชาติ เช่น
สารกลุ่มฟีนอล หรือการมีน้ำ�ยาง
เมื่อพืชอยู่ในภาวะเครียดจะส่งผลให้พืชตอบสนองทางด้านโครงสร้างและด้านสรีรวิทยา
อาจแตกต่างกันไปตามชนิดพืช และสิ่งเร้าที่พืชได้รับ เพื่อให้พืชสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าพืชไม่
สามารถปรับตัวได้หรืออยู่ในภาวะเครียดเป็นเวลานานอาจทำ�ให้พืชตายได้
ด้านความรู้
- ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตอบสนองของพืช การตอบสนองของพืชในภาวะเครียดที่เกิด
จากสิ่งเร้าทางกายภาพ และสิ่งเร้าทางชีวภาพ จากการสืบค้นข้อมูล การอภิปราย
ด้านทักษะ
- การสังเกต การลงความเห็นจากข้อมูล การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล การทดลอง
การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
ความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสืบค้นข้อมูล การนำ�เสนอ
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
- การใช้วิจารณญาณ ความรอบคอบ ความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ ความซื่อสัตย์
วัตถุวิสัย การยอมรับความเห็นต่าง ความใจกว้าง ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกต
พฤติกรรมในการอภิปรายร่วมกัน
แนวการวัดและประเมินผล
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
260