�������5.10 เมื่อเพาะเมล็ดข้าวโพดในที่มืด พบว่า รากข้าวโพดเจริญเติบโตลงสู่ด้านล่างจัด
เป็น
การเบนหนีแรงโน้มถ่วงของโลก
และปลายยอดข้าวโพดเจริญเติบโตขึ้นสู่
ด้านบนจัดเป็น
การเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก
แก้ไขเป็น
การเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก และการเบนหนีแรงโน้มถ่วงของ
โลก
6. ในการทดลองให้สารที่มีสมบัติยับยั้งการสร้างเอทิลีนกับผลมะเขือเทศ 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ให้สารชนิดนี้ 10 ppm
กลุ่มที่ 2 ไม่ให้สาร
ผลการทดลองมะเขือเทศทั้งสองกลุ่มจะมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
แตกต่างกัน โดยผลมะเขือเทศกลุ่มที่ 2 สุกเร็วกว่าผลมะเขือเทศกลุ่มที่ 1
เนื่องจากผลมะเขือเทศ กลุ่มที่ 2 ไม่ได้รับสารยับยั้งการสร้างเอทิลีน จึงสามารถสร้าง
และปล่อยแก๊สเอทิลีนที่เร่งการสุกของผลตามปกติ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
265