ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ในธรรมชาติพบว่าพืชยังมีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้าง
ที่ไม่เท่ากันสองด้าน ทำ�ให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบส่ายหรือนูเทชัน เช่น การหมุนแกว่งของยอดพืชขณะ
ที่มีการเจริญเติบโตที่ปลายยอดพืช
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าการตอบสนองของพืชในรูปแบบของการเคลื่อนไหวต่อ
สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ทรอพิซึม เป็นการตอบสนองที่ทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก
แนสติกมูฟเมนต์ เป็นการตอบสนองที่ทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก ส่วนนูเทชัน
เป็นการตอบสนองที่ไม่ได้มาจากสิ่งเร้าภายนอก แต่เกิดจากการเจริญเติบโตของโครงสร้างที่ไม่เท่ากัน
สองด้าน
หลังจากที่ศึกษาเรื่องการตอบสนองของพืชแล้ว ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่หัวข้อการ
ตอบสนองต่อภาวะเครียดว่า
กรณีที่พืชได้รับสิ่งเร้าภายนอกมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จนส่งผล
ต่อการดำ�รงชีวิตของพืช พืชจะมีการตอบสนองอย่างไร
เพราะเหตุใดพืชต้องมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง แรงโน้มถ่วงของโลก
เนื่องจากพืชต้องการแสงซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นโคลีออพไทล์
จึงโค้งเข้าหาแสง นอกจากนี้พืชยังต้องการน้ำ�และธาตุอาหารที่จำ�เป็นต่อการเจริญเติบโต
ดังนั้นปลายรากพืชจึงเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก ทำ�ให้ได้รับน้ำ�และธาตุอาหารที่อยู่ใน
ดินได้
ตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
258