Table of Contents Table of Contents
Previous Page  266 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 266 / 302 Next Page
Page Background

3. ครูควรให้นักเรียนทำ�การทดลองมาล่วงหน้าและนำ�ผลการทดลองมาอภิปรายร่วมกันในชั้น

เรียน หรืออาจนำ�ต้นข้าวโพดที่เตรียมไว้มาทดลองก่อนการเรียนประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อ

ให้นักเรียนสังเกตผลการทดลองร่วมกันในห้องเรียน

ต้นที่

การทดลอง

ลักษณะโคลีออพไทล์ของต้นข้าวโพด

1 ต้นข้าวโพดปกติ

เบนเข้าหาแสง

2 ตัดปลายโคลีออพไทล์ ออกประมาณ

3 mm ทาวาลีินหรือลาโนลินที่รอยตัด

ไม่เบนเข้าหาแสง

3 ตัดปลายโคลีออพไทล์ ออกประมาณ

3 mm ทาวาสลีนหรือลาโนลินผสม

สารสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของออกซิน

ความเข้มข้น 0.1%

เบนเข้าหาแสง

4 ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์หุ้มส่วนปลาย

โคลีออพไทล์

ไม่เบนเข้าหาแสง

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

ต้นกล้าข้าวโพดที่มีส่วนปลายโคลีออพไทล์และได้รับแสง สามารถโค้งเข้าหาแสงได้ เนื่องจาก

บริเวณส่วนปลายโคลีออพไทล์จะสร้างออกซินและถูกลำ�เลียงไปยังด้านที่ได้รับแสงน้อย ทำ�ให้

เซลล์บริเวณนั้นมีปริมาณออกซินมากซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ขยายตัวตามยาวมากกว่าด้านที่

ได้รับแสง ส่วนต้นกล้าที่ไม่มีส่วนปลายโคลีออพไทล์และได้รับแสง แต่ได้รับสารสังเคราะห์ที่มี

สมบัติของออกซินก็มีการตอบสนองต่อแสงเช่นเดียวกัน สำ�หรับต้นกล้าที่มีปลายโคลีออพไทล์

แต่ไม่ได้รับแสง การกระจายของออกซินจะสม่ำ�เสมอทุกด้าน ทำ�ให้เซลล์ขยายตัวตามยาวเท่า

กันทุกด้าน ปลายโคลีออพไทล์จึงตั้งตรงแสดงว่าออกซินตอบสนองต่อแสงและทำ�ให้เกิดการเบน

เข้าหาแสงของโคลีออพไทล์

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

เพราะเหตุใดจึงต้องเพาะเมล็ดข้าวโพดในที่มืด

เนื่องจากแสงมีผลต่อการตอบสนองของโคลีออพไทล์ ทำ�ให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

254