Table of Contents Table of Contents
Previous Page  69 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 69 / 302 Next Page
Page Background

9.1.2 เนื้อเยื่อถาวร

ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเนื้อเยื่อถาวร และรูป 9.5 ซึ่งแสดงตำ�แหน่งของระบบเนื้อเยื่อใน

พืชใบเลี้ยงคู่ ในหนังสือเรียน แล้วอภิปรายร่วมกัน โดยใช้คำ�ถามดังนี้

เนื้อเยื่อถาวรเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่ออะไร

เนื้อเยื่อถาวรประกอบด้วยเซลล์อะไร เซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร

จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรจะสรุปได้ว่าเนื้อเยื่อถาวรเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ

ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเต็มที่ มีรูปร่างคงที่ ทำ�หน้าที่ต่าง ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของเซลล์

ส่วนใหญ่จะไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีกต่อไป

ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าเนื้อเยื่อถาวรแบ่งตามหน้าที่ได้ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบเนื้อเยื่อผิว ระบบ

เนื้อเยื่อพื้น ระบบเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียง จากนั้นครูใช้รูป 9.5 ซึ่งแสดงเนื้อเยื่อถาวรในหนังสือเรียนและ

ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนี้

1.

ระบบเนื้อเยื่อผิว ประกอบด้วยเอพิเดอร์มิสทำ�หน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อด้านในของพืชในระยะการ

เติบโตปฐมภูมิ และเพริเดิร์มเป็นเนื้อเยื่อที่เจริญขึ้นมาแทนเอพิเดอร์มิสของรากและลำ�ต้นพืช

บางชนิดในระยะการเติบโตทุติยภูมิ พร้อมกับชี้ตำ�แหน่งในรูปพร้อมอธิบายนักเรียนว่าจะพบ

ระบบเนื้อเยื่อนี้อยู่ด้านนอกของอวัยวะต่าง ๆ ของพืช

2.

ระบบเนื้อเยื่อพื้น ประกอบด้วยเนื้อเยื่ออื่นที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อผิวและเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียง พร้อมกับ

ชี้ตำ�แหน่งในรูปพร้อมอธิบายนักเรียนว่าจะพบระบบเนื้อเยื่อพื้นเป็นส่วนใหญ่ในอวัยวะต่าง ๆ

ของพืช

3.

ระบบเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียง ประกอบด้วยไซเล็มและโฟลเอ็ม พร้อมกับชี้ตำ�แหน่งในรูปพร้อม

อธิบายนักเรียนว่า ระบบเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียงจะติดต่อกันเป็นเส้นทางลำ�เลียง น้ำ� ธาตุอาหาร

และอาหารไปทั้งต้นของพืช

เนื้อเยื่อพื้นส่วนใหญ่มักพบพาเรงคิมาแทรกอยู่ตามส่วนต่างๆ ของพืชมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบ

กับเนื้อเยื่อพื้นชนิดอื่นๆ

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

57