Table of Contents Table of Contents
Previous Page  167 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 167 / 254 Next Page
Page Background

- กระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD4 ให้หลั่งไซโทไคน์และแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นและบางส่วนเปลี่ยนไป

เป็นเซลล์ความจำ�

- กระตุ้นให้เซลล์บีเกิดการแบ่งเซลล์และพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาซึ่งจะเกิดการหลั่ง

แอนติบอดีจำ�นวนมาก มาจับกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ดังรูป 16.8 และ

บางส่วนเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ความจำ�

- บางครั้งเซลล์บียังสามารถจับจำ�เพาะกับแอนติเจนได้โดยตรงทำ�ให้เซลล์บีเกิดการแบ่ง

เซลล์และพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาซึ่งจะเกิดการหลั่งแอนติบอดีจำ�นวนมาก มาจับกับ

สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และเซลล์บีบางส่วนเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ความจำ�

เช่นเดียวกัน

เซลล์ทีที่มีบทบาทสำ�คัญในระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์ทีผู้ช่วย (helper T cell) และ

เซลล์ทีที่ทำ�ลายเซลล์แปลกปลอม (cytotoxic T cell) ซึ่งเซลล์ทีทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะที่เหมือน

กันจนยากที่จะแยกออกจากกันด้วยลักษณะภายนอก สิ่งที่มีความแตกต่างกันของเซลล์ทีทั้งสอง

ชนิด คือ โปรตีนต่าง ๆ ที่อยู่บนผิวของเซลล์ที

Cluster of differentiation protein หรือ CD เป็นโปรตีนที่พบได้บนผิวของเซลล์ที ซึ่งจะ

ทำ�งานร่วมกับ T cell receptor หรือ TCR และยังใช้ในการระบุชนิดของเซลล์ทีด้วย เซลล์ที

ผู้ช่วยส่วนใหญ่จะพบ CD ชนิด CD4 อยู่บนผิวเซลล์ จึงอาจมีการเรียกเซลล์ทีผู้ช่วยได้ว่า CD4

(ในหนังสือเรียนจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เซลล์ทีชนิด CD4) ส่วนเซลล์ทีที่ทำ�ลายเซลล์

แปลกปลอมส่วนใหญ่จะพบ CD ชนิด CD8 อยู่บนผิวเซลล์ จึงอาจเรียกเซลล์ทีที่ทำ�ลายเซลล์

แปลกปลอมได้ว่า CD8 (ในหนังสือเรียนจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เซลล์ทีชนิด CD8)

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน

ชีววิทยา เล่ม 4

155